โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

วัฒนธรรมกับภาษา

โรงเรียน : เกาะช้างวิทยาคม สพม.จันทบุรี ตราด

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : ภาษาไทย

เผยแพร่เมื่อ : 30 พ.ย. 542 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 529 คน


กรอบการนำเสนอผลงาน/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)
  1. ชื่อผลงาน                           วัฒนธรรมกับภาษา
  2. ชื่อผู้เสนอผลงาน          นางสาวเฟื่องฟ้า  อภิบาลศรี        ครู คศ. 1
  3. ชื่อหน่วยงาน/กลุ่มสาระการเรียนรู้          โรงเรียนวัดคลองสน อ.เกาะช้าง จ.ตราด
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
          ผู้บริหาร          นางสาวสายพิณ  พิมล    ผู้อำนวยการโรงเรียนเกาะช้างวิทยาคม
รายละเอียดการนำเสนอผลงาน
  1. ความเป็นมา/ความสำคัญ ของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
วัฒนธรรมแสดงความเจริญงอกงามของสังคม ส่วนภาษาเป็นถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความ
ของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง การเข้าใจทั้งวัฒนธรรม และภาษาจะช่วยให้เข้าใจสังคมต่างๆ ได้ชัดเจน ดังนั้นผู้สอนจึงมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอน โดยนำเรื่องหรือสิ่งใกล้ตัวมาเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าในท้องถิ่นตนอย่างสูงสุด โดยเฉพาะบ้านคลองสน หมู่ 3 อ.เกาะช้าง นี้มีกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความรู้ความสามารถเป็นศิลปินพื้นบ้าน สร้างสรรค์ผลงานเพลงพื้นบ้านขึ้นมาเพื่อเล่าประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต ตลอดจน
การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของเกาะช้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับได้ว่าควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบไป
 
  1. วัตถุประสงค์/จุดประสงค์ ของการดำเนินงาน
2.1 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจลักษณะของวัฒนธรรมกับภาษา
2.2 เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายธรรมชาติของภาษา พลังของภาษา และลักษณะของภาษาได้
2.3 เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ผู้เรียนรักภูมิปัญญาการใช้ภาษาไทย
 
  1. เป้าหมายของการดำเนิน
3.1 ผู้เรียนเข้าใจลักษณะของวัฒนธรรมกับภาษา
          3.2 ผู้เรียนอธิบายธรรมชาติของภาษา พลังของภาษา และลักษณะของภาษาได้
          3.3 ผู้เรียนมีจิตสำนึกรักภูมิปัญญาการใช้ภาษาไทยอย่างแท้จริง
         
  1. ขั้นตอนการดำเนินงาน/กระบวนการผลิตผลงาน
    1. ครูยกตัวอย่างเพลงมากมาย ศิลปิน บี้ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว อัลบั้ม Hug Bie

I love u, หว่ออ้ายหนี่, Ich lieber dich, Je t’aime   ก็จะให้พูดยังไง ให้เท่าหัวใจที่มี
Tiamo, Te quiero, ซารังแฮโย   จะบอกว่ารักกี่ภาษา ก็ฟังไม่เยอะสักที
คิมิโอ ไอชิเตรุ, จิตพาเด, บอง สรันโอน  ไม่ว่าจะพูดยังไง ก็ไม่เท่าหัวใจที่มี
Amo-te, Jag alskar dig, Ya vas liubliu   จะบอกว่ารักกี่ภาษา ไม่ได้ครึ่ง ที่อัดแน่นในนี้

