โรงเรียน : บ้านบึงมนูญวิทยาคาร สพม.ชลบุรี ระยอง
ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ
กลุ่มสาระฯ : วิทยาศาสตร์
เผยแพร่เมื่อ : 4 ส.ค. 2561 โดย : ธาดา ล้อสุนิรันดร์ จำนวนผู้เข้าชม 597 คน
ชื่อผลงาน การส่งงานของนักเรียน
ชื่อผู้จัดทำ นายธาดา ล้อสุนิรันดร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
โทรศัพท์มือถือ 087-0562600 e-mail pipeman_2528@hotmail.com
__________________________________________________________________
ความสำคัญของปัญหา
ความวิตกอย่างหนึ่งของคนที่เป็นครู คืออยากให้ลูกศิษย์ที่เรากำลังสอนนั้น เกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้ไม่ได้หมายถึงการที่เขาตอบคำถามที่เราถามได้เท่านั้น แต่หมายถึงการที่เขารู้ว่าสิ่งที่เขากำลังเรียนคืออะไร สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่แล้วมาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ที่เรากำลังสอนหรือไม่ และสามารถนำสิ่งที่เราสอนไปประยุกต์ใช้กับสถานะการณ์อื่นๆ ได้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้เรียนต้องทำเอง ครูไม่สามารถจะทำให้เขาได้ สิ่งที่ครูจะทำได้ คือ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำสิ่งดังกล่าว โดยสร้างบรรยากาศการเรียนที่เอื้อกับสิ่งเหล่านี้การสร้างบรรยากาศในการเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ คือ ต้องทำให้ผู้เรียน เรียนอย่างกระตือรือร้น (active learning) และตระหนักว่าตนกำลังเรียนอะไรอยู่ ครูจะสามารถสร้างบรรยากาศแบบนี้ได้จาก การจัดชั้นเรียน การสร้างแบบเรียนและกิจกรรมในห้องเรียน และการหาเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้พูดถึงสิ่งที่เรียนออกมาเพื่อจะได้รับรู้ว่าตัวเขาเองกำลังทำอะไรอยู่ (self - awareness) เช่น การเขียนไดอารี่ที่พูดถึงการเรียน ปัญหาที่พบ และสิ่งที่ได้เรียนการจัดชั้นเรียน ควรจะให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานกลุ่มเพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกับเพื่อน การสร้างแบบเรียนและกิจกรรมในห้องเรียน ควรจะให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรม เลือกการบ้าน และเลือกกลุ่มคนที่เขาอยากจะทำกิจกรรมในห้องเรียนด้วย ผู้เรียนควรจะรู้ว่าเขาถูกคาดหวังให้เรียนอะไรในวิชานั้น เพื่อจะได้รู้ว่าวิธีการเรียนที่เขาเรียนเหมาะสมหรือไม่ และเขาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้หรือไม่
ครูควรจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียนว่า เด็กในชั้นมีความสามารถ ความชอบ และมีแรงจูงใจในการเรียนแตกต่างกัน ถ้าหากกำหนดให้เด็กทำงานแบบเดียวกัน คนทุกคนจะเกิดการเรียนรู้ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ครูควรจะให้ความสำคัญกับการสอนให้เด็กตระหนักว่าเขากำลังเรียนอะไร และเรียนอย่างไรไดอารี่เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถบันทึกกระบวนการเรียน งานที่เขาทำ และยังใช้เป็นสื่อที่ครูกับเด็กจะติดต่อสื่อสารกันโดยไม่จำเป็นต้องนำเรื่องนั้นเข้ามาพูดในห้องเรียน การเขียนไดอารีจะช่วยให้ผู้เรียนได้คิดย้อนไปถึงกระบวนการที่เขาเรียนรู้แล้วเขียนบรรยายออกมา (reflective) การที่เขาต้องเขียนบรรยายถึงวิธีการและขั้นตอนในการเรียน จะช่วยให้ผู้เรียนตระหนักถึงกระบวนการการเรียนรู้ ข้อดีและข้อด้อยของตัวเอง ซึ่งจะทำให้เขารู้ตัวและปรับปรุงตัวได้ และยังทำให้เขารู้ว่ากำลังเรียนอะไร
ส่วนผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปัญหาในการเรียนรู้ที่พบมากคือไม่ส่งงานตาม
ระยะเวลาที่ครูกำหนดทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนการสอน ครูจึงควรร่วมกันฝึกผู้เรียนให้ตระหนักถึงความสำคัญกระบวนการการเรียนรู้จะช่วยให้เขามีความมั่นใจที่จะเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (life-long learning)
จุดมุ่งหมาย
ตัวแปรที่ศึกษา
การส่งงานของนักเรียน
กรอบแนวคิดในการดำเนินการ
|
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน
นักเรียนในระดับชั้น ม.3 จำนวน 104 คน โรงเรียนบ้านบึง “มนูญวิทยาคาร”
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนในระดับชั้น ม. 3 จำนวน 30 คน ของโรงเรียนบ้านบึง “มนูญวิทยาคาร”
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
วิธีดำเนินการ
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ
แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
ใบงานปฏิบัติตามเนื้อหาในบทเรียน
แบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียนในการส่งงาน
ผลการการดำเนินการ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล/ผลการแก้ปัญหาจากการนำไปปฏิบัติจริง
ผู้จัดทำได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เตรียมไว้และนำไปใช้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน แล้วพบว่าในระยะเริ่มแรกของงานของนักเรียนบางคนขาดความรับผิดในการส่งงานแต่เมื่อได้รับการกวดขันจากครูในแต่ละรายวิชามีการส่งงานและการปฏิบัติงานได้ดีขึ้นในระดับหนึ่งแต่ยังคงต้องมีการทวงถามในบางครั้งนักเรียนยังมีความรับผิดชอบต่องานของตนเองไม่มากพอในระดับที่คาดหวังว่าควรจะเป็น ข้าพเจ้าจึงได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการจัดทำใบบันทึกการส่งงานในนักเรียนที่มีปัญหาและใช้การช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนในการทำงานเข้ามาเป็นเครื่องจูงใจในการส่งงานของนักเรียนซึ่งภายหลังจากการทำการแก้ไขดังนี้นักเรียนมีความรับผิดชอบในการส่งงานที่ดีขึ้น และหลังจาการใช้วิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ปรากฏว่า นักเรียนมีความสนใจในการเรียนเพิ่มมากขึ้น นักเรียนมีความกล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น และนักเรียนมีความอยากเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเพิ่มมากขึ้น นักเรียนที่เรียนไม่ทันเพื่อนก็สามารถเรียนได้ผลการเรียนที่ดีขึ้นกว่าเดิม มีการส่งงานสม่ำเสมอ และตรงเวลามากขึ้น
ปัจจัยความสำเร็จ
1. โรงเรียนมีนโยบายการติดตามผู้เรียนที่มีความเสี่ยงต่อการติด 0 ร มส. ซึ่งหนึ่งในปัญหาหลักคือ นักเรียนไม่ส่งงาน
2. ผู้บริหารได้ให้คำแนะนำและสนับสนุนกรเรียนการสอนที่แก้ปัญหาให้กับนักเรียนได้จริง
การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ
การเผยแพร่
- เผยแพร่วิธีการให้แก่ครูที่สนใจ
- นำไปประกอบกับ PLC กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น