โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้โครงการฝึกทักษะ การฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทยเพื่อการแข่งขัน

โรงเรียน : นางรอง สพม.บุรีรัมย์

ระดับ : ระดับจังหวัด

กลุ่มสาระฯ : ภาษาไทย

เผยแพร่เมื่อ : 20 มิ.ย. 2561 โดย : สมพิศ ทวีลาภ จำนวนผู้เข้าชม 1228 คน


1.  ความเป็นมาและความสำคัญของนวัตกรรม
          ปัจจุบันในประเทศและสังคมโลกมีการพัฒนาก้าวไกล ไม่ว่าจะเป็นด้านความเจริญทางเทคโนโลยี การคมนาคม หรือการขนส่งต่างๆนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมมนุษย์ได้ แม้กระทั่งการศึกษาในยุคปัจจุบันก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยอยู่ตลอดเวลาตามวิถีทางสังคมมนุษย์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไร้ขีดจำกัด การสอนภาษาไทยนั้น ไม่ว่าสังคมโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางอย่างไรก็ตาม กระบวนการในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยก็ยังคงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่จำเป็นในด้านของการสื่อสาร การฟัง พูด อ่าน เขียน ให้มีประสิทธิภาพ โดยทั้งหมดจะต้องให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจหลักภาษาและวรรณคดีไทยอย่างเห็นคุณค่า ในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม โดยครูผู้สอนจำเป็นที่จะต้องหาเทคนิควิธีเพื่อจะให้นักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชามากยิ่งขึ้น
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ทักษะด้านวิชาการ และ ทักษะด้านความสามารถเฉพาะตัว ด้านวิชาการ นักเรียนทุกคนควรที่จะต้องสามารถอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณได้ มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีความสามารถด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงมีความรู้เกี่ยวกับการเงินการธนาคาร ด้านความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการแข่งขันกับผู้อื่น ดังนั้นนักเรียนควรจะต้องมีกระบวนการคิดที่เป็นระบบ (Logical Thinking) ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน นอกจากนั้นแล้ว ความคิดสร้างสรรค์ในนักเรียนก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญเนื่องจากจะเป็นส่วนช่วยให้สามารถต่อยอดความรู้ที่ได้เรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในตัวนักเรียนอีกด้วย  สิ่งเหล่านี้จะหล่อหลอมให้นักเรียนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและมีศักยภาพในอนาคตต่อไป
โครงการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทยเพื่อการแข่งขัน เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะโดยหมั่นฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้นักเรียนมีความเป็นเลิศด้านวิชาการ  โดยส่งนักเรียนเข้าประกวดในโครงการแข่งขัน ในระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในเชิงวิชาการและในการดำรงชีวิต ซึ่งเกิดจากการแข่งขันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน 


2. วัตถุประสงค์
1.  เพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีทักษะทางการฟัง พูด อ่าน เขียนเข้าประกวดในหน่วยงานต่าง ๆ
2.  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความสามารถได้มีโอกาสแสดงความสามารถและสร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนและวงศ์ตระกูล
3.  เพื่อส่งเสริมให้ครูและนักเรียนมีการค้นคว้าหาความรู้ด้านวิชาการอยู่เสมอ

3. เป้าหมาย
เชิงปริมาณ

  1. นักเรียนโรงเรียนนางรอง มีทักษะในศตวรรษที่  21 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100
  2. นักเรียนโรงเรียนนางได้รับรางวัลจากการแข่งขันทักษะทางวิชาการ ระดับดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ ระดับรางวัลเหรียญทองแดงขึ้นไป ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 0.3
  3. นักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และบุคคลทั่วไป มีความพึงพอใจในโครงการแข่งขันทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทย โรงเรียนนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในระดับมากขึ้นไปร้อยละ 80

เชิงคุณภาพ

  1. นักเรียนโรงเรียนนางรองที่ได้รับการส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่  21 ในระดับ ดีมาก
  2. นักเรียนโรงเรียนนางรองมีทักษะในศตวรรษที่  21 เกิดทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดสู่อาชีพของตนเองในอนาคตได้อย่างดี
  3. ครูผู้สอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้พัฒนาตนเองให้เกิดทักษะที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่การเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 จาก STEM  สู่ STEAM ได้ดี


4.  ขั้นตอนการดำเนินงาน
         
          กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโรงเรียนนางรอง ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้โครงการฝึกทักษะ  การฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทยเพื่อการแข่งขัน ดังนี้
4.1 การวางแผน (PLAN-P) ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน  ครูกลุ่มสารการเรียนรู้ภาษาไทย ระดมสมองคิดร่วมกันสิ่งที่เป็นปัญหาหรือความต้องการจะส่งเสริมและเลือกแนวทางการส่งเสริมทักษะ  การฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทยเพื่อการแข่งขันจากครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยให้คิดทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงปัจจัยเอื้อของ โรงเรียนบริบทของ โรงเรียนต้นทุนทรัพยากรบุคคลต้นทุนความเป็นเลิศของโรงเรียนความเป็นไปได้ของผลสำเร็จเพิ่มการฝึกปฏิบัติฝึกทักษะที่ต้องการในศตวรรษที่ 21 คำนึงถึงผลทักษะที่เกิดขึ้นกับนักเรียน






