โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

" หนังสั้นสอนใจ เสริมใส่คุณธรรม 8 ประการ "

โรงเรียน : พะทายพิทยาคม สพม.นครพนม

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : สังคมศึกษา

เผยแพร่เมื่อ : 3 ส.ค. 2559 โดย : พิชญภัค สมปัญญา จำนวนผู้เข้าชม 2593 คน


แบบรายงานผลการพัฒนานวัตกรรม
. ชื่อนวัตกรรม           " หนังสั้นสอนใจ เสริมใส่คุณธรรม 8 ประการ "
. นวัตกรรมด้าน การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาระการเรียนรู้
ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม
. ชื่อผู้สร้าง/พัฒนานวัตกรรม    นางสาวรำไพ  วงษ์ศรีทา
โรงเรียนพะทายพิทยาคม  ที่อยู่ ม.๖  ตำบลพะทาย  อำเภอท่าอุเทน  จังหวัดนครพนม  ๔๘๑๒๐
โทรศัพท์ ๐๔๒-๕๓๐๗๓๔   โทรสาร ๐๔๒-๕๓๐๗๔๓             E-mail  :  lek_rumpai@hotmail.com
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
๔. ที่มาของปัญหา ความต้องการ (สภาพปัญหาของโรงเรียนและคิดหาวิธีการแก้ปัญหา)
          จากการปฏิรูปการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 การจัดการศึกษาของไทยในยุคการปฏิรูปการศึกษาได้ให้ความสำคัญทางการศึกษาด้านคุณธรรมจริยธรรมมากยิ่งขึ้น กระทรวงศึกษาธิการมีภารกิจหลักในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาการจัดการศึกษา และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน นักศึกษา อันจะทำให้เด็กสามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ตลอดจนสามารถช่วยเหลือสังคมได้และสามารถใช้ความรู้ที่ได้ศึกษานำไปพัฒนาเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          การกาวเขาสูยุคของโลกาภิวัฒนหรือสังคมยุคขอมูลขาวสารและสภาวการณที่เปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลาและเปลี่ยนแปลงคอนขางรวดเร็ว สงผลใหวิถีชีวิตของคนเราเปลี่ยนแปลง มีปญหาเกิดขึ้นมากมาย เด็ก และเยาวชนไทยในยุคโลกาภิวัตน มีความสับสน วุ่นวาย จิตใจไมมั่นคง ไมมีอะไรเปนเครื่องยึดมั่น อันเนื่องมาจากความห่างเหินจากศาสนา ทำให้ดำเนินชีวิตไปในทิศทางทางที่ไมถูกต้อง คิดผิด
ทำผิด มุ่งสู่อบายมุขมากขึ้น และสอดคลองกับสภาพปญหาของชุมชน โรงเรียนพะทายพิทยาคม
นักเรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนกลุ่มด้อยโอกาส/กลุ่มเสียงที่ประสบปัญหาครอบครัวแตกแยก ปญหาเศรษฐกิจ รายไดไมแน่นอน ผู้ปกครองนักเรียนทำงานต่างจังหวัด ทิ้งให้บุตรหลานอยู่ตามลำพัง
ตลอดจนถึง ปัญหาสิ่งเสพติดของเยาวชนในชุมชน ดังนั้นโรงเรียนพะทายพิทยาคม จึงได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของนโยบายการจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมดังกล่าว จึงได้จัดทำนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) หนังสั้นสอนใจ เสริมใส่คุณธรรม 8 ประการ  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 25๕๙ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และเป็นแนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่มีอยู่ในบทเรียนให้สื่อออกมาในรูปแบบที่เป็นรูปธรรมด้วยการถ่ายทำเป็นหนังสั้น โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชุนเป็นสถานที่ในการถ่ายทำ เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและดำเนินชีวิตร่วมกับชุมชนได้อย่างสงบสุข นวัตกรรมนี้จะช่วยส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สำหรับนักเรียนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้นักเรียนได้เป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมจริยธรรมสืบไป
. แนวคิด หรือทฤษฎี
          ภาพยนตร์สั้น หรือ หนังสั้น (Short film) เป็นประเภทของภาพยนตร์อย่างหนึ่งที่เหมือนกับภาพยนตร์ทั่วไปที่เล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงเช่นเดียวกับภาพยนตร์ความยาวปกติ เพียงแต่ว่าเป็นการเล่าเรื่องประเด็นสั้น ๆ หรือประเด็นเดียวให้ได้ใจความมาตรฐานของภาพยนตร์สั้น
. วัตถุประสงค์
          1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะทายพิทยาคม เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมให้มากยิ่งขึ้น
          2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะทายพิทยาคม ได้ศึกษาและสำรวจการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ในการถ่ายทำหนังสั้นได้อย่างเหมาะสม
          3. เพื่อฝึกกระบวนการให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะทายพิทยาคม ทำงานเป็นกลุ่มและเรียนรู้ในรายวิชาสังคมศึกษาอย่างมีความสุข
7. เป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์
          1. โรงเรียนพะทายพิทยาคมมีหนังสั้นที่มีคุณภาพในระดับเผยแพร่ได้ เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ทั้ง 8 ประการ  ในชุมชนและสถานศึกษา จำนวน  10  เรื่อง
          2. นักเรียนโรงเรียนพะทายพิทยาคมมีความตระหนักในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมมากยิ่งขึ้น
          3. คณะครู นักเรียน ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจในนวัตกรรมหนังสั้นที่นักเรียนจัดทำขึ้นในระดับมาก
8. วิธีการดำเนินการ/ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม
          8.1 ขั้น Plan (การวางแผน)
          1. ปฐมนิเทศให้ความรู้เกี่ยวกับการทำหนังสั้นและให้คำจำกัดความของหนังสั้นกับคุณธรรมจริยธรรม  ทั้ง 8 ประการ พร้อมทั้งแบ่งกลุ่มในการทำงานตามความถนัดและความสมัครใจ
          2. นักเรียนเลือกหัวข้อคุณธรรมที่กลุ่มสนใจและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักคุณธรรม
8  ประการนั้น แล้วนำมาเขียนเป็นบทหนังสั้น ส่งให้ครูตรวจสอบความถูกต้องแล้วความสอดคล้องของบทแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขบทตามคำแนะนำของครู
          3. สำรวจและศึกษาแหล่งเรียนรู้และสถานที่ถ่ายทำที่มีอยู่ในท้องถิ่นหรือชุมชนของตนเอง
พร้อมทั้งวางแผนการถ่ายทำหนังสั้น ตามหัวข้อต่อไปนี้ (1) เลือกหัวข้อที่น่าสนใจ (2) เตรียมหาแหล่งเรียนรู้ (3) เข้าสู่การวางแผน (4) ทำอย่างสนุกสนาน (5) เขียนรายงานอย่างมั่นใจ (6) นำเสนอผลงาน
          8.2 ขั้น Do (การปฏิบัติตามแผน)
          1. สำรวจสถานที่ที่ใช้ในการถ่ายทำ โดยใช้สถานที่ที่มีอยู่ในชุมชนเป็นสถานที่หลักในการถ่ายทำ
          2. เตรียมฉาก วัสดุ/อุปกรณ์ประกอบฉาก เป็นสิ่งที่หาได้ง่ายและมีอยู่ในท้องถิ่น
          3. ถ่ายทำหนังสั้นตามที่ได้วางแผนไว้
          8.3 ขั้น Check (การตรวจสอบการปฏิบัติงาน)
          1. นำเสนอผลงานหนังสั้นให้เพื่อน คณะครู ที่โรงเรียนได้รับชมและนำหนังสั้นกลับไปให้ผู้ปกครองชมที่บ้าน พร้อมทั้งทำแบบประเมินความพึงพอใจ
          2. นักเรียนเขียนรายงานการถ่ายทำหนังสั้นเป็นรายบุคคล
          3. นักเรียน ครู และผู้ปกครองประเมินงานหนังสั้น
          8.4 ขั้น Act (การแก้ไขปรับปรุง)
          1. นำชิ้นงานที่ผ่านการแนะนำจากผู้ประเมินผลงานมาปรับปรุงให้สมบูรณ์
          2. ส่งชิ้นงานฉบับสมบูรณ์ตามกำหนดเวลา




