โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การบริหารจัดการสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล

โรงเรียน : ห้วยจริงวิทยา สพม.สุรินทร์

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 10 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 447 คน


แบบรายงานนวัตกรรม/วิธีการปฏิบัติที่ดี(Best Practices)

ประเภทของนวัตกรรม/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ  โรงเรียนในโครงการมาตรฐานสากล
ชื่อวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)  การบริหารจัดการสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล
โรงเรียน ห้วยจริงวิทยา  สหวิทยาเขต 4 (ศรีสำโรง)
ชื่อ-สกุล ผู้บริหารสถานศึกษา นายจีระพรรณ  เพียรมี
จำนวนครูทั้งหมด 38 คน  จำนวนนักเรียนทั้งหมด    634  คน
1. ความสำคัญของนวัตกรรม/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)
ด้วยโรงเรียนห้วยจริงวิทยาได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล  รุ่นที่  3
ซึ่งโรงเรียนจะต้องมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล    ทั้งระบบ คือ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน และ ด้านการบริหารจัดการ
โรงเรียนห้วยจริงวิทยา จึงได้ดำเนินการตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากล  จัดระบบบริหารจัดการ      โดยใช้หลักธรรมมาภิบาล  มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการด้านวิชาการ  งบประมาณ บุคคลและบริหารทั่วไป  และให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  มีการตรวจสอบความโปร่งใส  มีระบบการติดตามและรายงานจากโรงเรียนไปยังหน่วยงานต้นสังกัดทุกระดับ  โดยการกำกับติดตามและนิเทศของฝ่ายบริหาร  คณะกรรมการสถานศึกษา      ขั้นพื้นฐานและหน่วยงานต้นสังกัด มีวัฒนธรรมองค์กร ดังนี้คือ  การเคารพผู้อาวุโส มีจิตอาสา มีความเอื้ออาทร     ต่อเพื่อนร่วมงาน มีความเป็นตัวของตัวเองยอมรับเงื่อนไขของโรงเรียน มีความสามัคคีและทำงานเป็นทีม  เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก โดยเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสารสองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก ความสำเร็จขั้นสุดท้ายของโรงเรียนมาตรฐานสากล คือ คุณภาพของผู้เรียน ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวจะต้องมีการบริหารจัดการด้านการพัฒนาหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียน    การสอน และการบริหารจัดการโรงเรียนด้วยระบบบริหารคุณภาพ  จะถือเป็นความสำเร็จในการดำเนินงานของโรงเรียนมาตรฐานสากล บนพื้นฐานความเชื่อว่าถ้าโรงเรียนมีหลักสูตร การจัด    การเรียนการสอน และมีระบบ   การบริหารจัดการโรงเรียนที่ดี ก็จะช่วยทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพที่ดีขึ้น
 
2.วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
   2.1 วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน และการจัดการด้วยระบบคุณภาพสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล
2) เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เทียบเคียงกับมาตรฐานสากล
   2.2 เป้าหมาย
        เชิงปริมาณ
  1. คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนห้วยจริงวิทยา  จำนวน 38 คน
  2. นักเรียนโรงเรียนห้วยจริงวิทยา  จำนวน  634  คน
       เชิงคุณภาพ
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ          ขั้นพื้นฐาน (O-NET) สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. นักเรียนมีทักษะ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษสูงขึ้น 
3. นักเรียนมีทักษะการคิดอย่างวิทยาศาสตร์ (Scientific Thinking)  การคิดวิเคราะห์ (Analytical thinking) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ได้ โดยน้อมนำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. นักเรียนมีทักษะความสามารถในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study) และสามารถสร้างนวัตกรรมได้ด้วยตนเอง
5. นักเรียนเป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะและมีจิตสำนึกในการส่งเสริม พิทักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง เรียนรู้ทักษะชีวิต วิถีชีวิต  ศิลปะ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ ในฐานะเป็นพลโลก

