โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โรงเรียนปลอดขยะ

โรงเรียน : ประชานิมิตพิทยานุกูล สพม.บึงกาฬ

ระดับ : ระดับสหวิทยาเขต

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 30 พ.ย. 542 โดย : ๋Jakrachai Khunsombut จำนวนผู้เข้าชม 513 คน


ชื่อโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนประชานิมิตพิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 21
๑. หลักการและเหตุผล
          ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้นทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากขยะ ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของชุมชนที่
ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน อาทิ เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุง ฯลฯ เป็นแหล่งแพร่กระจ่ายเชื้อโรค มีกลิ่นเหม็น ก่อให้เกิดความรำคาญ ทำลายสุนทรียภาพด้านสิ่งแวดล้อม เกิดสภาพไม่น่าดู สกปรกน่ารังเกียจ ขยะทำให้น้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก เกิดกลิ่นรบกวน เป็นแหล่งสะสม เชื้อโรค ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
          พระราชบัญญัติการสาธารณสุข ให้ความหมายว่า ขยะมูลฝอย คือ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร
เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร มูลสัตว์ เถ้าหรือซากสัตว์ รวมถึงสิ่งอื่นสิ่งใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น ๆ
          องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ให้ความหมายแก่ขยะมูลฝอยไว้ว่า คือ
สิ่งของจากบ้านเรือนที่ประชาชนไม่ต้องการแล้ว มีผู้นำไปใช้ประโยชน์จนสุดท้ายไม่มีผู้นำไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว และถูกทิ้งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปกำจัด จัดเก็บ และขนส่ง นั่นหมายความว่า สิ่งของที่เราทิ้งจากที่บ้าน ถ้ายังมีคนนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ สิ่งนั้นก็จะยังไม่ใช่ขยะ จากความหมายดังกล่าวได้รับการตอกย้ำด้วยแนวคิดที่เห็นคุณค่าจากขยะ ดังเช่น “พอเพียง = enough” “ขยะ คือ ทรัพยากร” การใช้ทรัพยากรอย่างพอดี เห็นคุณค่า บวกกับการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านกับวัสดุเหลือใช้ที่มีรอบบ้าน เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะ
          โรงเรียนประชานิมิตพิทยานุกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต ๒๑ เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าวจึงจัดทำโครงการ “โรงเรียนปลอดขยะ” ขึ้นทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปลูกจิตสำนึก การลด
คัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในโรงเรียน การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง สร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ

๒. วัตถุประสงค์
         ๒.๑ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ
             เกี่ยวกับการลด การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
         ๒.๓ เพื่อปลูกฝังให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาเห็นความสำคัญ และสามารถปฏิบัติได้ใน
   เรื่องการลด การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

๓. เป้าหมาย
        ๓.๑ ด้านปริมาณ
                ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน ๒๐ คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑๘๔ คน เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ


๓.๒ ด้านคุณภาพ
                นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการลด การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ และนำมาใช้ในชีวิตประจาวัน รวมทั้งให้ความร่วมมือในกิจกรรมจากโครงการโรงเรียนปลอดขยะที่โรงเรียนจัดทำขึ้น

๔. ลักษณะของโครงการ
เป็นโครงการที่สอดคล้องแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน และมาตรฐานการศึกษา สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ
๕. แนวทางการดำเนินงาน

      ๕.๑ ผู้รับผิดชอบโครงการ ฝ่ายงานกิจการนักเรียน และบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
      ๕.๒ ระยะเวลาดำเนินงาน ตลอดปีการศึกษา
      ๕.๓ ขั้นตอนการดำเนินงาน
              ๕.๓.๑ เสนอโครงการและขออนุมัติโครงการ
              ๕.๓.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ
              ๕.๓.๓ ประชุมวางแผนดำเนินงาน กำหนดกิจกรรมและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
              ๕.๓.๔ จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น
              ๕.๓.๕ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการ
              ๕.๓.๖ ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนด มีกิจกรรม ๘ กิจกรรมดังนี้
                     ๑) กิจกรรมจัดทาป้ายนิเทศให้ความรู้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา
                        ตลอดจนผู้ปกครอง และชุมชน
                     ๒) กิจกรรมจัดทำแผ่นพับเผยแพร่ความรู้ และกิจกรรมของโครงการ
                     ๓) กิจกรรมเสียงตามสายให้ความรู้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจน
                        ผู้ปกครอง และชุมชน
                     ๔) กิจกรรมแยกขยะจากห้องเรียน
                              - ขยะกระดาษ
                              - ขยะพลาสติก
                              - ขยะทั่วไป
                     ๕) กิจกรรมลดขยะอินทรีย์
                              - กินอาหารให้หมดไม่เหลือเศษอาหาร
                     ๖) กิจกรรมนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์
                              - ผลิตผลงานรีไซเคิล
                              - ประกวดสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้
                     ๗) กิจกรรมธนาคารขยะ
                              - กระดาษ
                              - ขวดพลาสติก
                      ๘) กิจกรรมแยกขยะอันตราย
                              - แยกขยะอันตรายจากห้องคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องศิลปะและอื่นๆ
๕.๓.๗ ติดตามและประเมินกิจกรรม
๕.๓.๘ สรุปและรายงานผลการดาเนินงาน
๖. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
      ๖.๑ นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนได้รับความรู้จากการศึกษาข้อมูลการลด การคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
      ๖.๒ โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นสวยงาม และมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนการสอนกิจกรรม

๗. การติดตามและประเมินผลโครงการ
       ๗.๑ แบบสอบถามความคิดเห็น
       ๗.๒ แบบบันทึกปริมาณขยะ จำแนกตามแต่ละประเภท

 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0