โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

ศตวรรษที่21

โรงเรียน : บ้านลาดวิทยา สพม.เพชรบุรี

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 13 ก.ย. 2561 โดย : Banlat3  wittaya3 จำนวนผู้เข้าชม 407 คน


โครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่เน้นสมรรถนะทางสาชาวิชาชีพ
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
โรงเรียน บ้านลาดวิทยา  อำเภอ บ้านลาด  จังหวัด  เพชรบุรี               
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๐
 

  • หลักการและเหตุผล

ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนา
หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพมาตรฐานและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ได้รับการพัฒนาทักษะและพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย สามารถแสวงหาความรู้ได้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน ให้มีความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ไทย มีค่านิยมที่ถูกต้องตามค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ และมีภูมิคุ้มกัน ปลอดภัยต่อยาเสพติดการดำเนินการไปสู่การปฏิบัติจะมีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์
ใช้ในหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ตามหลักการ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา มีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนรู้ที่ใช้บริบทสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นเป็นสถานการณ์กระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจ บูรณาการสิ่งที่เป็นประเด็นอยากรู้ไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรรายวิชา จัดหน่วยการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้บูรณาการแบบพหุวิทยาการ ที่ใช้ STEM Education ในการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี พัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ(CEFR) ในหลักสูตรภายใต้บริบทไทย ที่มีรูปแบบการเรียนรู้เพื่อการใช้งานจริง ตลอดจนกระตุ้นให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ มีการบูรณาการความรู้ควบคู่การพัฒนาทักษะชีวิต การพัฒนาสังคม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาทักษะและสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ ตลอดจนพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ที่สอนให้เด็กใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจมากกว่าความรู้สึกตามกระแสสังคม จัดกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดค่านิยมที่พึงประสงค์ สร้างอุดมการณ์รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีคุณธรรม จริยธรรม ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ปฏิเสธสิ่งเสพติด การทุจริตคอรัปชั่น และมีทักษะพื้นฐานในการดำเนินชีวิต การทำงาน และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพสภาพจริงและเน้นให้เกิดความสมดุลเชิงคุณภาพของผู้เรียนรายบุคคล ส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานำองค์ความรู้ ทรัพยากรและภูมิปัญญาในท้องถิ่น ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษา

  • วัตถุประสงค์
  • เพื่อใช้ STEM Education ในการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ที่สอนให้เด็กใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจมากกว่าความรู้สึกตามกระแสสังคม
  • เพื่อพัฒนาทักษะและสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ ส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานำองค์ความรู้ ทรัพยากรและภูมิปัญญาในท้องถิ่น ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษา

 ๓. เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดค่านิยมที่พึงประสงค์ สร้างอุดมการณ์รักซาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีคุณธรรม จริยธรรม ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ปฏิเสธยาเสพติด การทุจริตคอรัปชั่น และมีทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต การทำงาน และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

  • กิจกรรมที่ดำเนินงาน
  • พัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑
  • พัฒนากระบวนการเรียนรู้รูปแบบบูรณาการแบบพหุวิทยาการของคณะผู้สอน
  • พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เกิดสมดุลเชิงคุณภาพและสร้างแรงบันดาลใจ สร้างนวัตกรรมผลงานของผู้เรียน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ

