โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

อนุรักษ์ภาษาสระแอ (โครงการพิเศษ)

โรงเรียน : โพธิ์ตากพิทยาคม สพม.หนองคาย

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : ภาษาไทย

เผยแพร่เมื่อ : 30 พ.ย. 542 โดย : นางสาวอมรรัตน์ กะกุลพิมพ์ จำนวนผู้เข้าชม 435 คน


1.  ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
          ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศเปิด ส่งผลให้มีการหลั่งไหลถ่ายเททางวัฒนธรรมในอัตราที่สูงและรวดเร็ว ทั้งในแง่การถ่ายเทวัฒนธรรมจากต่างประเทศและการถ่ายเทวัฒนธรรมระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนในสังคม คือ มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางเจตคติ ค่านิยม ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม และอื่นๆอีกมากมาย จนทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา โดยเฉพาะปัญหาการทิ้งสังคมถิ่นกำเนิดไปสู่สังคมเมืองที่คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่า จนลืมหวงแหนและรักษาสิ่งที่มีคุณค่าที่อยู่คู่สังคมของตนมาช้านาน ผู้ศึกษาคิดว่าปัญหาที่ต้องกลับมาให้ความสำคัญ ควรเริ่มต้นปลูกฝังจากเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เกิดความรัก ความหวงแหน และเกิดความภาคภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง เพราะถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิตและสังคม หากทุกคนสนใจแต่ ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ ปล่อยปละละเลยให้คุณค่าทางสังคม วัฒนธรรม สิ่งที่ดีงามของท้องถิ่นให้เสื่อมสูญไปตามกาลเวลาก็จะเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือเริ่มต้นจากการศึกษา โดยค่อยๆเสริมเติมเต็มและปลูกฝังสิ่งที่ดีงามของท้องถิ่นควบคู่ไปกับการเรียนการสอน
ด้วยโรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคมเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งโรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคมยังได้เข้าร่วมการจัดการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะกระบวนการ QSCCS ที่เน้นกระบวนเรียนโดยเรียนจากสิ่งที่นักเรียนเกิดความสนใจอยากรู้และอยากทำ จากการเข้าร่วมโครงการตลอดปีการศึกษา 2558  จึงได้นำมาใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชา ภาษาไทย เรื่อง อนุรักษ์ภาษาสระแอ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขั้นตอนการตั้งคำถาม (ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน) Q : Learn Question ครูพานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ออกศูนย์การเรียนรู้ ศึกษาดูงานนอกห้องเรียน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และตั้งประเด็นคำถาม ณ ศูนย์การเรียนรู้ไทยพวนของโรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคม จังหวัดหนองคาย โดยครูกระตุ้นให้นักเรียนซักถามให้นักเรียนเกิดความแรงจูงใจ สนใจหาคำตอบ และสนใจเกี่ยวกับภาษาสระแอ

2.  จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
          1.  เพื่อบูรณาการความรู้และความซ้ำซ้อนของเนื้อหาสาระ
          2.  ส่งเสริมให้ครูได้ออกแบบกิจกรรมร่วมกัน  โดยผ่านกระบวนการผลิตสบู่
          3.  นักเรียนเกิดทักษะการทำงาน  เกิดทักษะการคิดคำนวณ  ทักษะการสื่อสาร  และทักษะการใช้เทคโนโลยี  นักเรียนได้เรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจ
          4.  ส่งเสริมให้ครูได้ปรับพฤติกรรมการสอน  สอนไม่ยึดตำราแต่ยึดตัวชี้วัด