. งบประมาณดำเนินงาน   :   จำนวน   ๒,๐๐๐  บาท  สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
10. ระยะเวลาดำเนินงาน   :      1 เม.ย. 2559 – 31 มี.ค. 2560
๑๑. ลักษณะเด่น/องค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนานวัตกรรม
          11.1 นักเรียนทุกคนมีศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมทั้ง 8 ประการได้
ถ้ามีการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เอื้อให้นักเรียนได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ย่อมทำให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ ดังนั้น โรงเรียนควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกซึ่งความสามารถด้านอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่
         
11.2 ความสำเร็จในการใช้นวัตกรรม หนังสั้นสอนใจ เสริมใส่คุณธรรม 8 ประการ เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย  คือ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
          11.3 การที่นักเรียนใช้นวัตกรรมหนังสั้นสอนใจ เสริมใส่คุณธรรม  8 ประการ นอกเหนือจากกิจกรรมการเรียนรู้ ในห้องเรียนแล้วยังเป็นการสร้างทักษะในการดำเนินชีวิตของนักเรียนในด้านการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความเป็นประชาธิปไตย การมีปฏิสัมพันธ์และการร่วมทำกิจกรรมระหว่างเพื่อน ครู และชุมชน ทำให้เกิดการยอมรับในความสามารถ มีการเอื้อเฟื้อต่อกัน มีความรับผิดชอบ ความสามัคคี ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
          11.4 การที่นักเรียนใช้นวัตกรรมหนังสั้นสอนใจ เสริมใส่คุณธรรม 8 ประการ ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินงานส่งผลให้นักเรียนเข้าใจถึงหลักความพอดี พอประมาณ
มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
         