โรงเรียนบ้านลาดวิทยา  อำเภอบ้านลาด  จังหวัด.เพชรบุรี

  • ระยะเวลาดำเนินการ

ปีงบประมาณ 2560

  • งบประมาณโครงการ
    1. การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
    2. งบประมาณของโรงเรียน  จำนวน       ๑๐,๐๐๐ บาท
    3. งบสนับสนุนอื่นๆ  งบประมาณจาก วิทยาลัยการอาชีพบ้านลาด  วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบุรี วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี โรงพยาบาลบ้านลาด
  • วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงานr
กิจกรรมดำเนินงาน งบประมาณ ระยะเวลา
  • พัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑
    1.  จัดทำคลังทะเบียนอาชีพ คลังสถานประกอบการ และคลังแหล่งเรียนรู้ที่มีรายละเอียดลักษณะอาชีพ
    1.  ทำความร่วมมือกับสถานประกอบการและระดมความคิดเห็นประเมินสถานประกอบการและจัดทำคู่มือการฝึกและถอดประสบการณ์รูปแบบทวิภาคี
    1. ทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานด้านอาชีพจัดโปรแกรมการเรียนหลักสูตรฐานสมรรถนะอาชีพระยะสั้นทวิศึกษา เตรียมพื้นฐานความถนัดเฉพาะทางกลุ่มสาขาวิชาการเรียนระดับอุดมศึกษา จัดทำผลการเรียนรู้แบบทักษะความรู้ และคุณลักษณะ  การวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริงที่เน้นความสมดุลเชิงคุณภาพรายบุคคล  
100,000 กุมภาพันธ์
2560

 

กิจกรรมดำเนินงาน งบประมาณ ระยะเวลา
     1.4 จัดทำ Career Path นักเรียนเป็นรายบุคคล โดยทำความร่วมมือกับกรมการจัดหางานใช้เครื่องมือคัดกรองนักเรียน บันทึกลง Portfolios    
1.5 จัดระบบการใช้เทคโนโลยี เพื่อการจัดทำสารสนเทศโปรแกรมการเรียนและนักเรียน เพื่อใช้บริหารจัดการห้องปฏิบัติการ และครุภัณฑ์ประจำห้องปฏิบัติการ และการจัดแหล่งความรู้ในรูปแบบห้องสมุด แบบ Online และ Office เพื่อการเรียนรู้และเข้าถึงองค์ความรู้ของนักเรียน
1.6 ประชาสัมพันธ์ และสัมมนาสร้างความเข้าใจ สร้างกระบวนการพัฒนาตามขั้นตอนให้กับครูและนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ปีที่ 4
   