3.  กระบวนการผลิตงาน  หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
          1.  ประชุม  ทำความเข้าใจกับครูผู้สอนในกลุ่มสาระกาเรียนรู้ภาษาไทย
          2.  คณะครูผู้สอนร่วมกันกำหนด ใบงาน ใบความรู้ สื่อนิทาน   ที่จะทำที่จะใช้เป็นตัวกลางในการเรียนรู้
              ภาษาสระแอ  ได้แก่ ใบความรู้ความเป็นมาภาษาสระแอ  ใบความรู้การประสมคำของภาษาสระแอ
          3.  คณะผู้สอนร่วมกันออกแบบกิจกรรมในประเด็นที่ต้องการ  ให้นักเรียนค้นหาคำตอบ  ประเด็นที่จะใช้ในการค้นหาคำตอบของนักเรียน  คือ
                    1.  ความเป็นมาของภาษาสระแอ
                    2.  การประสมคำของภาษาสระแอ
                    3.  ประโยชน์และการนำไปใช้
4.  คณะครูผู้สอนร่วมกันจัดทำ  ผังความคิด  การออกแบบหน่วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐาน / ตัวชี้วัด

5.  คณะครูผู้สอนร่วมกันออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการ 5 Step Of Learning (QSCCS)
                    1.  ขั้นตั้งคำถาม                     (Q  :  Learning  Of  Qusetion)
                    2.  ขั้นประสบการณ์      (S   :  Learning  Of  Search)
                    3.  ขั้นสร้างความรู้        (C  :  Learning  Of  Construct)
                    4.  ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้  สรุปความ  (C  :  Learning  Of  Communicate)
                    5.  ขั้นประยุกต์พัฒนาต่อยอดความรู้สู่สังคม  (S  :  Learning  Of  Service)

การจัดกิจกรรมการรู้
หลักฐานการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ (5 ขั้นตอน) สื่อ / แหล่งเรียนรู้ เวลา / ชั่วโมง
-  แบบบันทึก 1.ขั้นตั้งคำถาม (ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน)
Q  :  Learning  Of  Qusetion
- ครูพานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ออกแหล่งเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้ “ไทยพวน” โรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคม  ต.โพธิ์ตาก  อ.โพธิ์ตาก  จ.หนองคาย  เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ  ตั้งประเด็นคำถามสนใจหาคำตอบโดยครูกระตุ้นนักเรียน  ซักถามให้เกิดแรงจูงใจและสนใจหาคำตอบ
- ห้องสมุด
- แบบบันทึก
- อินเตอร์เน็ต
3
- ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งแหล่งเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้ “ไทยพวน” โรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคม  ต.โพธิ์ตาก 
อ.โพธิ์ตาก 
จ.หนองคาย
 
2.  ขั้นประสบการณ์ (ขั้นทำกิจกรรม)
S   :  Learning  Of  Search
- แบ่งกลุ่มนักเรียนและให้ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบในประเด็นดังต่อไปนี้
     1. ความเป็นมาของภาษาสระแอ
     2. การประสมคำของภาษาสระแอ
     3. ประโยชน์และการนำไปใช้
    (โดยนักเรียนแกนนำ คอยชี้แนะ  ชักชวนให้นักเรียนค้นคว้าในประเด็นให้ครบ 3 ประเด็น)
  3
 
หลักฐานการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ (5 ขั้นตอน) สื่อ / แหล่งเรียนรู้ เวลา / ชั่วโมง
- ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้  ศูนย์การเรียนรู้  “ไทยพวน” โรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคม  ต.โพธิ์ตาก 
อ.โพธิ์ตาก 
จ.หนองคาย
 
3.  ขั้นสร้างองค์ความรู้
C  :  Learning  Of  Construct
     1. นักเรียนแต่ละกลุ่มหาความหมาย ที่มา การประสมคำ การอ่านออกเสียง ของภาษาสระแอ    จากนักเรียนแกนนำ  ฝึกทำใบงาน บันทึกผลลงในแบบบันทึกการทำกิจกรรม      
     2. นักเรียนแกนนำ สร้างความรู้ในเรื่องประโยชน์และการนำไปใช้
    
