โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

Remember me

โรงเรียน : พันท้ายนรสิงห์วิทยา สพม.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : ภาษาต่างประเทศ

เผยแพร่เมื่อ : 8 ส.ค. 2559 โดย : นิศามน  อินทรจ้อย จำนวนผู้เข้าชม 594 คน


  1. ชื่อผลงาน Best Practice  :  Remember me !
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  1. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา Best Practice
    1. ชื่อผู้พัฒนา Best Practice  นางสาวจุฑามาศ  โถรัตน์
    2. โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา
    3. โทรศัพท์ 087-937-6182  e-mail : nampunsung@gmail.com
  2. วัตถุประสงค์ของการพัฒนา Best Practice
    1. เพื่อพัฒนาด้านทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษ
    2. เพื่อสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนภาษาอังกฤษ
  3. ระยะเวลาในการพัฒนา Best Practice
ระยะเวลาที่เริ่มการพัฒนา วันที่ 4-29 กรกฎาคม 2559 โดยจัดการเรียนการสอนสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ รวม 8 ชั่วโมง
  1. ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง BP กับเป้าหมายของ สพฐ. และสถานศึกษา
  การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่สำคัญต่อคนไทย เป็นบันไดที่จะพาก้าวขึ้นไปสู่ความสำเร็จและความก้าวหน้าได้ในชีวิต ดังนั้นจึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนานักเรียนทุกคนให้มีทักษะทางภาษา การศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้จัดภาษาอังกฤษให้อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ซึ่งนักเรียนทุกคนต้องเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงได้กำหนดคุณภาพผู้เรียน ให้ผู้เรียนใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารได้อย่างถูกต้อง จึงจำเป็นต้องมีการฝึกฝน โดยผ่านวิธีการต่างๆ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบันมีวิธีการและนวัตกรรมที่หลากหลาย ที่เน้นทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนตามระดับชั้นของผู้เรียน ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านทักษะกระบวนการ รวมทั้งวิธีการเรียนรู้ทางภาษาที่หลากหลาย เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน และความสนใจของผู้เรียน เพราะหากว่าครูผู้สอนยังคงสอนแบบวิธีการเดิมๆ  ก็อาจทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย อีกทั้งนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นวัยที่เบื่ออะไรที่ซ้ำๆเดิมๆ หากครูผู้สอนยังคงใช้วิธีการที่เขาเคยผ่านมา ก็จะทำให้เขาไม่สนใจการเรียน และไม่ให้ความสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษ ส่งผลให้นักเรียนได้รับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ดีเท่าที่ควร
การเรียนการสอนโดยใช้เกมฝึกทักษะการจดจำคำศัพท์ และประโยค พร้อมทั้งเปิดเพลงในระหว่างการทำกิจกรรมถือเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนหนึ่งที่ช่วยสร้างบรรยากาศ กระตุ้นการเรียนรู้ในชั้นเรียน ทำให้สนุกสนาน ผ่อนคลายมากกว่าการเรียนแบบปกติ ผู้เรียนสามารถอ่านประโยคภาษาอังกฤษและจดจำประโยค รวมถึงจดจำคำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้เป็นอย่างดี ซึ่งสอดคล้องกับจุดประสงค์ของสถานศึกษาที่เน้นให้นักเรียนมีทักษะในการใช้ทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียน
  1. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนา BP
ทฤษฎีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP คือ
1. ทฤษฎีการสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language) ของ Freeman (1992) เน้นกระบวนการฟัง และกระบวนการพูดโดยเป็นการให้ผู้เรียนเกิดความคุ้นเคยกับการฟังและตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ฟังนั้น เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการฟัง พูดได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างแรงจูงใจและความสนใจในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน (Bergeron, 1990)
2. แนวคิดที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้บทเพลงประกอบ เป็นแรงจูงใจและพัฒนาการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ซึ่งการร้องเพลงช่วยให้เกิดความสนุกและผ่อนคลาย นอกจากนี้เพลงยังช่วยให้เกิดบรรยากาศที่ไม่กดดันสาหรับผู้เรียนที่มักจะเกิดความเครียดเมื่อต้องพูดภาษาอังกฤษในชั้นเรียน (Reeve & Williamson, 1987,Giudice, 1986)
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ
ความพึงพอใจเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อความสำเร็จของงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นผลเนื่องมาจากการได้รับการตอบสนองต่อแรงจูงใจหรือความต้องการของแต่ละบุคคลในแนวทางที่เขาประสงค์ ความพึงพอใจ คือ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับด้านอารมณ์ความรู้สึก และทัศนคติของบุคคลเนื่องจากสิ่งเร้าและแรงจูงใจ ซึ่งแสดงออกมาทางด้านพฤติกรรม และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการทากิจกรรมต่างๆของบุคลากร และบุคคลจะเกิดความพึงพอใจจะต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างมากระตุ้นให้เกิดความรักหรือมีเจตคติที่ดีต่อสิ่งนั้นๆ บุคคลจะเกิดความพึงพอใจนั้นจะต้องมีการจูงใจให้เกิดขึ้น
7. กระบวนการพัฒนา BP
7.1 กลุ่มเป้าหมายในการนำ BP ไปใช้ (Plan)
- ในการจัดการเรียนการสอนครั้งนี้ มีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6        โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา จำนวน 18 คน ผู้สอนได้ศึกษาแนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่สนับสนุนการเรียนการสอน และการสอบถามข้อมูลความสนใจของผู้เรียน
- วิเคราะห์เนื้อหา และประโยคที่เหมาะกับระดับชั้นของผู้เรียน
- ผู้สอนจัดทำประโยคภาษาอังกฤษ รวมทั้งหมด 6 ชุดประโยค (ชุดละ 20 ประโยค) ที่ไม่ซ้ำกัน และมีตัวอักษรที่ไม่ใหญ่จนเกินไป และแต่ละชุดประโยคจะมีความเหมือนกันในเรื่องของโครงสร้างหรือ ประเด็นที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองในระหว่างที่ทำกิจกรรม
7.2 ขั้นตอนการพัฒนา BP (Do)
- ผู้สอน ให้ผู้เรียนจับกลุ่มๆละ 3 คน จะได้ 6 กลุ่ม
- ผู้สอนจัดโต๊ะให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มอยู่ห่างกัน และอยู่ห่างจากกระดาน 10 ก้าว ดังภาพ
กระดานดำหน้าห้อง
ชุดประโยค 6 ชุด
โต๊ะนักเรียน
หลังห้อง
 
