โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

กระบวนการ PLC สู่ครูเพื่อศิษย์

โรงเรียน : ยางวิทยาคาร สพม.สุรินทร์

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 13 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 2550 คน


แบบรายงานนวัตกรรม / วิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practices)

ประเภทของนวัตกรรม / วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
          โรงเรียนที่ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาวิชาชีพ

ชื่อวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)
          กระบวนการ  PLC สู่ครูเพื่อศิษย์

โรงเรียนยางวิทยาคาร    สหวิทยาเขต ๔ ศรีสำโรง

ชื่อ – สกุล ผู้บริหารสถานศึกษา  นายรณภากาศ  สุพรรณไกรสีห์

จำนวนครูทั้งหมด   ๒๕  คน       จำนวนนักเรียนทั้งหมด     ๓๐๒  คน

๑. ความสำคัญของนวัตกรรม / วิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practices)
     การเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ส่งผลต่อวิถีชีวีติของคนในสังคม ระบบการศึกษาจึงจำเป็นต้องพัฒนา ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ด้วย เดิมการศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะเพียงอ่านออกเขียนได้เท่านั้น แต่สาหรับในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการปฏิบัติ และการสร้างแรงบันดาลใจไปพร้อมกัน กล่าวคือ จะไม่เป็นเพียงผู้รับ (Passive Learning) อีกต่อไป แต่ผู้เรียนต้องฝึกการเรียนรู้ จากการลงมือปฏิบัติและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง (Active Learning) โดยมีครูเป็น “โค้ช” ที่คอยออกแบบการเรียนรู้ เพื่อช่วยผู้เรียนให้บรรลุผลได้ ประการสำคัญ คือ ครูในศตวรรษที่ ๒๑ จะต้องไม่ตั้งตนเป็น “ผู้รู้” แต่ต้องแสวงหาความรู้ไปพร้อมๆ กันกับผู้เรียนในขณะเดียวกัน ดังนั้นการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑” (๒๑st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้  แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach)  และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning : PBL) ของนักเรียนสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้ คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional
Learning Communities : PLC) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่
ของครูแต่ละคนนั่นเอง
     ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เป็นกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลง  โดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลที่มารวมตัวกันเพื่อทำงานร่วมกัน และสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ร่วมกันวางเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน และตรวจสอบ สะท้อนผลการปฏิบัติงานทั้งในส่วนบุคคลและผลที่เกิดขึ้นโดยรวมผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิพากษ์วิจารณ์ การทำงานร่วมกัน การร่วมมือรวมพลัง โดยมุ่งเน้นและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม โดยมีการดำเนินการอย่างน้อย ๕ ประการ ดังนี้ ๑) มีเป้าหมายร่วมกันในการจัดการเรียนรู้/การพัฒนาผู้เรียนให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ๒) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากหน้างาน/สถานการณ์จริงของชั้นเรียน ๓) ทุกฝ่ายเกี่ยวข้องร่วมเรียนรู้และรวมพลัง/หนุนเสริมให้เกิดการสร้างความเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมาย ๔)มีการวิพากย์ สะท้อนผลการทางานพัฒนาผู้เรียน และ ๕) มีการสร้าง HOPE ให้ทีมงานอันประกอบด้วย (๑) honesty & humanity เป็นการยึดข้อมูลจริงที่เกิดขึ้นและให้การเคารพกันอย่างจริงใจ (๒) option & openness เป็นการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้ผู้เรียนและพร้อมเปิดเผย/เปิดใจเรียนรู้จากผู้อื่น (๓) patience & persistence เป็นการพัฒนาความอดทนและความมุ่งมั่นทุ่มเทพยายยามจนเกิดผลชัดเจน (๔) efficacy & enthusiasm เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในผลของวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนว่าจะทาให้ผู้เรียนเรียนรู้ และกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ (เรวดี ชัยเชาวรัตน์, ๒๕๕๘)
       คุณลักษณะสำคัญที่ทำให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนใดมี PLC นั้น  นอกจากจะต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลดังที่กล่าวไปแล้วนั้น การรวมตัวกันของสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพยังต้องประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ
        จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น โรงเรียนยางวิทยาคาร จึงได้ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาวิชาชีพ  เป็นกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน รวมถึงพัฒนาศักยภาพครูสู่มืออาชีพ  ให้ครูเกิดสิ่งที่เรียกว่า พลังการเรียนรู้ (Power of Learning) ส่งผลให้การปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนของตนเองมีผลดียิ่งขึ้น และมีความรับผิดชอบต่อพัฒนาการโดยรวมของนักเรียนและร่วมกันรับผิดชอบเป็นกลุ่มต่อผลสำเร็จของนักเรียน อันจะส่งผลให้โรงเรียนจัดการศึกษาและพัฒนาการศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

