โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

ดินไทยเล่าเรื่องเมืองนางรอง

โรงเรียน : นางรอง สพม.บุรีรัมย์

ระดับ : ระดับภาคฯ

กลุ่มสาระฯ : สังคมศึกษา

เผยแพร่เมื่อ : 22 ธ.ค. 2560 โดย : สมพิศ ทวีลาภ จำนวนผู้เข้าชม 482 คน


  ที่มาและความสำคัญ
        จากคำขวัญและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่าง  ๆ  พบว่าอำเภอนางรองมีประวัติ
ความเป็นมาอันยาวนาน การศึกษาประวัติความเป็นมาของเมืองนางรอง  ผู้ศึกษาส่วนใหญ่จะศึกษาจากเอกสาร  การบอกเล่าเรื่องราวจากผู้รู้  ภูมิปัญญาท้องถิ่น หลักฐานทางประวัติศาสตร์ สื่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งขาดการเชื่อมโยงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ คณะผู้จัดทำโครงงาน จึงได้นำความรู้เรื่องการปั้นดินไทยที่ศึกษาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มาปั้นเรื่องราวของ “เมืองนางรอง” เพื่อศึกษาความเป็นมาและภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิดของตนเอง เป็นสื่อการเรียนรู้ เผยแพร่เรื่องราวของเมืองนางรอง สืบทอดวัฒนธรรม  และเสริมสร้างเอกลักษณ์และวัฒนธรรม ผ่านโครงงานคุณธรรม ในหัวข้อ  “ดินไทยเล่าเรื่องเมืองนางรอง” (Muang Nangrong’s Story form Din thai) 

กิจกรรม/ขั้นตอนที่สำคัญ

  • การดำเนินงานขั้นที่ 1 ขั้นศึกษาหาความรู้ 
  • สมาชิกศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานคุณธรรมจากการศึกษาคณะผู้จัดทำโครงงานคุณธรรม จึงคิดสร้างสรรค์ผลงานจากดินไทย ในหัวข้อเรื่อง “ดินไทยเล่าเรื่องเมืองนางรอง”   (Muang Nangrong’s Story form Din thai)
  1. การดำเนินงานขั้นที่ 2 ขั้นปรึกษาหารือและวางแผนการปฏิบัติ

                       นำเสนอข้อมูลการดำเนินโครงงาน ประชุมปรึกษาหารือกับผ้ที่เกี่ยวข้อง   เพื่อตรวจทาน แก้ไขความถูกต้อง ปรับปรุงข้อมูลให้มีความถูกต้องสมบูรณ์และวางแผนปฏิบัติงานเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ นำสู่การปฏิบัติ

        การดำเนินงานขั้นที่ 3 ขั้นลงมือปฏิบัติ

         -  จัดทำร่างงานโครงงาน
          -  นำเสนอโครงงาน เมื่อจัดทำโครงงานและเข้าเล่มแล้วได้นำเสนอผลงาน 
          -  จัดเตรียมชิ้นงานเพื่อแสดงนิทรรศการ
       การลงมือทำโครงงาน  เมื่อโครงสร้างและเค้าโครงงานผ่านการเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา  หรือผู้เชี่ยวชาญแล้ว  นักเรียนก็เริ่มลงมือทำตามแผนงาน ในแต่ละช่วงต้องมีการประเมินการทำงานเป็นระยะๆ  เพื่อช่วยกันปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงานด้วย
       การเขียนรายงาน  เป็นการเสนอผลงานของการศึกษาค้นคว้าเป็นเอกสาร  เพื่อให้ผู้อื่นทราบปัญหาที่ศึกษา  วิธีดำเนินการศึกษา  ข้อมูลที่ได้  ประโยชน์ที่ได้จากโครงงานที่ทำ  ควรเขียนในรูปแบบฟอร์ม
            การแสดงผลงาน  เป็นการเสนอผลงานต่างๆ  ที่ได้ศึกษาค้นคว้ามา  เพื่อให้คนอื่นได้รับรู้และเข้าถึงโครงงาน  ซึ่งอาจเป็นตาราง  แผนภูมิแท่ง  กราฟวงกลม  กราฟ  สร้างแบบจำลอง  ควรเลือกนำเสนอให้เหมาะสมกับโครงงานนั้นๆ