  กล่องข้อความ: กระดานดำหน้าห้องกล่องข้อความ: โต๊ะนักเรียนกล่องข้อความ: หลังห้อง








- ครูผู้สอนติดประโยคบนกระดานหน้าห้อง ทั้งหมด 6 ชุด
- ผู้สอนแจกกระดาษให้กลุ่มละ 3 แผ่น และแต่ละแผ่นให้เขียนชื่อสมาชิกในกลุ่ม และลำดับชุดประโยค (โดยที่นักเรียน 1 กลุ่มจะได้จดจำ 3 ชุดประโยค )
- โดยมีขั้นตอนและวิธีการดังนี้
          1. ให้นักเรียนเลือกสมาชิกในกลุ่ม 1 คน เป็นคนนั่งที่โต๊ะ และเป็นผู้เขียนประโยคภาษาอังกฤษ
          2. สมาชิกในกลุ่มอีก 2 คน จะเป็นคนวิ่งไปอ่านประโยคภาษาอังกฤษบนกระดาน และกลับมาที่โต๊ะเพื่อบอกประโยคที่ได้ให้กับเพื่อนเขียนลงกระดาษ (วิ่งทีละคน)
          3. ครูจับเวลา รอบละ 3 นาที โดยในระหว่างที่ทำกิจกรรม ครูผู้สอนก็เปิดเพลงสนุกๆให้ผู้เรียนรู้สึกผ่อนคลายและสนุกสนานในการทำกิจกรรม
          4. เมื่อครบ 3 นาที ครูผู้สอนตรวจสอบความถูกต้องและบอกคะแนนรอบแรก
          5. ให้แต่ละกลุ่มเปลี่ยนชุดประโยคและเปลี่ยนคนนั่งเขียนประโยค รวมทั้งเปลี่ยนตำแหน่งที่นั่งกับกลุ่มเพื่อน และทำแบบเดียวกันในรอบที่ 2 แต่ให้เวลาเพียง 2 นาที
          6. เมื่อครบ 2 นาที ให้สมาชิกกลุ่มข้างๆ เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของประโยคของเพื่อนและประกาศคะแนน
          7. ให้แต่ละกลุ่มเปลี่ยนชุดประโยคและเปลี่ยนคนนั่งเขียนประโยค รวมทั้งเปลี่ยนตำแหน่งที่นั่งกับกลุ่มเพื่อน และทำแบบเดียวกันในรอบที่ 3 แต่ให้เวลาเพียง 1 นาที
8. เมื่อครบ 1 นาที ให้สมาชิก 1 คน ของกลุ่ม เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของประโยคของกลุ่มตนเอง และประกาศคะแนน
7.3 การตรวจสอบคุณภาพ BP(Check)
วิธีการตรวจสอบคุณภาพ BP ใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้
- แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
- แบบประเมินความพึงพอใจ
และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ปรับปรุงเพื่อดูคุณภาพของ BP
7.4 แนวทางการนำ BP ไปใช้ประโยชน์ (Action)
ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์จากการเรียนรู้วิธีการจดจำประโยค ที่เรียนไปแล้ว นำไปใช้ในการวิเคราะห์ประโยคเข้ากับกฎไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ หรือเรื่องอื่นๆได้ตามความสนใจของผู้เรียน
     8. ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา BP
8.1 ผลสำเร็จเชิงปริมาณ
นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 สามารถฟัง พูด อ่านและเขียนประโยคภาษาอังกฤษได้
8.2 ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ
นักเรียนกลุ่มเป้าหมายสามารถอ่านประโยคได้เพิ่มมากขึ้น
8.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ BP
นักเรียนร้อยละ 96 มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และเสนอแนะให้เพิ่มแรงเสริมบวก(ของรางวัล)โดยอ้างอิงจากความชื่นชอบของนักเรียนด้วย


 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0