๒. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
     ๒.๑  วัตถุประสงค์
            ๑. เพื่อให้ครูมีความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียนมากขึ้น โดยเพิ่มความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติให้บรรลุพันธกิจอย่างแข็งขัน
  ๒. เพื่อให้ครูเกิดพลังการเรียนรู้ (Power of Learning) ส่งผลให้การปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนของตนเองมีผลดียิ่งขึ้น และมีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาการศึกษาของนักเรียนและร่วมกันรับผิดชอบเป็นกลุ่มต่อผลสำเร็จของนักเรียน
  ๓. เพื่อให้ครูรับทราบข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ที่จำเป็นต่อวิชาชีพได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วขึ้น ส่งผลดีต่อการปรับปรุงพัฒนางานวิชาชีพของตนได้ตลอดเวลา เกิดแรงแนวทางที่จะสร้างแรงบันดาลใจต่อการเรียนรู้ให้นักเรียนต่อไป
  ๔.  เพื่อพัฒนาการศึกษา เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการสอบวัดความรู้ระดับชาติของนักเรียน รวมถึงส่งเสริมทักษะในด้านต่างๆ ของผู้เรียน
      ๒.๒  เป้าหมาย
             ๑. เชิงปริมาณ
                ๑. ครูจำนวน  ๒๔  คน มีความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียนมากขึ้น โดยเพิ่มความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติให้บรรลุพันธกิจอย่างแข็งขัน
                ๒. ครูจำนวน  ๒๔  คน  เกิดพลังการเรียนรู้ (Power of Learning) ส่งผลให้การปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนของตนเองมีผลดียิ่งขึ้น และมีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาการศึกษาของนักเรียนและร่วมกันรับผิดชอบเป็นกลุ่มต่อผลสำเร็จของนักเรียน
                ๓. ครูจำนวน  ๒๔  คน ปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนของตนเอง  และมีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาการศึกษาของนักเรียนและร่วมกันรับผิดชอบเป็นกลุ่มต่อผลสำเร็จของนักเรียน
                ๔. นักเรียน  จำนวน ๓๐๒ คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการสอบวัดความรู้ระดับชาติสูงขึ้น และมีความสามารถในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น

             ๒. เชิงคุณภาพ
                 ๑. ครูปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนของตนเองมีผลดียิ่งขึ้น และมีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาการศึกษาของนักเรียนและร่วมกันรับผิดชอบเป็นกลุ่มต่อผลสำเร็จของนักเรียน
                 ๒. นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ไม่มีผลการเรียนติด ๐ ร มส. และผลการทดสอบวัดความรู้ระดับชาติสูงขึ้น มีความสามารถในด้านต่างๆ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรเพิ่มขึ้น

๓. ขั้นตอนการดำเนินงาน
    ดำเนินงานตามแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  (PLC)
การดำเนินงาน กิจกรรม
๑. แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ระดับสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน PLC ประกอบด้วย
๑.ผู้อำนวยการโรงเรียน