 
  5
-  แบบบันทึก

- ผลงานจากใบงานที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ตามขั้นตอน

- การนำเสนอ
4. ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนสรุปความรู้
C  :  Learning  Of  Communicate
     นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน  ค้นคว้า  ตามที่ได้ไปศึกษาดูงานมา  เช่น  อ่านออกเสียงเป็นภาษาสระแอ อ่านและแปลนิทานภาษาสระแอ ใบ้คำ และสำนวนเป็นภาษาสระแอและเขียนคำศัพท์เป็นภาษาสระแอ
 
  4
- การนำเสนอนวัตกรรมการเรียนรู้ในกิจกรรมการศึกษาแหล่งเรียนรู้  ศูนย์การเรียนรู้
“ไทยพวน” โรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคม  ต.โพธิ์ตาก จ. หนองคาย
 
5. ขั้นประยุกต์พัฒนาต่อยอดความรู้สู่สังคม
S  :  Learning  Of  Service
นักเรียนแต่ละกลุ่มรวบรวมข้อมูลแล้วบันทึกผล ประเด็นหาความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากครุผู้สอน นำไปปรับปรุงแก้ไข และนำไปพัฒนาผลงานให้สมบูรณ์ จัดทำเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อวีดีทัศน์สาธิต เผยแพร่          ภาษาสระแอ ให้กับเพื่อร่วมงาน ครู ผู้ปกครอง จัดไว้ในห้องสมุดของโรงเรียนได้เรียนรู้กัน  ต่อไป
 
  2


                             โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้จากการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
                                                       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
                              หน่วยการเรียนรู้  เรื่อง  อนุรักษ์ภาษาสระแอ  เวลา  17  ชั่วโมง
ครูผู้สอน แผนการจัดการเรียนรู้/เรื่อง เวลา / ชั่วโมง มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
นางสาวกนกกร  ฐานะดี
นางสาวหทัยรัตน์  วิโย
นางสาววรรณา  สาชนะ
นางสาวสุชาดา  คำพระวัน
นางสาวอรุณวตี  จิตติพิมพ์
1. ความเป็นมาภาษาสระแอ 5 1.1ม.3/1, ม.3/3
2.1ม.3/9
3.1 ม.3/3
4.1 ม.3/1   
นางสาวกนกกร  ฐานะดี
นางสาวหทัยรัตน์  วิโย
นางสาววรรณา  สาชนะ
นางสาวสุชาดา  คำพระวัน
นางสาวอรุณวตี  จิตติพิมพ์
2. การประสมคำของภาษาสระแอ 6 1.1ม.3/1, ม.3/3
2.1ม.3/9
3.1 ม.3/3
4.1 ม.3/1   
นางสาวกนกกร  ฐานะดี
นางสาวหทัยรัตน์  วิโย
นางสาววรรณา  สาชนะ
นางสาวสุชาดา  คำพระวัน
นางสาวอรุณวตี  จิตติพิมพ์
3. ประโยชน์และการนำไปใช้ 6 1.1ม.3/1, ม.3/3
2.1ม.3/9
3.1 ม.3/3
4.1 ม.3/1   
 
รวม 17  


4.  ผลการดำเนินงาน  ผลสัมฤทธิ์  ประโยชน์ที่ได้รับ
          1.  นักเรียนมีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
          2.  นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารนำเสนอผลงาน
          3.  นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
          4.  นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหา
          5.  นักเรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 

5.  ปัจจัยความสำเร็จ
          -  ผู้บริหาร  คณะครูกลุ่มสาระโรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคม  ให้ความร่วมมือ  วางแผน  ทำงานร่วมกัน  ความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้สำเร็จ


6.  บทเรียนที่ได้รับ (Lesson  Learned)
          การแบ่งชั่วโมงสอนของคณะครูจะต้องมีการวางแผน  การจัดตารางสอนห้องเรียนปกติ  ห้องเรียนบูรณาการ  จะต้องมีการวางแผนที่ชัดเจนและดำเนินการก่อนเปิดภาคเรียน

7.  การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ
          โรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคม คัดเลือกให้นำเสนอผลงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี  ในเวทีการนำเสนอผลงานของกลุ่มสาระที่มีแนวทางปฏิบัติที่ดีของโรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคม

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0