4.2  การดำเนินงานตามแผน (DO-D)
                2.2.1 คัดเลือกนักเรียน ประสานความร่วมมือกับคุณครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
                2.2.2 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย(คุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียนในศตวรรษที่ 21)
                2.2.3 สร้าง ทดลองใช้และปรับปรุงสื่อ  สร้างและจัดทำตารางปฏิบัติการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ศึกษานโยบาย แนวคิดที่เกี่ยวข้อง หลักการ ความรู้ ทฤษฎีที่สัมพันธ์กัน คัดเลือกความสำเร็จจากผลงานที่เป็นเลิศการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้โครงการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทยเพื่อการแข่งขัน
               2.2.4 เขียนแผน  QSCCS
               2.2.5 นำไปใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย
          4.3  การตรวจสอบ (CHECK-C) ประเมินผล
          4.4  การปรับปรุงแก้ไข (ACTION-A)
                4.4.1 พัฒนาสื่อไม่ผ่าน  ต้องฝึกทักษะหลาย ๆครั้ง  จนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามที่กำหนดไว้ตรวจสอบนวัตกรรม KPA  ผ่าน  ได้รับรางวัลในแต่ละหน่วยงานที่เข้าร่วมแข่งขัน
                4.4.2 สรุป ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่นำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติครูนำผลงานเผยแพร่สู่ผู้คนทั่วไปในโลกออนไลน์ Social หรือ QR code


Flow Chart Best practice
กระบวนการพัฒนา Best practice
 

ครูระดมสมองคิดร่วมกัน สิ่งที่เป็นปัญหาหรือความต้องการจะส่งเสริม

 
ปัจจัยเอื้อของ โรงเรียน
บริบทของ โรงเรียน
ต้นทุนทรัพยากรบุคคล
ต้นทุนความเป็นเลิศของโรงเรียน
ความเป็นไปได้ของผลสำเร็จ

 


 

 

เพิ่มการฝึกปฏิบัติ
ฝึกทักษะที่ต้องการในศตวรรษที่ 21
คำนึงถึงผลทักษะที่เกิดขึ้นกับนักเรียน

 

                                                                                                       

เลือกแนวทางการส่งเสริมจากครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยให้คิดทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
ศึกษานโยบาย แนวคิดที่เกี่ยวข้อง หลักการ ความรู้ ทฤษฎีที่สัมพันธ์กัน
 
สร้างและจัดทำตารางปฏิบัติการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน
 
คัดเลือกความสำเร็จจากผลงานที่เป็นเลิศ
การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้โครงการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทยเพื่อการแข่งขัน
 
ตรวจสอบนวัตกรรม KPA
ผ่าน  ได้รับรางวัลในแต่ละหน่วยงานที่เข้าร่วมแข่งขัน

 
ไม่ผ่าน  ต้องฝึกทักษะหลาย ๆครั้ง  จนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามที่กำหนดไว้
 
ครูนำผลงานเผยแพร่
สู่ผู้คนทั่วไปในโลกออนไลน์
Social หรือ QR code

 
นำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติครูนำผลงานเผยแพร่สู่ผู้คนทั่วไปในโลกออนไลน์ Social หรือ QR code

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโรงเรียนนางรอง ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้โครงการฝึกทักษะ  การฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทยเพื่อการแข่งขันได้ผลดังนี้

ผลการดำเนินการ

เชิงปริมาณ
1. นักเรียนโรงเรียนนางรอง มีทักษะในศตวรรษที่  21 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100
2.  นักเรียนโรงเรียนนางได้รับรางวัลจากการแข่งขันทักษะทางวิชาการ ระดับดับจังหวัด ระดับภาค
และระดับประเทศ ระดับรางวัลเหรียญทองแดงขึ้นไป ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 0.3
3.  นักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และบุคคลทั่วไป มีความพึงพอใจในโครงการแข่งขันทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทย โรงเรียนนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในระดับมากขึ้นไปร้อยละ 80
เชิงคุณภาพ
1. นักเรียนโรงเรียนนางรองที่ได้รับการส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่  21 ในระดับ ดีมาก
2. นักเรียนโรงเรียนนางรองมีทักษะในศตวรรษที่  21 เกิดทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดสู่อาชีพของตนเองในอนาคตได้อย่างดี
3. ครูผู้สอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้พัฒนาตนเองให้เกิดทักษะที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่การเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 จาก STEM  สู่ STEAM ได้ดี

บทเรียนที่ได้รับ

จากการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่  21 โดยใช้โครงการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทยเพื่อการแข่งขัน  พบว่า
นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการเข้าแข่งขัน การจัดกิจกรรมที่ผสมผสานกันระหว่างภาคทฤษฎีและปฏิบัติให้นักเรียนได้เรียนรู้จากของจริงและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองนี้จะช่วยให้นักเรียนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับความมุ่งเน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ให้นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาและความเชี่ยวชาญ สร้างความเข้าใจระหว่างวิชาหลัก ที่เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน การของมีส่วนร่วมของนักเรียนกับ ข้อมูลและ เครื่องมือในโลกแห่งความเป็นจริงของชีวิตนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อทำงานอย่างแข็งขัน การแก้ปัญหาที่มีความหมาย ดังนั้นควรส่งเสริมให้มีการเผยแพร่และนำไปปรับใช้กับโรงเรียนอื่นๆ ที่มีความต้องการพัฒนานักเรียนดังกล่าวบนพื้นฐานของบริบทโรงเรียนโดยองค์รวมใกล้เคียงกัน


ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
         
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่  21 โดยใช้โครงการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทยเพื่อการแข่งขัน คือ บุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจโครงการและทักษะของคนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การสื่อสารที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้นๆ ที่จะกำหนดความสำเร็จของโครงการ รวมทั้งการสร้างขวัญกำลังใจ การสนับสนุนงบประมาณก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้โครงการมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น


รางวัลที่ได้รับ

รางวัลที่ได้รับจากการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่  21 โดยใช้โครงการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทยเพื่อการแข่งขัน มีดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  1.  นางสาวสุนิษา  ปรางค์ประโคน  ได้รับรางวัล  เหรียญทอง  การแข่งขันคัดลายมือสื่อภาษาไทย  ม.ปลาย ระดับประทศ เนื่องใน งานมหกรรมศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67 

ครูผู้ฝึก คือ นางสมจิต  จันทรวงศ์

  1. นางสาวสุภีนา  มีทองได้รับรางวัล  ชนะเลิศ  เหรียญทอง  การแข่งขันการท่องอาขยาน                 ทำนองเสนาะ ม.ปลาย ระดับ ภาค  เนื่องใน งานมหกรรมศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67 

ครูผู้ฝึก คือ นางสิรินาท  สุขหนองบึง

  1. นายวรโชติ  ต๊ะนา  นางสาวธนภรณ์  ปุ่นประโคน  ได้รับรางวัล  เหรียญทอง  การแข่งขัน                    กวีเยาวชนคนรุ่นใหม่ อินทรวิเชียรฉันท์ 11   ม.ปลาย ระดับประทศ เนื่องใน งานมหกรรมศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67  ครูผู้ฝึก คือ นางกิตติยา  ผาดำ
  2. นางสาวธิติสุดา  อรชุน  นางสาวธัญญารัตน์  เหมือยไธสง นายเดชาพล  แสนรัมย์  ได้รับรางวัลเหรียญทอง  การแข่งขันปริศนาสร้างสรรค์วรรณคดีไทย ม. ปลาย ระดับภาค  เนื่องใน                       งานมหกรรมศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67  ครูผู้ฝึก คือ นางสาวจินตนา  ตันนอก
  3. นางสาวเพียงชีวัน ชนะสงคราม  ได้รับรางวัล เหรียญเงิน การแข่งขัน การอ่านเอาเรื่องตามแนว PISA ม.ปลาย ระดับภาค  เนื่องใน งานมหกรรมศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67  ครูผู้ฝึก คือ                         นางสาวดวงพร  พันธ์พิทักษ์  นางสาวปวีณา  ด่านกระโทก
  4. นางสาวนันท์นภัส  พังพงษ์ประพันธ์  นางสาวจริญญา  สมานชาติ  นางสาวกมลภัทร  ป้อมไธสง  ได้รับรางวัล เหรียญทองแดง การแข่งขัน การประกวดหนังสือเล่มเล็ก ม.ปลาย ระดับภาค  เนื่องใน งานมหกรรมศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67  ครูผู้ฝึก คือ นางสาวชลิดา  วรรณโพธิ์กลาง
  5. นางสาวฑีฆายุก์พรรณ  สะอาด ได้รับรางวัล เหรียญเงิน การแข่งขัน การต่อคำศัพท์ ระดับภาค  เนื่องใน งานมหกรรมศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67  ครูผู้ฝึก คือ นางสุภาพร  ทองคำ

 

  1. เด็กหญิงนิสิตา  สามารถ  ได้รับรางวัล เหรียญทองแดง การแข่งขัน การคัดลายมือ ม.ต้น ระดับภาค  เนื่องใน งานมหกรรมศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67  ครูผู้ฝึก คือ

นางปรียนันท์  ศรีคำภา

  1. เด็กหญิงธารารัตน์  ตึกสันโดษ  เด็กหญิงปิยธิดา  คุ้มบุตร  ได้รับรางวัล เหรียญทองแดง การแข่งขันต่อคำศัพท์ภาษาไทย ม.ต้น ระดับภาค  เนื่องใน งานมหกรรมศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67  ครูผู้ฝึก คือ นางนิภาภรณ์  พันลัดดา
  2. เด็กชายสิทธิศักดิ์  ทองแย้ม เด็กหญิงสุกฤตา  สมัยกุล  ได้รับรางวัล เหรียญทองแดง การแข่งขัน กวีเยาชนคนรุ่นใหม่ กาพย์ยานี (11 8 บท) ม.ต้น ระดับภาค  เนื่องใน งานมหกรรมศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67  ครูผู้ฝึก คือ นางสุภาพชน  ขันทอัต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0