11.5 การที่นักเรียนใช้นวัตกรรมหนังสั้นสอนใจ เสริมใส่คุณธรรม 8 ประการ ได้ใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นสถานที่ถ่ายทำหนังสั้น ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน
12. ผลที่เกิดขึ้น/ที่ปรากฏจากการใช้นวัตกรรม
          12.1 เมื่อประเมินจากแบบประเมินความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
พะทายพิทยาคม เป็นผู้มีความตระหนักใน เรื่อง คุณธรรม จริยธรรม  อยู่ในระดับมากที่สุด
          12.2 เมื่อประเมินจากแบบประเมินความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
พะทายพิทยาคม ได้ศึกษาและสำรวจการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนในการถ่ายทำหนังสั้น อยู่ในระดับมากที่สุด
          12.3 เมื่อประเมินจากแบบประเมินความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
พะทายพิทยาคม มีกระกวนการทำงานเป็นกลุ่มและเรียนรู้ในรายวิชาสังคมศึกษาอย่างมีความสุข
อยู่ในระดับมากที่สุด
          12.4 เมื่อประเมินจากแบบประเมินความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะทายพิทยาคม โรงเรียนพะทายพิทยาคมมีหนังสั้นที่มีคุณภาพในระดับเผยแพร่ได้ ระดับคุณภาพที่ปรากฏอยู่ในระดับมากที่สุด
          12.5 เมื่อประเมินจากแบบประเมินความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะทายพิทยาคม มีความพึงพอใจในนวัตกรรมหนังสั้นที่นักเรียนจัดทำขึ้นในระดับมากที่สุด




13. ประโยชน์/คุณค่าของนวัตกรรม และการพัฒนาต่อยอด
          13.1 โรงเรียนพะทายพิทยาคมมีผลงาน Best Practice ที่มีคุณภาพสามารถเผยแพร่เป็นความรู้ให้กับผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนได้
          13.2 โรงเรียนกับชุมชนท้องถิ่นมีการปฏิสัมพันธ์กันในเชิงบวก มีการบูรณาการใช้ท้องถิ่นเข้ามา
มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เสริมความสัมพันธ์ระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน
          13.3 ครูมีสื่อนวัตกรรมที่ทันสมัยและแปลกใหม่ในการเรียนจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของนักเรียนในยุคปัจจุบัน
          5134 นักเรียนได้เรียนรู้จากการศึกษานอกห้องเรียนตามความศักยภาพและความสนใจ ทำให้เกิดความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความเป็นประชาธิปไตย การมีปฏิสัมพันธ์และการร่วมทำกิจกรรมระหว่างเพื่อน ครู และชุมชน ทำให้เกิดการยอมรับในความสามารถ มีการเอื้อเฟื้อต่อกัน มีความรับผิดชอบ ความสามัคคี ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

14. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ
         
14.1 การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถตามศักยภาพ แสดงความเป็นผู้นำ ผู้ตามในทุกโอกาสตามความถนัด
ความสนใจของนักเรียน โดยให้นักเรียนเป็นผู้วางแผนการดำเนินงาน เป็นผู้ดำเนินการตามแผน โดยเน้นการทำงานเป็นทีม ยึดหลักประชาธิปไตยในการทำงาน ฝึกให้นักเรียนรู้จักทำงานอย่างเป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพตามเป้าหมาย ทำให้นักเรียนมีการพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถและมีประสบการณ์ในการทำงาน ส่งผลให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเชื่อมั่น มีความภาคภูมิใจในตนเอง มีความเสียสละเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมสามารถทำงานเป็นทีม
          14.2 การสนับสนุนจากครูและผู้บริหาร ครูให้คำปรึกษา ดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้าใจ ผู้บริหารสนับสนุนในทุกกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูและนักเรียนได้ร่วมกันวางแผนไว้
          14.3 การสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ผู้ปกครองมีส่วนร่วมและส่งเสริมนักเรียนในการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นอย่างดี เป็นผู้สนับสนุนทั้งด้านค่าใช้จ่าย วัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมและเป็นวิทยากรให้ความรู้
          14.4 การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้ นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในรายวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ไปประยุกต์ใช้ในการการเรียนรู้ในรายวิชาอื่นๆ ได้



 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0