โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

งานศิลป์กลิ่นไม้

โรงเรียน : เมืองปานพัฒนวิทย์ สพม.ลำปาง ลำพูน

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 24 ก.ย. 2561 โดย : กฤตติภูมิ  เขียวคำสุข จำนวนผู้เข้าชม 470 คน


โมเดลโรงเรียนเมืองปานพัฒนวิทย์
“M.P.P.S.”
 
  1. ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน

ชื่อโรงเรียนเมืองปานพัฒนวิทย์  ที่ตั้ง 163  หมู่ที่ 2  ตำบลหัวเมือง  อำเภอเมืองปาน  จังหวัดลำปาง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35  โทรศัพท์ 097-974-6497      โทรสาร..........-..............E- mail  mppat163@hotmail.com และ mppat163@gmail.com  Website www.mpn35.ac.th      เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  เนื้อที่  50 ไร่  เขตพื้นที่บริการ  8  หมู่บ้านหลัก  15 หย่อมบ้าน  โดยเป็นนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3  จำนวน 5 โรงเรียน 1 โรงเรียนสาขา และเป็นนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา  ในสังกัด กศน. จำนวน 2 โรงเรียน

ปรัชญา
กุสโล วชาหติ ปาปกº  คนฉลาดย่อมละเว้นความชั่ว
วิสัยทัศน์
พัฒนาและให้บริการการศึกษา  ทั้งศาสตร์และศิลป์ควบคู่คุณธรรม  สำนึกในความเป็นชาติพันธุ์
สืบสานภูมิปัญญาบ้านเกิด  ชูเชิดเศรษฐกิจพอเพียง  คู่เคียงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

พันธกิจ
ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6   อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพและส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนด้อยโอกาส  พิการ  ยากจนให้เข้าเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักสูตรสถานศึกษา  สอดคล้องกับมิติของอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
2. พัฒนาผู้เรียนให้ถึงพร้อมทั้งด้านความรู้คุณธรรมและจริยธรรมที่งดงาม

ด้านกระบวนการเรียนการสอน
3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่กับเศรษฐกิจพอเพียงอย่างกลมกลืน
ด้านการบริหารจัดการ
4. พัฒนาระบบการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นระบบบริหารจัดการที่ดี  โดยเน้นการกระจายอำนาจ  การมีส่วนร่วมขององค์คณะบุคคล  ทั้งในสถานศึกษา  ชุมชน  องค์กรปกครองท้องถิ่น  วัดและองค์กรต่างๆที่ให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษา
5. ปรับปรุงและพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้านการจัดการเรียนการสอนโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
6. ประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโดยส่งเสริมให้ผู้ปกครอง  ชุมชน  องค์กรภายนอก  ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้


เป้าประสงค์
          1.  พัฒนาผู้เรียนให้ให้เป็นคนดี เก่ง มีสุข  ตามพันธกิจด้านพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
          2.  พัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพที่มีคุณธรรมและความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนการสอน
          3.  พัฒนาระบบการบริหารจัดการสถานศึกษาให้อยู่ภายใต้การบริหารอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 

โดยเน้นหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          4.  พัฒนาชุมชนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ต้องการยกระดับการศึกษาไทย


กลยุทธ์
          1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาสู่สากล
          2. พัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาสู่สากล
          3. พัฒนาและส่งเสริมการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
          4. พัฒนาและส่งเสริมเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
          5. พัฒนาส่งเสริมคุณภาพของสถานศึกษาให้สูงขึ้นตามนโยบาย จุดเน้น แนวทางการปฏิรูปการศึกษา

 
  1. สภาพปัญหา
จากการวิเคราะห์สภาพโรงเรียน (SWOT Analysis)  ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในพบว่าการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ส่งผลกระทบต่อนโยบายและแนวปฏิบัติของโรงเรียน ทั้งการนิเทศติดตาม และประเมินผล ยังขาดความต่อเนื่อง บุคลากรของโรงเรียนมีการโยกย้ายบ่อย เนื่องจากบุคลากรเป็นคนนอกพื้นที่เกือบทั้งหมด จึงทำให้ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน โรงเรียนมีบุคลากรจำกัด แต่มีภาระงานมาก ทำให้ภาระงานของครูมีมากเกินงานที่รับผิดชอบ บุคลากรขาดความเข้าใจบทบาทหน้าที่ในการทำงานเนื่องจากย้ายเข้ามาใหม่ซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน  โรงเรียนมีนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้เป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนส่วนใหญ่ในห้องเรียน  นอกจากนี้โรงเรียนยังตั้งอยู่พื้นที่ห่างไกล เกิดปัญหาต่อระบบการสื่อสารออนไลน์ อยู่บ่อยครั้ง การระดมทรัพยากรจากผู้ปกครองและชุมชนไม่สามารถดำเนินการได้เต็มที่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ชนบทห่างไกล ฐานะยากจน โรงเรียนจึงมีงบประมาณทีใช้บริหารจัดการ จากที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาลเท่านั้น ทำให้การดำเนินกิจกรรมโครงการพิเศษต่างๆ ที่ส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนทำได้ไม่เต็มที่ 
 