จากนั้นครูถามว่าเมื่อนักเรียนเห็นหรือได้ยินคำทักทายของแต่ละชาติแล้วนักเรียนรู้ได้อย่างไร ว่าเป็นของชาติใด และ
คำทักทายนี้แสดงถึงเรื่องใดของแต่ละชาติ ครูกระตุ้นให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  เพื่อโยงเข้าสู่เนื้อหาเรื่อง วัฒนธรรม
    1. ครูอธิบายเพิ่มเติมว่านอกจากวัจนภาษาแล้วภาษาท่าทางก็เป็นวัฒนธรรมภาษาอย่างหนึ่งเช่นกัน
ครูสุ่มเรียกนักเรียนแสดงภาษาท่าทางแล้วให้เพื่อนตอบว่าแปลว่าอะไร พร้อมทั้งให้นักเรียนทำท่าทางประกอบเพลงข้างต้น
    1. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน คละกันตามความสามารถ แล้วให้แต่ละกลุ่มระดม
ความคิดว่าสิ่งใดบ้างที่บ่งบอกว่าเป็นวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมไทยมีเอกลักษณ์หรือไม่อย่างไร
    1. ครูให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอความคิดเห็น  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสาระเรื่องที่นำเสนอ
เพื่อโยงเข้าสู่เรื่องที่เรียน
    1. ครูนำเพลงพื้นบ้าน “เพลงเกาะช้างสวรรค์ตะวันออก” มาร้องให้นักเรียนฟังหนึ่งตอน
เพื่อเร้าความสนใจ พร้อมให้นักเรียนฝึกอ่านทำความเข้าใจในแต่ละตอน(มีทั้งหมด 3 ตอน) และสอนร้องเพลงพื้นบ้านดังกล่าวเพื่อเป็นการเพิ่มอรรถรสในการเรียนการสอน
    1. ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์วัฒนธรรมกับภาษาจากเพลงเกาะช้างสวรรค์ตะวันออกทีละตอน ผู้เรียน
จะได้เรียนรู้ภาษาและวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นเกาะช้างที่ตนอาศัยอยู่
    1. ครูมอบหมายให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มเป็นสี่ 4 กลุ่ม เท่าๆ กัน คละกันตามความสามารถ เพื่อศึกษาวัฒนธรรมกับภาษาจากเพลงในภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ตามความสนใจ พร้อมนำเสนอในครั้งต่อไป
 
  1. ร่องรอยหลักฐานระหว่างการพัฒนาที่แสดงว่า การดำเนินงานนำไปสู่เป้าหมาย

                  

                 
 
  1. รางวัลที่ได้รับ/การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ
    1. วิทยาลัยชุมตราดขอสัมภาษณ์และบันทึกการแสดงร้องรำเพลงพื้นบ้าน ของ
หมู่บ้านคลองสน อ.เกาะช้าง จ.ตราด เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทำงานวิจัย ส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดตราด โดยมีครูและนักเรียนจากโรงเรียนเกาะช้างวิยาคม ในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ จำนวน 9 คน     
ไปร่วมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559 เวลา 10.00 น. – 14.00 น.
    1. ทีมงาน ททบ. 5 มาบันทึกรายการ “จุดประกายความสุข” เพื่อประชาสัมพันธ์วิถีชุมชนที่มี
วัฒนธรรมท้องถิ่นให้สืบสาน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559 เวลา 09.00 น. – 12.00 น.
    1. ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน บ้านคลองสน อ.เกาะช้าง จ.ตราด ได้เผยแพร่ในระดับประเทศ
ในงานนิทรรศการแสดงผลงานเด็กและเยาวชน โครงการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างพลังพฤติกรรม
เชิงบวกคนวัยทีน สร้างปาฏิหาริย์แห่งชีวิตสู่การให้เพื่อสังคมภายใต้โครงการปาฏิหาริย์แห่งชีวิต Miracle of life ประจำปี 2558
    1. เพลงพื้นบ้านของหมู่บ้านคลองสน อ.เกาะช้าง จ.ตราด ได้เผยแพร่ในชุมชน ในงานวัฒนธรรม
ประเพณีต่างๆ งานโรงเรียน และในงานศพ(เล่นรำสวด) โดยนักเรียน คณะครูโรงเรียนเกาะช้างวิทยาคม และ
กลุ่มชาวบ้านคลองสน ที่มีใจในศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
                     
 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0