โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

ผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยม

โรงเรียน : หนองโสนพิทยาคม สพม.พิจิตร

ระดับ : ระดับชาติ

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 27 ก.พ. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 396 คน


การบริหารจัดการเรียนรวมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework )  โดยใช้ SANO Model 
มีขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนา  ดังนี้

การวางแผนและเตรียมความพร้อม
1. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนความรู้ ความเข้าใจ หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เบื้องต้น
วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาส อุปสรรค และแนวทางการดำเนินงาน  ให้แก่คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโดย นายณัฐพล  สอนเสริม  ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพิจิตร  อนุเคราะห์เป็นวิทยากร
                   2. สร้างนวัตกรรม คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมกันศึกษาหลักการทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กำหนดเป้าหมาย และกรอบแนวคิดของการพัฒนา  ดังนี้
นิยามศัพท์เฉพาะ
SANO Model  หมายถึง รูปแบบกระบวนการการบริหารจัดการเรียนรวมเป็นทีมแบบมีแบบแผนที่มีประสิทธิภาพตามความต้องการของผู้เรียน  ซึ่งได้ปรับกระบวนการทำงานเป็นทีมมาใช้ดำเนินงานการบริหารจัดการเรียนรวมให้บรรลุผลตามมาตรฐานการจัดการเรียนร่วมเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ปี พ.ศ. 2560  มาตรฐานที่ 3  “ ผู้บริหารบริหารจัดการเรียนรวมอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ”  ตัวบ่งชี้ที่ 2  ผู้บริหารมีการบริหารจัดการเรียนรวมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework)  โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ  คือ
                                           S : Schedule      คือ  การวางแผนการทำงานเป็นทีมแบบมีแบบแผน
                                           A : Associate      คือ  การสร้างความร่วมมือในทีมงาน
        N : Neediness     คือ  การบริหารจัดการเรียนรวมที่มีประสิทธิภาพตามความต้องการของผู้เรียน
                             O : Observance  คือ  การทำงานตามบทบาทหน้าที่และการติดตามผล
2) การจัดการเรียนรวมของโรงเรียนตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ที่มีประสิทธิภาพ
หมายถึง ผลการจัดการเรียนรวมของโรงเรียนบรรลุผลตามมาตรฐานการจัดการเรียนร่วมเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ปี พ.ศ. 2560 มาตรฐานที่ 3  ผู้บริหารบริหารจัดการเรียนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล  ตัวบ่งชี้ที่ 2  ผู้บริหารมีการบริหารจัดการเรียนรวมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) บรรลุผลทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะด้านผู้เรียน จะต้องมีผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ที่มีผลการเรียนโดยภาพรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงกว่า หรือเท่ากับ ภาคเรียนก่อนหน้า
แนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรมการบริหารจัดการเรียนรวมโดยใช้รูปแบบ SANO Model มีขั้นตอน ดังนี้
S : Schedule  การวางแผนการทำงานเป็นทีมแบบมีแบบแผน
S : Schedule คือ การวางแผนการทำงานเป็นทีมแบบมีแบบแผน หมายถึง การที่บุคคลที่มีจำนวนมากกว่า 1 คน มาทำงานร่วมกันโดยมีเป้าหมายเดียวกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ วัตถุประสงค์ที่มีความชัดเจน มีการจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินการและมีผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน
A : Associate  การสร้างความร่วมมือในทีมงาน 
          A : Associate  คือ การสร้างความร่วมมือในทีมงาน เป็นการบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ปฏิบัติงานร่วมกันในแต่ละทีมเพื่อการทำงานเป็นทีมที่ดี มีความผูกพันกันจนก่อให้เกิดความรักความสามัคคี กันในทีม  แนวทางในการสร้างความร่วมมือมีการดำเนินการ ดังนี้
                  1.  สร้างบรรยากาศที่ดีในที่ทำงาน  มีการสื่อสารกันอย่างชัดเจนไม่ปิดบังกัน   มอบหมายงาน ต้องมีความชัดเจนแน่นอนไม่เปลี่ยนไปมา ยอมรับในความแตกต่างของสมาชิกในทีม เนื่องจากคนเราเกิดมาก็มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เพศ วัย ศาสนา การศึกษา สิ่งแวดล้อม ความสามารถ ประสบการณ์ ฯลฯ
                 2.  จัดประชุมทีมงาน ต้องมีการประชุมกันสม่ำเสมอ เพื่อให้สมาชิกได้ปรึกษาหารือในการทำงานร่วมกัน แก้ไขปัญหาร่วมกัน ระดมความคิดร่วมกันในการทำงาน
                 3.  ผู้นำมีหน้าที่ ในการบอกวัตถุประสงค์ที่จะต้องทำงานร่วมกันให้ชัดเจน ผู้นำจะต้องมีหน้าที่ในการชี้นำ สอนงาน สั่งงาน อำนวยการ พร้อมทั้งติดตามควบคุมการทำงานของทีมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
                 4.  ทักษะสำคัญของผู้นำทีมที่ดี คือ ต้องมีความสามารถทางด้านการสื่อสาร การบริหารหรือ
การจัดการ (วางแผน จัดองค์กร จัดคนเข้าทำงาน สั่งการหรืออำนวยการ และการควบคุม)  มีความสามารถ
ในการเจรจาต่อรองและแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างดีเยี่ยม
 

