โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การใช้วิธีการสอนแบบ Project Based Learning ในการสร้างทักษะงานอาชีพ

โรงเรียน : โพธิ์ตากพิทยาคม สพม.หนองคาย

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : การงานฯ

เผยแพร่เมื่อ : 10 ก.ค. 2561 โดย : นางสาวอมรรัตน์ กะกุลพิมพ์ จำนวนผู้เข้าชม 1112 คน


ความสำคัญและความเป็นมา               
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  รายวิชาเพิ่มเติม 20215   คุกกี้และเค้ก    มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติทำขนมอบและ
เบเกอรี่ โดยกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นผู้สอนจะต้องทำการสาธิตการปูการทำขนมอบแบบต่างๆ หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามจนเกิดทักษะความชำนาญ แต่ในระหว่างปฏิบัติจริงนั้น เกิดปัญหาดังนี้ 1) ผู้เรียนขาดทักษะงานอาชีพ  2) ผู้เรียนขาดทักษะการสร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์เพราะต้องปฏิบัติตามสูตรสำเร็จที่เตรียมไว้ให้
ดังนั้นผู้เสนอผลงานจึงมีแนวคิดที่จะใช้วิธีการสอนแบบ Project Based Learning ในการสร้างทักษะงานอาชีพ อันได้แก่ ทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการแสวงหาความรู้  ทักษะการจัดการ  เป็นต้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาผลการใช้วิธีการสอนแบบ Project Based Learning ในการสร้างทักษะงานอาชีพ
2. เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาผู้เรียนขาดทักษะการสร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ใช้วิธีการสอนแบบ Project Based Learning ในการสร้างทักษะงานอาชีพ ร่วมกระบวนการคุณภาพ PDCA เป็นตัวขับเคลื่อน โดยเตรียมนักเรียนที่มีทักษะในการฝึกปฏิบัติ ตามขั้นตอนกระบวนการทำงาน โดยยึดหลักตาม Flow Chart ดังนี้
ขั้นวางแผน (P: Plan)
1. ศึกษาสภาพปัญหาในการสอนสาธิตการทำขนมอบและเบเกอรี่
2. วางแผนจัดกิจกรรมการสอนสาธิตโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นนักเรียน
มัธยมศึกษาปีที่ 3  ที่เรียนในรายวิชาเพิ่มเติม 20215   คุกกี้และเค้ก  จำนวน 40 คน

ขั้นการปฏิบัติ (D: Do)
1. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
2. ออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดประเมินผล
                     3. การทดลองสอน
4. การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผล

ขั้นการตรวจสอบ และประเมินผลการเรียนรู้ ( C : Check )
ครูผู้สอนดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยการทำวิจัยในชั้นเรียน (Action
Research) โดยการหาผลการใช้วิธีการสอนแบบ Project Based Learning ในการสร้างทักษะงานอาชีพ ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ หาแนวทางปรับปรุงแก้ไข ถ้าผ่านเกณฑ์หาแนวทางพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 

ขั้นการรายงานผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนา (A: Action)
           1. จากการทดลอง หากผลปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างที่สอนวิธีการสอนแบบ Project Based Learning ในการสร้างทักษะงานอาชีพ ผู้เรียนสามารถสร้างผลงาน ผู้เรียนมีทักษะในงานอาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80  ผู้เรียนมีความสนใจในการทำงานและส่งงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ในระดับปานกลางขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สรุปได้ว่า การใช้วิธีการสอนแบบ Project Based Learning สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะงานอาชีพได้
2. นำผลการประเมินการจัดกิจกรรมมาทำเป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อทบทวนและหาทาง
ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
                     3. ปรับปรุงพัฒนา นวัตกรรมที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสรุปผลและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ผลการดำเนินงาน (ผลสำเร็จ ผลลัพธ์ หรือประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน)
           1.  ผู้เรียนสามารถสร้างผลงานที่เกิดจากระบวนการทำโครงงานคุกกี้และเค้กได้ครบทุกกลุ่มคิดเป็นร้อยละ 100  ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการในการทำงานที่สอดคล้องกับประเภทของการปฏิบัติงาน  ผ่านเกณฑ์การประเมิน ระดับ ปานกลางขึ้นไป 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100  ผู้เรียนมีความรู้ทักษะกระบวนการในการทำงาน การแสวงหาความรู้ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาและทักษะการจัดการ ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับ ปานกลางขึ้นไป 34 คน คิดเป็นร้อยละ 85  ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีลักษณะนิสัยการทำงานที่เสียสละ  มีคุณธรรม ตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและถูกต้อง รวมทั้งมีจิตสำนึกในการทำงาน และใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ระดับ พอใช้ขึ้นไป 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100
2.  ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคุกกี้และเค้ก ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
3ครูมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามมาตรฐาน
และพัฒนาตนเองสู่ครูมืออาชีพ
           4.  โรงเรียนมีความพร้อมในการฝึกวิชาชีพให้กับนักเรียน
ประโยชน์ที่ได้รับ
1 ประโยชน์ต่อผู้เรียน
1. นักเรียนได้ลงมือฝึกปฏิบัติการทำโครงงานคุกกี้และเค้กจนเกิดทักษะที่จำเป็นในงานอาชีพ
และเป็นแนวทางนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต
2 ประโยชน์ต่อครู
        1. ครูได้พัฒนาความรู้และทักษะการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
         2. ครูได้มีนวัตกรรมการสอนที่มีประสิทธิภาพ
 3 ประโยชน์ต่อสถานศึกษา
          1. โรงเรียนเป็นที่ยอมรับและศรัทธา ต่อผู้ปกครองและชุมชน
           2. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิชาชีพให้กับชุมชนมากขึ้น
4 ประโยชน์ต่อชุมชน
1. ชุมชนมีความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
2. ชุมชนมีความภาคภูมิใจ ศรัทธาต่อโรงเรียนและช่วยกันพัฒนาโรงเรียนเพิ่มขึ้น
3. ชุมชนสามารถเข้าร่วมกับโรงเรียนในการฝึกวิชาชีพให้กับนักเรียน

9. ปัจจัยแห่งความสําเร็จ
1. โรงเรียนมีนโยบายที่ชัดเจนในการปฏิรูปการเรียนรู้ มีความพร้อมในด้านอาคารสถานที่และสื่อ
2. วิธีการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
3. ผู้บริหาร คณะครู นักเรียน และผู้ปกครอง ให้การสนับสนุนในการทำงาน
4. ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ และสื่อต่าง ๆ

10. คำสำคัญ (Keyword)
การฝึกทักษะ/การปูกระเบื้องเซรามิค

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0