๒.หัวหน้าฝ่ายวิชาการ/กลุ่มสาระ/หัวหน้าสายชั้น
๓.ครู
                    ฯลฯ
๒. กำหนดแผนงานการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ระดับสถานศึกษา จัดทำแผนงานการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC  สู่โรงเรียน ประกอบด้วย
๑.สร้างทีมงาน PLC ที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา
๒.สร้างความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางการปฏิบัติให้กับบุคลากรในสถานศึกษา (พาดู พาคิด พาทำ)
๓.สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่น (ระดับบุคคล ระดับองค์กร ระดับหน่วยงาน)
๔.กำกับ ติดตาม นิเทศ และประเมินผล
๕.ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงาน การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
. การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การปฏิบัติ ๓.๑ ขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งบันทึกลงใน Logbook ตามลำดับดังนี้
   ๑.การรวมกลุ่ม PLC
      รวมกลุ่มครูที่มีปัญหา/ความต้องการ เดียวกัน เช่นครูกลุ่มสาระเดียวกัน ครูที่สอนในระดับชั้นเดียวกัน เป็นต้น
   ๒. ค้นหาปัญหา ความต้องการ
       ๑) ร่วมกันเสนอปัญหา/ความต้องการ
       ๒) จัดกลุ่มปัญหา
       ๓) จัดลำดับความจำเป็นเร่งด่วน
       ๔) เลือกปัญหาเพียง ๑ ปัญหา โดยการพิจารณาร่วมกัน
 ปัญหา : นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
 
 
การดำเนินงาน กิจกรรม
  . ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา
      ๑) เรื่องเล่าเร้าพลัง/บอกเล่าประสบการณ์ที่แก้ปัญหาได้สำเร็จ          
      ๒) ค้นหาตัวอย่าง/รูปแบบที่ประสบความสำเร็จ
      ๓) ร่วมกันตัดสินใจเลือกรูปแบบ/วิธีการ/นวัตกรรมในการแก้ปัญหา
. ออกแบบกิจกรรมการแก้ปัญหา
ออกแบบกิจกรรมตามวิธีการ/นวัตกรรมจัดทำแผนงานการขับเคลื่อน
. แลกเปลี่ยนเสนอแนะ
      นำเสนอกิจกรรมการแก้ปัญหา ให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีประสบการณ์ให้ข้อเสนอแนะ
. นำสูการปฏิบัติ /สังเกตการสอน
      ๑) นำกิจกรรมไปใช้ในการแก้ปัญหา
      ๒) ผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมสังเกตในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น การเยี่ยมชั้นเรียน สังเกตการสอน
. สะท้อนผล
      ๑) สรุปผลการนำรูปแบบ/วิธีการ ในการนำไปแก้ปัญหา
      ๒) อภิปรายผลการแก้ปัญหา เสนอแนะแนวทางในการพัฒนา
๓.๒ สรุปรายงานผล และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้       
๔. กำกับ ติดตามนิเทศและประเมินผล ๔.๑ จัดทำแผนและเครื่องมือ กำกับ ติดตาม นิเทศ และประเมินผลการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในโรงเรียน
๔.๒ คณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในโรงเรียน ดำเนินการกำกับ ติดตาม นิเทศ และประเมินผลการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC
๔.๓ เร่งรัด ติดตาม และสนับสนุน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC
. สรุปรายงานผลการดำเนินการการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC
 
๕.๑ ครูและบุคลากรทางการศึกษา รายงานผลการดำเนินการตามกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา พร้อม Logbook เป็นรายบุคคลต่อผู้อำนวยการ
๕.๒ คณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC   สรุปและรายงานผลการติดตาม ในโรงเรียน
๖. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน และยกย่องเชิดชูเกียรติการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ๖.๑ โรงเรียนจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Show $ Share) การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน
๖.๒ ยกย่องเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีกระบวนการดำเนินการที่ดีสามารถเป็นแบบอย่างได้ และเผยแพร่