3.ขั้นตอนการดำเนินงาน
    3.1  วิเคราะห์วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ของโรงเรียนห้วยจริงวิทยา
    3.2  บริหารจัดการหลักสูตร  โดยโรงเรียนมีการปรับโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ที่สามารถพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นพลโลก ตามจุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษา เทียบเคียงมาตรฐานสากล
    3.3 การบริหารจัดการโรงเรียนด้วยระบบคุณภาพ
โรงเรียนห้วยจริงวิทยา  ใช้รูปแบบการบริหารจัดการโดยการใช้หลักธรรมาภิบาล(Good Government)  ด้วยการมุ่งเน้นผลผลิต (Out Put) ที่ตัวนักเรียนเป็นสำคัญ และส่งผลดีต่อคณะครู  ผู้ร่วมงาน โรงเรียน ชุมชน  และส่วนราชการ และใช้หลักในการบริหารสถานศึกษาที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม (Participation) และคุณภาพ   เป็นสำคัญ  ได้มีการได้พัฒนาตนเอง  ด้านวิชาชีพและมีวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ  เศรษฐกิจ  สังคม และการเมือง  โดยมีระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ  และวิธีปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้  
1.) วางแผนการปรับปรุง(Plan)    
2.) ดำเนินการปรับปรุง (Do)   
3.) ตรวจสอบวิธีการ และแนวทางของการดำเนินงาน (Check) 
4.) วิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย ปัญหา อุปสรรคของการดำเนินงานเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงผล
การดำเนินงาน (Action)


งานนำเสนอ1 งานนำเสนอ1






  






    3.4 การเตรียมบุคลากร
    3.5 ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stake Holder)
    3.6 เตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานที่เพื่อรองรับการเป็น โรงเรียนมาตรฐานสากล
    3.7 การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดโรงเรียนมาตรฐานสากล
    3.8 สร้างเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนา
    3.9 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

4. ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ
  4.1 ผลที่เกิดกับผู้เรียน  มีการพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นพลโลก ตามจุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
  4.2 ผลที่เกิดกับสถานศึกษา  มีความน่าเชื่อถือ  เป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม 
  4.3 ผลที่เกิดกับชุมชน   ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา  ให้การยอมรับ  สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนเพื่อให้คุณภาพของผู้เรียนเทียบเคียงมาตรฐานสากล
  4.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำนวัตกรรมไปใช้
          1. นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านคุณภาพผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ  มีความเป็นเลิศทางวิชาการ  สื่อสาร       สองภาษา  ล้ำหน้าทางความคิด  ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
          2. สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานเทียบเคียงกับมาตรฐานสากล
          3. ชุมชนให้ความร่วมมือและสนับสนุน กิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
5. ปัจจัยความสำเร็จ
5.1  ปัจจัยภายในที่สำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จ
                    1)  ความพร้อมของทรัพยากรทางการศึกษาทั้งครูและบุคลากรและการบริหารจัดการคุณภาพ
                    2)  ภาวะผู้นำทางวิชาการ ความรู้ ความสามารถ ศักยภาพของคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน   ผู้บริหารโรงเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา

                    3)  ความร่วมมือและการสนับสนุนจากผู้ปกครอง  ชุมชน องค์กรภาครัฐ  องค์กรเอกชนและผู้มีส่วนได้เสียในด้านต่าง ๆ
                    4)  การออกแบบการจัดหลักสูตรสถานศึกษาที่ถูกต้องตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และตรงกับความถนัด ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
                    5)  การจัดอาคาร สถานที่ และบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
                    6)  จำนวนครูแต่ละสาขาวิชามีความเพียงพอ และสอนตรงกับวิชาเอกที่ตนถนัด
                    7)  แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนมีความหลากหลายและเพียงพอ
         8)  การได้รับความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากครูและบุคลากรทางการศึกษาภายในโรงเรียน
         5.2 ปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จ
                  1) นโยบายของรัฐบาลหรือการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูงที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการศึกษาและการขับเคลื่อนที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ
                  2)  การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัฒน์
                  3)  การเข้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
                 4)  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี


6.บทเรียนที่ได้รับ
          6.1 ผู้เรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง


คำอธิบาย: E:My pictureเรียนเคมี .61ม.674524.jpg














6.2 ผู้เรียนสื่อสารสองภาษา   นักเรียนมีทักษะ ทั้งภาษาไทย  ภาษาอังกฤษและภาษาจีนสูงขึ้น
 