  1. หลักการและเหตุผล
จากการสภาพปัญหาและความต้องการ  สำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านต่างๆ ของโรงเรียนโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทำให้ทราบถึงบริบทของโรงเรียนว่าขณะนี้ เพื่อจัดลำดับความสำคัญและกำหนดกรอบในการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียน ขั้นการวางแผน (Plan) โดยใช้ M.P.P.S MODEL ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน  เป็นการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีที่มีโครงการ/กิจกรรม ระบุขั้นตอนการดำเนินงานแบบ P-D-C-A อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับรูปแบบของการบริหารโรงเรียนที่กำหนดไว้  เพื่อให้การบริหารจัดการภายในโรงเรียน     มีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา และตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ













รูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยใช้  M.P.P.S  โมเดล
โมเดลโรงเรียนเมืองปานพัฒนวิทย์
“M.P.P.S.”


สำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหา
ความต้องการ
โดยการวิเคราะห์ SWot
กำหนดปัญหา  และความต้องการ
วางแผนรูปแบบ  Model  การบริหารโรงเรียน
ปรับปรุงแก้ไข
พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และขยายผล
P
วางแผน
D
การปฏิบัติ
C
ตรวจสอบ
A
ปรับปรุง แก้ไข
       
 
 
    สี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน: โมเดลโรงเรียนเมืองปานพัฒนวิทย์
“M.P.P.S.”












































M =  Management (การบริหารจัดการ โดยใช้หลักการบริหาร 4M)
1. Man = การบริหารจัดการบุคลากร
          - ข้อมูลปัจจุบัน
- ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน
- ครูประจำการ จำนวน 16 คน
- พนักงานราชการ ตำแหน่งครู จำนวน 4 คน
- พนักงานราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง จำนวน 1 คน
- ธุรการโรงเรียน 1 คน
- ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ 1 คน
          - บริหารคนให้ตรงกับสายงาน จัดสรรบุคลากรให้ทำงานตรงกับความสามารถและความถนัด
          - ในกรณีที่ครูย้ายเข้ามาใหม่ หากไม่ถนัดในงานที่ได้รับมอบหมาย ก็จะส่งเสริมและพัฒนา เช่น
การอบรม เป็นต้น

2. Money = การบริหารเงินงบประมาณ
          - จัดสรรงบประมาณอุดหนุนที่ได้รับเพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล
          - ระดมทรัพยากรจากชุมชนเพื่อนำมาใช้จ่ายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน เช่น เงินทอดผ้าป่า
เงินบริจาค เป็นต้น
          - ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

3. Method = วิธีการ
          โรงเรียนมีวิธีการบริหารจัดการโดยแบ่งออกเป็น 4 ฝ่ายงาน ได้แก่
          - ฝ่ายบริหารงานวิชาการ
- ฝ่ายบริหารงานงบประมาณ
- ฝ่ายบริหารงานบุคคล
- ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

4. Material/Machine = วัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือ
          โรงเรียนมีการใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และทรัพยากรต่างๆอย่างคุ้มค่า ซึ่งในปัจจุบันโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน โดยได้รับจัดสรรเป็นวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ผ่านโครงการต่างๆ ได้แก่
          - โครงการประชารัฐ ร่วมกับ true ได้รับโทรทัศน์พร้อมคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ จำนวน 10 ชุด
          - โครงการ DLTV และ DLIT ได้รับโทรทัศน์พร้อมคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค จำนวน 5 ชุด
          - โรงเรียนมีการใช้ระบบการทำงานที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในงานธุรการสารบรรณ โดยมีรับส่งเอกสารผ่าน โปรแกรม my office