ปัจจัยความสำเร็จ
          บทบาทซึ่งสำคัญที่สุดของครู  คือ  จะต้องกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจที่จะทำให้นักเรียนต้องการทำโครงงานนั้น  ครูจะต้องมีความคิดที่กว้างขวาง เพื่อจะหาแนวทาง  ครูจะต้องเตรียมพร้อมที่จะช่วยนักเรียนเลือกโครงงานในระยะเริ่มต้น  ครูจึงต้องมีความรู้และศึกษาว่าจะทำโครงงานอย่างไร และมีการพัฒนาโครงงานให้มีความหลากหลายและควรจะศึกษาโครงงานอื่นเพื่อมาประยุกต์ใช้กับโครงงานของตนเอง

       ผลการดำเนินการ ผลสำเร็จ และ ผลความภาคภูมิใจ
          1.ศึกษาเรียนรู้เทคนิคการปั้นตุ๊กตาดินไทยจากภูมิครูปัญญาท้องถิ่น ที่โรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบล  จังหวัดอุบลราชธานีและได้นำความรู้มาพัฒนาประยุกต์ให้มีรูปแบบที่เหมาะสมกับชิ้นงาน
          2.เยาวชนรักนางรองได้ศึกษาประวัติความเป็นมา  ของเมืองนางรอง จากผู้รู้ในชุมชน ห้องสมุด  สื่ออินเตอร์เน็ต เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาวางแผน  ออกแบบปฏิบัติงาน เกิดความภาคภูมิใจ ในถิ่นกำเนิดของตนเอง 
          3.
เยาวชนรักนางรอง  นำความรู้ที่ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของเมืองนางรอง จากผู้รู้ในชุมชน ห้องสมุด  สื่ออินเตอร์เน็ต  เก็บรวบรวมข้อมูลนำมาวางแผน  ออกแบบ ลงมือปฏิบัติงานด้วยการนำดินไทยมาปั้นเรื่องราวเมืองนางรอง เกิดภาคภูมิใจ  มีความรับผิดชอบ  เสียสละ รักการทำงาน มีความสามัคคี เกิดทักษะในการทำงานและส่งเสริมให้สมาชิกใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้
           4.เยาวชนรักนางรอง ได้นำความรู้  เทคนิค  และวิธีการปั้นตุ๊กตาจากดินไทยมาสอนน้อง ๆ ทำให้น้อง ๆ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
บทเรียนที่ได้รับ 
               โครงงานควรอยู่ในความสนใจและความสามารถของนักเรียน  โดยอาศัยความรู้หลักการแนวคิดไปเชื่อมโยงกับประเด็นที่จะศึกษาและค้นคว้าให้ชัดเจน ลึกซึ้งยิ่งขึ้น  โครงงานที่ดีที่สุดจะต้องเกิดจากความสนใจของนักเรียน  นักเรียนควรจะเลือกเอง แต่ในระยะเริ่มต้นทำโครงงาน  ถ้านักเรียนไม่สามารถเลือกหัวข้อมาทำโครงงานได้  ครูควรทำตนเป็นผู้แนะแนวทางเท่านั้น ในช่วงเริ่มทำโครงงานครั้งแรกครูอาจชี้แนะให้ทำเค้าโครงของโครงงานซึ่งประกอบด้วย  ชื่อของโครงงาน  จุดประสงค์ เนื้อหาคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  การดำเนินงาน  การสรุปผลงาน  การเขียนรายงาน  การนำเสนอผลงาน  ข้อเสนอแนะ  เอกสารอ้างอิง  ในระยะเริ่มแรกครูจะดูอย่างใกล้ชิดและดูการพัฒนาของนักเรียนให้คำปรึกษาเป็นช่วงๆ  ในระยะเริ่มต้นโครงงานที่ทำควรใช้ระยะเวลาสั้นๆ  เมื่อนักเรียนเข้าใจแล้ว  ถ้าจะทำต่อไปก็ให้คิดเองโดยอิสระ  ให้เลือกเรื่องที่จะทำเองและดำเนินการเองอย่างอิสระ
 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0