โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการสถานศึกษาพอเพียง

โรงเรียน : แก้งสนามนางพิทยาคม สพม.นครราชสีมา

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 5

เผยแพร่เมื่อ : 19 ก.ย. 2561 โดย : ณัฏฐ์วรินท์ คำสีหา จำนวนผู้เข้าชม 2736 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการสถานศึกษาพอเพียง
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2560
มาตรฐาน

     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์  ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน  ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน  และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของนักเรียนให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม  ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร  มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง  ทั้งด้านวัตถุ   สังคม  สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
  เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ
            เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ   และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด  หากกล่าวโดยสรุป คือ หันกลับมายึดเส้นทางสายกลาง ในการดำรงชีวิต
            กล่าวโดยสรุป ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นหลักคิด และหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตเพื่อนำไปสู่ความพอเพียง  เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของคนไทย  สังคมไทย เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์  เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง  ทั้งด้านวัตถุ  ด้านสังคม  ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม   ถ้าใช้หลักความพอเพียงเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ก็จะสามารถอยู่ได้อย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ปรับตัวและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงได้
            โรงเรียนเป็นสถานที่ในการผลิตพลเมืองที่มีคุณภาพของชาติ เป็นแหล่งการเรียนรู้  พัฒนาทางด้านสติปัญญา ทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ และทางด้านสังคม ในสังคมปัจจุบันมีความเจริญและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีมากมาย การพัฒนาด้านจิตใจ  คุณธรรมและจริยธรรมยังมีน้อย ดังนั้น โรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมเศรษฐกิจพอพียง เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกับนักเรียน  นักเรียนสามารถเรียนรู้ในโรงเรียนได้อย่างมีความสุข เมื่อนักเรียนมีคุณธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จะทำให้ผลการเรียนดีขึ้น และบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติที่ว่านักเรียนเป็นผู้ที่  ดี เก่ง มีสุข และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
 
วัตถุประสงค์ 1.  เพื่อพัฒนานักเรียนด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
2.  เพื่อให้นักเรียนมีความตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
3.  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
เป้าหมาย 1. เชิงปริมาณ
       1.1 นักเรียนร้อยละ 90 มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
       1.2  นักเรียนร้อยละ 90 มีความตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
       1.3  สถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงร้อยละ 90
 2. ด้านคุณภาพ
       2.1 นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
       2.2 นักเรียนมีความตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
       2.3 สถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 
ระยะเวลา 14 ก.พ. 2560 - 23 มี.ค. 2560
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนแก้งสนามนางพิทยาคม
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
1.  เพื่อพัฒนานักเรียนด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง - วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน - แบบทดสอบ
-  แบบสังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
2.  เพื่อให้นักเรียนมีความตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนของนักเรียน แบบบันทึกการสังเกตการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนของนักเรียน
3. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตรวจสอบบันทึกการใช้แหล่งเรียนรู้ แบบตรวจสอบ
บันทึกการใช้แหล่งเรียนรู้
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม มี    สมาธิปัญญาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
2. การเรียนการสอนบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3. นักเรียนเรียนได้อย่างมีความสุข
 4. ชุมชนให้การยอมรับโรงเรียนมากขึ้น
 5. นักเรียนได้ปฏิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในโรงเรียน  ในครอบครัว และในชุมชน
 
สรุปคะแนนประเมิน 5
ไฟล์ประกอบ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง.doc
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
    1. ฝ่ายบริหารประชุมกำหนดนโยบายของโรงเรียนในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา
    2. กลุ่มงานบริหารวิชาการประชุมนิเทศหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และหัวหน้าสายชั้น แล้ว กำหนดสัปดาห์บูรณาการของแต่ละสายชั้น
    3. หัวหน้าสายชั้นประชุมครูผู้สอนทุกรายวิชาในแต่ละสายชั้น เพื่อกำหนดกลุ่มสาระแกนนำ และกำหนดหน่วยการเรียนรู้ร่วมกัน
    4. ครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้แต่ละระดับชั้นเลือกประธานและเลขานุการ ในการบริหาร จัดการร่วมกัน วางแผนสร้างหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้
    5. ครูผู้สอนแต่ละสายชั้นประชุมกำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนภูมิหน่วยการเรียนรู้ที่ สัมพันธ์กับวิชาอื่นๆ
    6. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ระยะเวลา สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ในการจัดหน่วยการเรียนรู้ 1 สัปดาห์
    7. เสนอแผนการจัดการเรียนรู้ต่อผู้บริหาร ขออนุญาตใช้แผนการจัดการเรียนรู้
    8. จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอน
    9. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการตามตารางที่กำหนดไว้
    10. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
    11. สรุปผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
    12. รายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการของแต่ละสายชั้น
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
(ปริมาณ,คุณภาพ,เวลา,ค่าใช้จ่าย)
เกณฑ์ เครื่องมือ
ผลผลิต  (Output)
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ร้อยละ 100
 

แบบประเมิน
 
ผลผลิต  (Output)
นักเรียนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตและพัฒนาสังคมได้

ร้อยละ 90

 

แบบประเมิน

 
ขั้นสรุปและรายงาน
ที่ วัตถุประสงค์ของ  โครงการ / กิจกรรม สภาพความสำเร็จ ผลการดำเนินงาน
บรรลุ ไม่บรรลุ
1 เพื่อพัฒนานักเรียนด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
 
ü   1.  นักเรียนร้อยละ 90
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. นักเรียนร้อยละ 100
เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
2 เพื่อให้นักเรียนมีความตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ü   2.นักเรียนร้อยละ 90  นักเรียนมีความตระหนัก
รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
3 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
ü   3.  นักเรียนร้อยละ 90
ได้ใช้แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
งบประมาณ งบประมาณรายหัว   5,000  บาท
 
การบรรลุตัวชี้วัด
ที่ เป้าหมาย / ตัวชี้วัดของ  โครงการ / กิจกรรม สภาพความสำเร็จ ผลการดำเนินงาน
บรรลุ ไม่บรรลุ
1 นักเรียนร้อยละ 90 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน
นักเรียนร้อยละ 100 เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
ü   1.  นักเรียนร้อยละ 90
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. นักเรียนร้อยละ 100
เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
2 นักเรียนร้อยละ 90  นักเรียนมีความตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ü   2.นักเรียนร้อยละ 90  นักเรียนมีความตระหนัก
รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
3 นักเรียนร้อยละ 90 ได้ใช้แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ü   3.  นักเรียนร้อยละ 90
ได้ใช้แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ความพึงพอใจ การประเมินผลการปฏิบัติงาน / ความพึงพอใจโครงการสถานศึกษาพอเพียงภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 99.57 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านวัตถุประสงค์ของกิจกรรม ด้านเป้าหมายของกิจกรรม ด้านงบประมาณ ด้านการสนองมาตรฐาน/ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการสนองกลยุทธ์/พันธกิจ/ตัวชี้วัด/เป้าหมาย อยู่ในระดับคุณภาพสูงที่สุด  โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 100 และ ด้านกิจกรรม/วิธีดำเนินการตามโครงการอยู่ในระดับคุณภาพรองลงมา  โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 99.37ส่วนด้านระยะเวลาดำเนินการ สถานที่  อยู่ในระดับคุณภาพต่ำที่สุด  โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 95
 
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงให้มีความหลากหลาย และให้มีความต่อเนื่องสำหรับให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
 
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0