P = Performance การดำเนินงาน
โรงเรียนเมืองปานพัฒนวิทย์ ใช้หลัก PDCA เป็นกระบวนการควบคุมภาพของการปฏิบัติงาน โดยยึดหลักการที่ว่างานทุกงานจะต้องมีขั้นตอนการวางแผนการปฏิบัติงาน
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/7a/PDCA_Cycle.svg/1280px-PDCA_Cycle.svg.png
1. Plan (วางแผน) คือ การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ เพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การสร้างและพัฒนานวัตกรรม รวมไปถึงการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน วิธีการ ระยะเวลาการ ผู้รับผิดชอบ และงบประมาณที่จะใช้ การวางแผนดังกล่าวช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้
2. Do (ปฏิบัติ) คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนที่ได้วางไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง โดยต้องจัดการประชุม เพื่อให้บุคลากรรับทราบถึงหน้าที่ของตนเองก่อน จึงจะเริ่มลงมือปฏิบัติการได้
3. Check (ตรวจสอบ) คือ การประเมินผลว่ามีการปฏิบัติงานตามแผนหรือไม่ บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ มีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรในการดำเนินงาน โดยจะประเมินปัญหาควบคู่ไปกับการการดำเนินงาน และการประเมินการปฏิบัติงานจะต้องตรวจสอบด้วยว่าการปฏิบัตินั้น เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไวหรือไม ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพ
4. Act (การปรับปรุง) คือ กิจกรรมที่มีขึ้นเพื่อแกไขปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากไดทำการตรวจสอบแลว เพื่อป้องกันไมให้เกิดปัญหาซ้ำรอยเดิม โดยการปรับปรุงการกำหนดมาตรฐานของวิธีการทำงานที่ต่างจากเดิม เพื่อให้การวางแผนมีความสมบูรณ และมีคุณภาพเพิ่มขึ้นไดด้วย

โครงการที่โรงเรียนเมืองปานพัฒนวิทย์กำลังปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
ประจำปีงบประมาณ 2560
1. โครงการประชารัฐ                                  2. การยกระดับทักษะภาษาอังกฤษ
3. STEM Education                                  4. โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
5. การพัฒนาครู                                        6. โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
7. การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก               8. การบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม
9. การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางท้องถนน

P = Product  ผลผลิต

โรงเรียนเมืองปานพัฒนวิทย์  ได้จัดทำโครงการ/กิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน
โดยเน้นให้ทุกภาคส่วนในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำสารสนเทศ  ทำการวิเคราะห์บริบทสถานศึกษา  วางแผนและดำเนินการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาร่วมกัน สรุปประเมินผลการดำเนินงาน โดยใช้วงจรคุณภาพแบบ PDCA เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพการดำเนินการ มาใช้เป็นฐานในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนต่อไป
 
การประเมินผลการจัดโครงการ/กิจกรรม และการพัฒนาผู้เรียน
การนำผลการพัฒนาผู้เรียน มาวางแผน  เพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
Plan
Do
Check
Act
วางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบครอบคลุม ถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่ง ใหม่ๆ ในการกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการ ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน การกำหนดการดำเนินงานกำหนดระยะเวลา  การดำเนินงานกำหนดครูผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการและกำหนดงบประมาณที่จะใช้การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียน และการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  
             
    กล่องข้อความ: วางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบครอบคลุม ถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่ง ใหม่ๆ ในการกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการ ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน การกำหนดการดำเนินงานกำหนดระยะเวลา  การดำเนินงานกำหนดครูผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการและกำหนดงบประมาณที่จะใช้การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
 
   
 
 
    กล่องข้อความ: ดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียน และการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
   
 
 
    กล่องข้อความ: การประเมินผลการจัดโครงการ/กิจกรรม และการพัฒนาผู้เรียน
   
 
 
    กล่องข้อความ: การนำผลการพัฒนาผู้เรียน มาวางแผน  เพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
   
 
 






















ผลการดำเนินการในการจัดการศึกษาแก่ผู้เรียน
นักเรียน
สี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน: นักเรียน

 
  1. นักเรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา ระดับชั้น จำนวนนักเรียน (คน) ร้อยละ
ที่สำเร็จการศึกษา
นักเรียนทั้งหมด สำเร็จการศึกษา
2558 ม.3 58 58 100
ม.6 30 30 100
2559 ม.3 66    
ม.6 14    
 
  1. การศึกษาต่อ
ปีการศึกษา ระดับชั้น จำนวนนักเรียน (คน)

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0