6.3  ล้ำหน้าทางความคิด  นักเรียนมีทักษะการคิดอย่างวิทยาศาสตร์ (Scientific Thinking)  การคิดวิเคราะห์ (Analytical thinking) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ได้ โดยน้อมนำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
 

         



6.4 ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์  มีทักษะความสามารถในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study) และสามารถสร้างนวัตกรรมได้ด้วยตนเอง

คำอธิบาย: E:My pictureรูปเดือนพค.มิย61Camera20180530_114637.jpg   
         
6.5 ร่วมกันรบผิดชอบต่อสังคมโลก  เป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะและมีจิตสำนึกในการส่งเสริม พิทักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง    มีทักษะชีวิตเกี่ยวกับวิถีชีวิต  ศิลปะ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ ในฐานะเป็นพลโลก

  




7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
  การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
7.1 จัดประชาสัมพันธ์  e-mail : huayjing@hotmail.com  website: http://hjw.thaischool.in.th/
7.2 เผยแพร่ทางวารสารห้วยจริงวิทยา มอบให้โรงเรียนในสังกัด
7.3 เผยแพร่ทางอีเมล  e-mail :  Jeerapanpi@hotmail.com 
7.4 เครือข่ายการศึกษา
          - วันที่  9  กันยายน  2560  จัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานโรงเรียนที่มีผลปฏิบัติเป็นเลิศในกิจกรรม       “ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้”  งานแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหกรรมวิชาการและผลงานครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขต  33
- วันที่ 22 มกราคม  2561  จัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานและประกวดผลงาน  รางวัลทรงคุณค่า(OBEC  AWARDS)  ด้านการบริหารจัดการ  โรงเรียนขนาดกลาง  ได้รับรางวัล  เหรียญทอง  ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ณ  จังหวัดขอนแก่น
-วันที่  12  มีนาคม  2561 จัดนิทรรศการรางวัลทรงคุณค่า(OBEC  AWARDS)  ด้านการบริหารจัดการ  โรงเรียนขนาดกลาง  ได้รับรางวัล  เหรียญทอง  และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะผู้บริหารในสหวิทยาเขต 4(ศรีสำโรง) 
-วันที่  7  สิงหาคม  2561  จัดนิทรรศการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะนิเทศของสหวิทยาเขต 4(ศรีสำโรง)  ด้านการบริหารจัดการการปฏิบัติงานมัธยมศึกษา  8  ด้าน   และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
 จากผลการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ให้ได้รับรางวัลดังนี้
ที่ ชื่อ –  สกุล รางวัลที่ได้รับรอบปีการศึกษา 2560 หน่วยงาน วันที่
1 โรงเรียนห้วยจริงวิทยา ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการประกวดคลิปวิดีโอ  “สร้างค่านิยม  Gen – Z Strong  ได้พึ่งบุหรี่” สถานีวิทยุกระจายเสียง
แห่งประเทศไทย  จังหวัดสุรินทร์
24  มิ.ย. 2560
2 โรงเรียนห้วยจริงวิทยา ได้รับรางวัลที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ(Best  Practice) 
ด้านโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับ  สพม. 33 และเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษา  จังหวัดสุรินทร์ 8 ก.ย. 2560
3 โรงเรียนห้วยจริงวิทยา ได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ
ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ชมรมพุทธศาสตร์สากล 16 ธ.ค.2560
4 โรงเรียนห้วยจริงวิทยา ได้รับรางวัล  เหรียญทองแดง         เรื่อง “8 รัก MODEL”ห้วยจริงวิทยาเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียน ในการคัดสรรผลงานหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม ประจำปีการศึกษา 2560
“ระดับภูมิภาค”
สำนักงานเลขาธิการ
คุรุสภา
16  ม.ค. 2561
5 โรงเรียนห้วยจริงวิทยา ได้รับรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง การประกวดกล่าวคำอาราธนาและถวายทานในพุทธศาสนาพิธี ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4 – ม.6 คณะสงฆ์
อำเภอศีขรภูมิและสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์
27 ก.พ. 2561
6 โรงเรียนห้วยจริงวิทยา ได้รับรองชนะเลิศอันดับสอง
การประกวดโต๊ะหมู่บูชา (หมู่ 9)

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0