ขั้นตอนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ



กระบวนการของ PLC ของโรงเรียนยางวิทยาคาร
ขั้นตอน กิจกรรม
ขั้นตอนที่ ๑ Community   สร้างทีมครู
คือ การแบ่งกลุ่มเพื่อระดมประสบการณ์ หาปัญหาหรือแนวทางการพัฒนา โดยเลือกประเด็นเพียง ๑ ประเด็นเพื่อแก้ปัญหาแต่ละครั้ง
ขั้นตอนที่ ๒ Practice  จัดการเรียนรู้
คือ ร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนา และนำสู่การปฏิบัติ โดยมีการเปิดห้องเรียน เพื่อการสังเกตการณ์สอน
ขั้นตอนที่ ๓ Reflection สะท้อนคิดเพื่อการพัฒนาการปฏิบัติ
คือ การพบกลุ่มเพื่อสะท้อนคิดจากการจัดการเรียนรู้เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นจากการเปิดห้องเรียน ร่วมกันเสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไข ปัญหาที่เกิดจาการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ ๔ Evaluation ประเมินเพื่อการพัฒนาสมรรถนะครู
คือ การประเมินเพื่อการพัฒนาสมรรถนะครู ตามแบบคู่มือการประเมินการพัฒนาสมรรถนะครูรายบุคคล
ขั้นตอนที่ ๕ Network Development สร้างเครือข่ายการพัฒนา
คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครู/นักเรียน ผ่านเครือข่ายการพัฒนา

๔. ผลการดำเนินงาน / ประโยชน์ที่ได้รับ
   ๔.๑  ผลที่เกิดกับผู้เรียน
       ๔.๑.๑ ลดอัตราการตกซ้ำชั้น  และอัตราการติด ๐ ร  มส. น้อยลง
       ๔.๑.๒ อัตราการขาดเรียนลดลง
       ๔.๑.๓ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ใน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพิ่มขึ้น
          ๔.๑.๔ มีคะแนนการสอบผลการทดสอบวัดความรู้ระดับชาติสูงขึ้น
                    ๔.๑.๔.๑ ผลการทดสอบระดับชาติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เพิ่มขึ้น(O-NET)
                   ๔.๑.๔.๒ ผลการทดสอบระดับชาติ ในรายวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เพิ่มขึ้น
          ๔.๑.๕ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่เด่นดีขึ้น
                     ๔.๑.๕.๑  ด้านความรับผิดชอบ
                     ๔.๑.๕.๒  ด้านความมีวินัย
                     ๔.๑.๕.๓  ใฝ่รู้ และมีนิสัยรักการอ่าน
                     ๕.๑.๕.๔  ด้านจิตอาสา
                     ๔.๑.๕.๕  ด้านประหยัด อดออม (ความพอเพียง)
          ๔.๑.๖  นักเรียนมีการพัฒนาทั้งในด้านวิชาการและคุณธรรมจริยธรรม โดยมีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดาเนินชีวิตประจาวัน
    ๔.๒ ผลที่เกิดกับสถานศึกษา     
          ๔.๒.๑  โรงเรียนมีเครื่องมือในการบริหารจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของตนเอง
          ๔.๒.๒  การนำกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาวิชาชีพ มาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุจุดหมายของหลักสูตรและผ่านเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
          ๔.๒.๓  โรงเรียนสามารถใช้ กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในการบริหารจัดการงาน/โครงการ/กิจกรรมของโรงเรียนได้ทุกกิจกรรม
          ๔.๒.๔  โรงเรียนมีบรรยากาศที่ดีทั้งทางด้านกายภาพและทางด้านสังคม อาทิเช่น บุคลากร มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ให้การยอมรับในความรู้สามารถและความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความไว้วางใจต่อกัน         
          ๔.๒.๕  โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนการสอน สะอาด ร่มรื่น สวยงามและมีความปลอดภัย เป็นต้น
          ๔.๒.๖ โรงเรียน ผู้บริหาร ครู และนักเรียนได้รับการยกย่องชมเชยและได้รับรางวัลเกียรติยศในด้านต่างๆ
    ๔.๓  ผลที่เกิดกับชุมชน     
          ๔.๓.๑  ชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไม่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงที่จะนามาซึ่งปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาและการทางานของโรงเรียน  
          ๔.๓.๒  ชุมชนเกิดความไว้วางใจในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนและนาบุตรหลาน เข้าเรียนเพิ่มขึ้น
               ๔..๓  ชุมชนได้เยาวชนที่มีศักยภาพและพัฒนาชุมชนต่อไป
    ๔.๔  ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำนวัตกรรมไปใช้

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0