  • พัฒนากระบวนการเรียนรู้รูปแบบบูรณาการแบบพหุวิทยาการ ของ
คณะครูผู้สอน
     2.1 พัฒนาและจัดทำหน่วยเรียนรู้บูรณาแบบพหุวิทยาการของคณะครู ระดับชั้น โดยใช้แหล่งเรียนรู้ สถานประกอบการ เป็นชื่อหน่วยเรียนรู้บูรณาการ กำหนดกระบวนการที่เป็นที่มาของชื่อหน่วยบูรณาการวิเคราะห์ตัวชี้วัดรายวิชา เพื่อใช้เป็นเกณฑ์การนำหลักความรู้มาเทียบเคียงกับกระบวนการของหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ และวิเคราะห์ระดับพฤติกรรมการวัดของตัวชี้วัดรายวิชา เพื่อนำไปใช้สร้างเครื่องมือการวัดผลที่ตรงตามสภาพจริง
     2.2 พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามกระบวนการ Five Step For Learn รูปแบบ Project Based Learning สำหรับตัวชี้วัดรายวิชาที่นำไปบูรณาการ และจัดทำใบกิจกรรม และใบความรู้ ของหน่วยเรียนรู้บูรณาการ และเตรียมสื่อความรู้และบรรณานุกรม ทั้งแบบสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ Online และ Office ที่ตรงกับหลักความรู้ของตัวชี้วัดรายวิชา โดยใช้กระบวนการของชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC)
    2.3 จัดตารางสอนสำหรับหน่วยการเรียนรู้บูรณาการตามกระบวนการ Five Step For Learning โดยการมอบหมายกิจกรรมการทำงาน การกลับมารายงานผลทักษะความรู้ และคุณลักษณะการทำงาน ให้กำหนดไว้ช่วงเช้า และจัดตารางสอนสำหรับตัวชี้วัดรายวิชาที่เป็นทฤษฎีความรู้ที่ไม่ได้นำมาบูรณาการให้จัดไว้ช่วงเช้า และตัวชี้วัดรายวิชาที่เป็นการปฏิบัติให้จัดในช่วงบ่ายตามสัดส่วนเวลาที่เหลือจากที่ได้นำเวลาไปบูรณาการแล้ว ส่วนกิจกรรมชุมนุมให้จัดเป็นรูปแบบการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการ
100,000  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมดำเนินงาน งบประมาณ ระยะเวลา
     2.4 จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบฝึกและถอดประสบการณ์ความรู้ในรายวิชาเพิ่มเติม ที่เป็นรายวิชาฐานสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพกับสถานประกอบการ โดยมีคู่มือและใบกิจกรรม การมอบหมายกิจกรรม การทำงาน แบบประเมินตนเอง และรายงานผลการทำกิจกรรมการทำงาน    
    2.5 สร้างเครื่องมือการรายงานผลการจัดกิจกรรมการทำงานด้วยตัวนักเรียนตามแบบวัดทักษะความรู้ และประเมินตนเองตามแบบประเมินคุณลักษณะการทำงาน และสร้างเครื่องมือวัดผลความรู้กลางภาค และปลายภาคเรียน เฉพาะตัวชี้วัดรายวิชาที่เป็นตัวแทนและตรงระดับพฤติกรรมที่ตัวชี้วัดรายวิชากำหนดไว้    
3. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เกิดสมดุลเชิงคุณภาพและสร้างแรงบันดาลใจสร้างนวัตกรรมผลงานของผู้เรียน
    3.1 ทำกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจกับแหล่งเรียนรู้ หรือสถานประกอบการจริงตั้งประเด็นคำถามและคาดเดาคำตอบ และรายงานผลข้อมูล คำถามและคาดเดาคำตอบ
    3.2 ทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้กับกลุ่มเพื่อน เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปนำเสนอสื่อสารของข้อชี้แนะ แหล่งสืบค้นความรู้จากครูผู้สอน เพื่อยืนยันการคาดเดาคำตอบ พร้อมเขียนรายงานการทำกิจกรรมและประเมินคุณลักษณะจากการทำกิจกรรม
    3.3 อ่านสืบค้นความรู้จากแหล่งความรู้ที่สนใจ  หรือจากที่ครูแนะนำความรู้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเพื่อน เพื่อวิเคราะห์สื่อประเมินความรู้ที่เชื่อถือได้ และสรุปเป็นองค์ความรู้ และนำเสนอข้อชี้แนะจากครูแต่ละรายวิชา พร้อมรายงานความรู้และคุณลักษณะการทำงาน
    3.4 ลงพื้นที่สำรวจประเด็นสนใจ สร้างแรงบันดาลใจพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี เดินตามกระบวนการ Project Based Learning สร้างนวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในสังคมได้จริง
10,000
 
 
4. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการแข่งขันประกวดผลงานของนักเรียน ให้นักเรียนได้นำเสนอผลงานที่ปฏิบัติมาเมื่อหมดภาคเรียน และนำเสนอเผยแพร่ผลงานที่เป็นประโยชน์ทางเว็บไซต์ของโรงเรียน    

 

  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 นักเรียน ครู และผู้บริหารสถานศึกษา มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ กลุ่ม
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม กลุ่มทักษะชีวิตและทักษะงาน และกลุ่มความเท่าทันสื่อ เทคโนโลยี และประเมินสารสนเทศ

8.2 นักเรียนมีเส้นทางการศึกษาสู่การประกอบอาชีพในอนาคต (Career Path) ตามความ
สนใจ บุคลิกภาพ และความถนัด ตามประเภทกลุ่มสาขาวิชาชีพ
8.3 ครูเปลี่ยนบทบาทการสอนเป็น Facilitator Motivation Inspiration Coaching ตามกระบวนการ Active Learning
8.4 สถานศึกษา จัดหลักสูตรสนองความต้องการผลิต พัฒนา กำลังแรงงานในการพัฒนาประเทศ ตรงความต้องการของสถานประกอบการ กลุ่มอาชีพอิสระในท้องถิ่นระดับอำเภอและจังหวัด
 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0