                  5.  ส่งเสริมและพัฒนาสมาชิกของทีมให้เกิดคุณลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
                      1) เปิดรับแนวคิดใหม่ๆและวิธีการทำงานที่แตกต่างจากตนด้วยเจตคติเชิงบวก
                      2) แบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำงานให้แก่เพื่อนร่วมทีมคนอื่นๆ
                      3) การทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานใหม่ และการปรับตัวเข้ากับคนอื่นๆ
                      4) การเจรจาต่อรองระหว่างกัน ต้องเป็นไปในลักษณะที่อยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจกัน

                      5) สมาชิกทีมต้องมองเห็นถึงความสำคัญในเป้าหมายของทีม
                      6) มุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติจริงตามวางแผนการทำงานของทีม

N : Neediness  การบริหารจัดการเรียนรวมที่มีประสิทธิภาพตามความต้องการของผู้เรียน
          N : Neediness คือ การบริหารจัดการเรียนรวมที่มีประสิทธิภาพตามความต้องการของผู้เรียน
ในรูปแบบทีมงานที่บริหารจัดการตนเอง  มีอำนาจในการปฏิบัติงานตามโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้

                    1. จัดประชุมทีมงานตามโครงสร้าง   กล่าวถึงแผนการดำเนินงานของทีมงาน ให้สอดคล้องกับนโยบาย ระบบการบริหารจัดการและเป้าหมายการจัดการเรียนรวมของโรงเรียน         
                    2. กำหนดข้อตกลง กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานร่วมกัน เช่นประชุมตรงเวลาการทำงาน
                    3. วางแผนและกำหนดปฏิทินการทำงานอย่างมีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงและชัดเจน
          5. กำหนดตัวชี้วัดและวิธีการวัดความสำเร็จในการทำงานของทีมและให้ทุกคนได้รับทราบ
          6. ทีมควรนำงบประมาณมาใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงานของทีม คำนึงถึงความพอเพียงของงบประมาณ หากไม่ได้อาจต้องลดเป้าหมายของทีมให้ต่ำลง
7. จัดประชุมทีมงานอย่างสม่ำเสมอเพื่อมีให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานในแต่ละช่วง  

