โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

ครูผู้มีผลงานวิธีปฏิบัติที่ดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

โรงเรียน : ท่าบ่อพิทยาคม สพม.หนองคาย

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : วิทยาศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ : 10 ต.ค. 2557 โดย : วิไลลักษณ์  อ่างแก้ว จำนวนผู้เข้าชม 388 คน


 การจัดกระบวนการเรียนรู้พัฒนาการคิดบูรณาการทักษะชีวิตด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนางานสู่วิธีปฏิบัติที่ดีที่เอื้อต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา(ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้) 
ด้านกระบวนการพัฒนาแบบปฏิบัติที่ดี 

 การออกแบบกิจกรรม
            การพัฒนาความสามารถในการคิดแบบบูรณาการการใช้ทักษะชีวิต ด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งวิธีดำเนินการ  มีดังนี้
          1. กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียน ชุมนุมโครงงานวิทยาศาสตร์
          2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์  
เป็นเอกสารประกอบการเรียนรู้  มีใบความรู้ ใบงาน สำหรับสร้างองค์ความรู้ด้านกระบวนการ  และการปฏิบัติการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองของนักเรียน
          3. วิธีดำเนินการ 
             เป็นการออกแบบและวางแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์โดยกำหนดให้มีการแบ่งกลุ่มนักเรียน เป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละ 3 คน เพื่อให้มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นต่อกัน  และการจัดกลุ่มแต่ละกลุ่มให้นักเรียนคละความสามารถ  และออกแบบใบงานสำหรับการฝึกคิดวิเคราะห์ แต่ละใบงานกำหนดโจทย์ประเด็นปัญหา และแนวการตอบประเด็นปัญหาสำหรับใช้ในการเรียนการสอนแต่ละครั้ง และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิด โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงงานให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านขั้นตอน  ดังนี้
1) ขั้นนำ  เป็นขั้นที่ครูเร้าความสนใจด้วยการสนทนา และบอกจุดประสงค์ของ
การเรียนรู้ จากนั้นสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำโครงงานวิทยาศาสตร์  เชื่อมโยงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำ โดยใช้ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน จากเอกสารประกอบการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ในแต่ละชุด

              2) ขั้นสอน แบ่งเป็น 5 ขั้นดังนี้

                   2.1 ขั้นเสนอสถานการณ์/เลือกปัญหา
2.2 ขั้นกำหนดปัญหา
2.3 ขั้นสร้างโครงร่างของโครงงาน
2.4 ขั้นลงมือปฏิบัติ
2.5 ขั้นนำเสนอโครงงาน
3) ขั้นสรุป   เป็นกิจกรรมที่ทั้งนักเรียน และครูช่วยกันสรุปผลการปฏิบัติการทำโครงงาน โดยพยายามเชื่อมโยงกับวิธีการคิดวิเคราะห์หาคำตอบที่นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง


 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0