โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

นวัตกรรม : การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเปิด (Open Approach)

โรงเรียน : ปทุมเทพวิทยาคาร สพม.หนองคาย

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : สังคมศึกษา

เผยแพร่เมื่อ : 4 ก.ค. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 1943 คน


นวัตกรรมด้านการจัดการเรียนการสอน
ชื่อผลงาน        นวัตกรรม : การศึกษาชั้นเรียน  (Lesson  Study)  เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
                   และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเปิด  (Open Approach)
โดย               นายสิริวิวัฒน์  โชติกุลศิริปัญญา   
โรงเรียน         
ปทุมเทพวิทยาคาร  อำเภอเมือง  จังหวัดหนองคาย  สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
                   มัธยมศึกษาเขต  21 โทรศัพท์ 042-411203 , 0881095576  โทรสาร 042-412485
                   E-mail :
school-ptk@hotmail.com     
ผู้บริหาร         
ดร.ชัยรัตน์  หลายวัชระกุล  ผู้อำนวยการโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร 
1. ความสำคัญและความเป็นมา  
                   
จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มในอนาคต สะท้อนให้เห็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งการเปลี่ยนแปลง  จำเป็นต้องเตรียมคนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งในระดับโลกและภูมิภาค เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยให้ได้มาตรฐานสากล และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย ให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในเรื่องการศึกษา ทักษะการทำงาน และการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญในการดำรงชีวิตและปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพราะเป็นกระบวนการที่จะเสริมสร้าง และเปลี่ยนแปลงบุคลากรในด้านต่างๆ เช่น ทางด้านความสามารถ ทักษะ ทัศนคติ รวมทั้งวิธีการทำงาน อันจะนำไปสู่ประสิทธิภาพของความเข้มแข็งในการทำงาน การศึกษา (education)
จากความสำคัญที่กล่าวมาทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะนำกระบวนการศึกษาชั้นเรียน (
Lesson study) และรูปแบบการสอนแบบเปิด (Open Approach) มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมุ่งให้นักเรียนฝึกการใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ มีทักษะในการหาความรู้ และความสามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การคิดจะปลูกฝังนักเรียนให้วิธีการคิดซึ่งนำไปสู่ความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ผู้ศึกษาจึงได้แนวคิดที่จะศึกษา นวัตกรรม : การศึกษาชั้นเรียน  (Lesson  Study)  เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเปิด  (Open Approach) รายวิชา ส 31102ประวัติศาสตร์  โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเปิด (Open Approach) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร  
 2. วัตถุประสงค์
         
1.  พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชา  ส 31102 ประวัติศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเปิด (Open Approach) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร     
         
2.  พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ส 31102 ประวัติศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเปิด (Open Approach) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร
3. หลักการและแนวคิด
           
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ส 31102 ประวัติศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเปิด  (Open Approach) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร  ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  ซึ่งผู้ศึกษาได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการชั้นเรียน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
  1.  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธสักราช 2551
  2.  ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง 2551 สาระประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
  3.  แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach)
  4.  แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการทักษะการคิดวิเคราะห์
  5.  แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการศึกษาชั้นเรียน (Lesson study)
  6.  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4. ขั้นตอนการดำเนินงาน (วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ)
            แสดงโครงสร้างการศึกษาโดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson study)

 
  1. ขั้นวางแผนการสอนร่วมกัน(Planning )
3) การอภิปรายผลสะท้อนผลบทบาทร่วมกัน (Discussing And Reflecting)
2) ขั้นนำไปใช้และการสังเกตการณ์สอนร่วมกัน (Implementing And Observing) 
ครูจะต้องวิเคราะห์ เป้าหมายในการเรียนรู้ของผู้เรียน จากนั้นจึงวางแผนการจัดการเรียนรู้และสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ร่วมกันกับเพื่อนครูเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้  โดยการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จัดทำผังมโนทัศน์ คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด
 
นำแผนที่สร้างขึ้นไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีเพื่อนครูทำหน้าที่สังเกตและบันทึกการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จากนั้นจึงสะท้อนและอภิปรายการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน
ชั่วโมงที่ 1
สังเกตด้วยเครื่องมือ
แบบบันทึกการสังเกตชั้นเรียน
ผู้สะท้อนผล
คณะผู้สังเกต อภิปราย วิเคราะห์ เพื่อเป็นการปรับปรุงและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยการสะท้อนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนวิธีการแบบเปิด การจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อการเรียนรู้ ปัญหา  และอุปสรรคที่พบ



























 
ไปปรับประยุกต์และพัฒนาในแผนการจัดการเรียนรู้ในชั่วโมงต่อไป และทำในลักษณะเดียวกันตามขั้นตอนที่ 1- 3 เป็นวงจร จนกระทั่งสิ้นสุดชั่วโมงในการทดลองวิจัย จำนวน 9 ชั่วโมง
 
           
5. ผลการดำเนินงาน
            ผลการดำเนินงาน โดยใช้ “นวัตกรรม : การศึกษาชั้นเรียน  (Lesson  Study)  เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเปิด  (Open Approach) รายวิชา ส 31102 ประวัติศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร” ทำให้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นที่ยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชน
ผลการสะท้อนการจัดการเรียนรู้  (ตัวอย่าง)

                              ผลการสะท้อนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อารยธรรมอียิปต์

 
หัวข้อ รายละเอียด
ขั้นที่ 1  ขั้นนำเสนอปัญหาปลายเปิด
 
คลิปวีดีโอ ความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมอียิปต์ กระตุ้นความคิดนักเรียนได้ดี นักเรียนสามารถตอบได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ในคลิปวีดีโอ คือ ผลงานมหาพีระมิด
ขั้นที่ 2  ขั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน
 
