โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา

โรงเรียน : ขวาวใหญ่วิทยา สพม.สุรินทร์

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : วิทยาศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ : 3 ก.ย. 2561 โดย : Siriwan Pimthong จำนวนผู้เข้าชม 390 คน


       จากรายงานผลการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2560  ของโรงเรียนขวาวใหญ่วิทยา พบว่าผลการประเมินมาตรฐานที่ 3 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีระดับคุณภาพ 4 “ดีมาก”  ซึ่งประเด็นพิจารณาการจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น มีผลการประเมินมีระดับคุณภาพ 3 “ดี”  และมีข้อเสนอแนะให้มีการส่งเสริมให้ครูวิจัยในชั้นเรียนเชิงคุณภาพที่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพพัฒนาครูให้มีทักษะการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active  Learning) หลากหลายรูปแบบ โดยใช้กิจกรรม PLC ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการสอน และสนับสนุนให้ครูรับการอบรมหลักสูตรพัฒนาครูโดยเน้นพัฒนาความรู้ด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active  Learning) ที่และสามารถนำสู่การปฏิบัติจริงในชั้นเรียนอย่างเป็นรูปธรรม   

    โรงเรียนจึงดำเนินการพัฒนาการจัดการการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา  เพื่อส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education)  และพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกันเป็นทีม และการสื่อสาร สามารถสร้างชิ้นงาน  สร้างผลิตภัณฑ์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวันได้  โดยได้ดำเนินการตามวงจรคุณภาพ PDCA        

     ผลการดำเนินการ  พบว่า  
          - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ทุกระดับชั้น ปีการศึกษา  2560 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 2.34 สูงกว่าปีการศึกษา 2559 ซึ่งมีระดับผลการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 2.16  

           - ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ ตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น  ผลการประเมินพบว่า  ปีการศึกษา 2560  จำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดี ขึ้นไป  มีค่าร้อยละเท่ากับ  94.94   สูงกว่าปีการศึกษา 2559  ซึ่งจำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดี ขึ้นไป  มีค่าร้อยละเท่ากับ 94.32   
           - ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ผลการประเมินพบว่า  ปีการศึกษา 2560  จำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดี ขึ้นไป  มีค่าร้อยละเท่ากับ 92.41   สูงกว่าปีการศึกษา 2559  ซึ่งจำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับ 3 ขึ้นไป  มีค่าร้อยละ92.05  
           
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ผลการประเมินพบว่า  ปีการศึกษา 2560  จำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดี ขึ้นไป  มีค่าร้อยละเท่ากับ  91.14    สูงกว่าปีการศึกษา 2559  ซึ่งจำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดี ขึ้นไป  มีค่าร้อยละ  90.91

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0