โรงเรียน : ท่าตะโกพิทยาคม สพม.นครสวรรค์
ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ
กลุ่มสาระฯ : การงานฯ
เผยแพร่เมื่อ : 17 ก.ย. 2561 โดย : จำนวนผู้เข้าชม 391 คน
“การพัฒนาคุณภาพนักเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้”
1. ความเป็นมา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2) ปรับปรุง พ.ศ. 2545 มีจุดมุ่งหมาย ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนาธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข จึงมีการปฏิรูปการศึกษาไปสู่การจัดการศึกษาให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมอย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาลักษณะของคนไทยที่พึงปรารถนาคือ เก่ง ดี และมีความสุข นักการศึกษาต่างก็มีความเห็นว่าควรมีการปฏิรูปการเรียนรู้ของคนไทย ดังนั้นการปฏิรูปการเรียนรู้จึงเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา ครูผู้สอนควรได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตามรูปแบบที่นักการศึกษาได้ทำการทดลองและวิจัยแล้วว่าวิธีดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์แก่ผู้เรียนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ ครูผู้สอนจะเลือกวิธีดังกล่าวไปใช้หรือประยุกต์ใช้ หรือผสมผสานกัน ให้เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ที่จะจัดให้แก่ผู้เรียน ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ ที่กำหนดไว้
2. วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายการศึกษา และมาตรฐานคุณภาพการศึกษา 2. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม 3. ศึกษาเทคนิควิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ 4. ศึกษาการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง และสร้างเครื่องมือประเมินแบบรูบริกส์ เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ 5. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ 6. สร้างสื่อ/นวัตกรรม/สำรวจแหล่งเรียนและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 7. จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพนักเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ 8. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกครั้งจะมีการวางแผน (P) ลงมือปฏิบัติ (D) ตรวจสอบและบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ (C) นำผลที่ได้จากการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาให้ยั่งยืนสู่คุณภาพนักเรียนเป็นสำคัญ (A)
3. ปัจจัยความสำเร็จ
1. ฝ่ายบริหาร/คณะกรรมการสถานศึกษาให้ความ สำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียน 2. ได้รับความร่วมมือจากคณะครู บุคลากรในสถานศึกษา 3. ได้รับอนุมัติงบประมาณสนับสนุนจากสถานศึกษาอย่างเพียงพอ
4. ผลการดำเนินงาน
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ 3-4 ร้อยละ 75.01 2. นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ สรุปความคิดอย่างเป็นระบบและมีการคิดแบบองค์รวม มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดไตร่ตรอง มีทักษะการคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ 3. นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ รอบตัว นักเรียนใฝ่รู้ใฝ่เรียน สนุกกับการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ นักเรียนสามารถใช้ห้องสมุด ใช้แหล่งเรียนรู้และสื่อต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา 4. มีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการ ที่ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพนักเรียนอย่างหลากหลาย 5. นักเรียนสามารถวางแผนทำงานตามลำดับขั้นตอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักการทำงาน สามารถปรับตัวและทำงานเป็นทีมได้ มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่สนใจ 6. นักเรียนมีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความกตัญญูกตเวที มีความเมตตากรุณา โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และไม่เห็นแก่ตัว มีความประหยัด และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 7. ใช้สื่อนวัตกรรมที่สอดคล้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ และมีเครือข่ายการพัฒนาทั้งใน และนอกสถานศึกษา
8. ร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา มีการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาการศึกษา
5. บทเรียนที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกครั้งต้องสร้างความเข้าใจกับนักเรียนในชั้นเรียนอย่างทั่วถึง มีการเตรียมการจัดกิจกรรม ดำเนินกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ และทบทวนตรวจสอบกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงแก้ไข/พัฒนาในครั้งต่อไป การเขียนแผนลำดับขั้นการจัดการเรียนรู้อย่างละเอียดจะช่วยให้การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้ตามจุดประสงค์