คลิปวีดีโอ เรื่อง โลกหลังแห่งความตาย เชื่อมโยงจากคลิปวีดีโอความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมอียิปต์ ทำให้นักเรียนเข้าใจความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมอียิปต์
ขั้นที่ 3  ขั้นการอภิปรายร่วมกันทั้งชั้นเรียนและเปรียบเทียบ ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายแนวคิดของแต่ละกลุ่มที่ได้นำเสนอผลงาน ถึงแนวคิดที่เหมือนและแตกต่าง
ขั้นที่ 4  ขั้นการสรุปโดยการเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ครูร่วมสรุปแนวคิดกับนักเรียนและอธิบายเพิ่มเติมแนวคิดของผู้เรียนให้สมบูรณ์

ผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
           
หลังจากที่ผู้ศึกษาดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จนครบทั้ง 9 แผนการจัดการเรียนรู้ ผู้ศึกษาได้ให้นักเรียนทำแบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อประเมินผลการศึกษาว่านักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับใด โดยใช้เกณฑ์การผ่านที่กำหนดไว้ คือ นักเรียนร้อยละ 70 มีทักษะการคิดวิเคราะห์ร้อยละ 70 ขึ้นไป ผลการวิเคราะห์คะแนนแบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ผลปรากฏดังตารางต่อไปนี้


 
จำนวนนักเรียนทั้งหมด นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ นักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ทักษะการคิดวิเคราะห์                  (20 คะแนน)
คน ร้อยละ คน ร้อยละ คะแนนรวม ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
30 21 70 9 30 420 14 70
            จากตารางผลการทดสอบแบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ พบว่า นักเรียนจำนวนทั้งหมด 30 คน นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดมีจำนวน 21 คนคิดเป็นร้อยละ 70 นักเรียนได้คะแนนทดสอบรวม 420 คะแนน คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 70 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือนักเรียนร้อยละ 70 มีทักษะการคิดวิเคราะห์ร้อยละ 70 ขึ้นไป 
ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                              หลังจากที่ผู้ศึกษาดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จนครบทั้ง 9 แผนการจัดการเรียนรู้ ผู้ศึกษาได้ให้นักเรียนทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อประเมินผลการศึกษาว่านักเรียนมีพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับใด โดยใช้เกณฑ์การผ่านที่กำหนดไว้ คือ นักเรียนร้อยละ 70 มีทักษะการคิดวิเคราะห์ร้อยละ 70 ขึ้นไป ผลการวิเคราะห์คะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ผลปรากฏดังตารางต่อไปนี้      
ผลการทดสอบแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

 
จำนวนนักเรียนทั้งหมด นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ นักเรียนที่                      ไม่ผ่านเกณฑ์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน                    (20 คะแนน)
คน ร้อยละ คน ร้อยละ คะแนนรวม ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
30 22 70.33 8 26.67 420 14 70

จากตาราง ผลการทดสอบแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนจำนวนทั้งหมด 30 คน มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 22 คน คิดเป็นร้อยละ 70.33 นักเรียนได้คะแนนทดสอบรวม 420 คะแนน คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 70 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือนักเรียนร้อยละ 70 มีทักษะการคิดวิเคราะห์ร้อยละ 70 ขึ้นไป      
6. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
            1. นักเรียนมีพื้นฐานมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน
            2. เด็กได้ทำ
กิจกรรมที่หลากหลาย มีสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตของนักเรียน การเปิดความคิดโดยการตอบประเด็นคำถามที่หลากหลายเป็นเหตุเป็นผล
           
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นหลังจากการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach)

  4. ครูเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความตั้งใจ มีการเสียสละ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
  5. โรงเรียนมีงบประมาณให้การสนับสนุน ในด้านการพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
  6. ผู้บริหารเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ให้การสนับสนุนในการทำงาน
  7. ผู้ปกครองให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการจัดกิจกรรมการพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
7. ประโยชน์ที่ได้รับ    
            การพัฒนา “นวัตกรรม : การศึกษาชั้นเรียน  (Lesson  Study)  เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเปิด  (Open Approach) รายวิชา ส 31102 ประวัติศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร ในด้านการจัดการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จากการทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบเปิด (Open Approach) เป็นการจัดการเรียนที่ทำให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นกิจกรรมที่ฝึกพัฒนาการคิดอย่างสม่ำเสมอ เนื่องมาจากนักเรียนทุกคนได้ฝึกปฏิบัติทักษะการคิดด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ ผู้สอนใช้สถานการณ์เป็น 3 ระยะร่วมกับประเด็นคำถามเพื่อเป็นการเปิดความคิด และกระตุ้นให้เกิดทักษะการคิดโดยฝึกให้นักเรียนคุ้นเคยกับคำถาม แนวทางการตอบคำถามโดยใช้ข่าว สถานการณ์ บทความ เกมตลอดจนวีดีทัศน์ กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเปิด (Open Approach) ส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ ด้วยการปฏิบัติในกิจกรรมจากการลงมือทำด้วยตัวเอง ซึ่งเกิดจากความสนใจและความต้องการที่จะค้นหาคำตอบ  อีกทั้งกระบวนการ Lesson study ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาที่เป็นระบบ  ช่วยทำให้การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเปิด มีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีการร่วมสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ระหว่างผู้ศึกษา ครูประจำวิชา ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  และผู้เชี่ยวชาญมีการสังเกตชั้นเรียน  และสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ทราบถึงจุดเด่นและลดจุดด้อยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในคาบต่อไป        อีกทั้งนักเรียนมีความเป็นเลิศทางด้านการคิดวิเคราะห์ ได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีความ สามารถทางการคิดสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)  วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ามาตรฐานของประเทศทุกๆ ปี 




 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0