O : Observance  การทำงานตามบทบาทหน้าที่และการติดตามผล
O : Observance  คือ การทำงานตามบทบาทหน้าที่และการติดตามผล เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าได้มีการดำเนินการตามโครงสร้างซีท  ทั้งในด้านปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Output)  โดยมีแนวทางการจัดระบบการติดตามผลการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนี้
    1) สมาชิกทีมร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงาน
              2) สมาชิกทีมร่วมกันกำหนดผู้รับผิดชอบในการกำกับติดตาม ตามตัวชี้วัดความสำเร็จ
              3) สมาชิกทีมร่วมกันกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับผิดชอบในการกำกับติดตาม  
             4) สมาชิกทีมร่วมกันกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานให้ชัดเจน
             5) สมาชิกทีมผู้รับผิดชอบการรายงานผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จ รายงานผลการดำเนินงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ด้านการบริหารจัดการ
1. การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา
     1.1  โรงเรียนหนองโสนพิทยาคมจัดข้อมูลสารสนเทศที่ครอบคลุมในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างครอบคลุม ถูกต้องเป็นปัจจุบัน  เช่น แผนพัฒนาการจัดการศึกษา รายงานประจำปีของสถานศึกษา รายงานผลระบบจัดเก็บข้อมูลรายบุคคล  ข้อมูลนักเรียนเรียนรวม ระบบสารสนเทศสำหรับงานวิชาการ         งานกิจการนักเรียน งานบุคลากร ธุรการ การเงิน พัสดุ และครุภัณฑ์ งานอาคารสถานที่ งานชุมชน Website ของโรงเรียน
     1.2  โรงเรียนหนองโสนพิทยาคมมีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ถูกต้องทันสมัย มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดระบบแต่ละงานชัดเจน
          1) ระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในงาน จะมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตร แผนการเรียนการสอน คู่มือ สื่อการเรียนรู้ ตารางสอน และผลการเรียนของผู้เรียนทุกวิชา สามารถนำมาใช้ประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความรู้ต่าง ๆ เพื่อเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูสามารถเรียกใช้ข้อมูลทางวิชาการได้ตลอดเวลา
          2) ระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในงานกิจการนักเรียน ระบบสารสนเทศสำหรับงานกิจการนักเรียน
มีทะเบียนผู้เรียน ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับประวัติผู้เรียนทุกคน ความสนใจ ความถนัด ความประพฤติลักษณะนิสัย ฐานะทางเศรษฐกิจ สภาพครอบครัว การทำความดี การทำความผิด ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาครอบครัว การทำงานหารายได้พิเศษ สถิติการมาเรียน สถานที่อยู่อาศัย ชื่อและที่อยู่ของผู้ปกครอง และชื่อเพื่อนสนิท ตลอดจนปัญหาและความต้องการของผู้เรียน ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารงานกิจการนักเรียน แก้ปัญหา และพัฒนาผู้เรียน ครูอาจารย์สามารถศึกษาเกี่ยวกับผู้เรียน เพื่อนำมาใช้ในการให้คำปรึกษา               3) ระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในงานบุคลากร จะมีทะเบียนประวัติครูและบุคลากรในสถานศึกษาทุกคน
มีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการฝึกอบรม ประวัติการทำงาน ประวัติเงินเดือนและสวัสดิการ ตลอดจนอัตรากำลังคนในปัจจุบันและแผนกำลังคนในอนาคต สามารถนำสารสนเทศนี้มาใช้ประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลให้เกิดประสิทธิภาพสูง

4) ระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในงานธุรการ การเงิน พัสดุ และครุภัณฑ์ จะมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับการปฏิบัติงาน รายงานการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา รายรับรายจ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ การเบิกจ่ายเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง การเบิกจ่ายพัสดุ ทะเบียนครุภัณฑ์ สามารถนำสารสนเทศนี้ มาใช้ประโยชน์ในการบริหารงานธุรการและการเงินให้มีประสิทธิภาพสูง ทั้งการวางแผนงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการอำนวยความสะดวกรวดเร็ว
          5) ระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในงานอาคารสถานที่ ระบบสารสนเทศสำหรับงานอาคารสถานที่จะมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับแผนผังอาคารและบริเวณ รายการห้องต่าง ๆ เช่น ห้องทำงาน ห้องประชุม ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด ห้องสื่อการเรียน ห้องอาหาร ห้องกีฬาในร่ม ฯลฯ ตารางและสถิติการใช้ห้อง ประวัติการซ่อมบำรุง แผนการสร้างอาคารและตกแต่งบริเวณ ซึ่งสามารถนำสารสนเทศนี้ มาใช้ประโยชน์ในการบริหารงานอาคารสถานที่ ทั้งด้านการวางแผนในอนาคต ตลอดจนการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและประหยัด
          6) ระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในงานชุมชน จะมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับแผนที่แสดงที่ตั้งสถานศึกษา และสถานที่อื่นๆ ที่ใกล้เคียง แผนผังชุมชนรอบสถานศึกษา แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น บุคคลสำคัญในชุมชน สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และประเพณี รวมทั้งสร้าง Website ของสถานศึกษา

    1.3 โรงเรียนหนองโสนพิทยาคมมีการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ในการบริการจัดการอย่างคุมค่า เช่น การรายงานผลระบบจัดเก็บข้อมูลรายบุคคล (DMC) การรายงานผลการเรียนแบบออนไลน์ในการโปรแกรม SGS       (Secondary Grading System) เพื่อความสะดวกรวดเร็วต่อผู้รับริการต่างๆ
    1.4 โรงเรียนหนองโสนพิทยาคมมีการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับกิจกรรมของสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอรวดเร็ว  ผ่านทางออนไลน์ เช่นเว็บไซต์โรงเรียน  Facebook โรงเรียน การแนะแนวการศึกษาต่อ

 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0