โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี นำวิถีพอเพียงสู่ชุมชน

โรงเรียน : สารทิศพิทยาคม สพม.น่าน

ระดับ : ระดับจังหวัด

กลุ่มสาระฯ : การงานฯ

เผยแพร่เมื่อ : 7 ก.ย. 2561 โดย : มณีรัตน์ ตาดี จำนวนผู้เข้าชม 428 คน


ชื่อผลงาน (Best Practices)  พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี นำวิถีพอเพียงสู่ชุมชน
คำสำคัญ
      กลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี นำวิถีพอเพียงสู่ชุมชน โรงเรียนยาบหัวนาวิทยา  หมู่ที่ 4 ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา  จังหวัดน่าน  เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่  1 กุมภาพันธ์ 2561 เนื่องจากนักเรียนมีวิถีชีวิตค่อนข้างขัดสน             ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกข้าวโพดเป็นหลักซึ่งอาชีพดังกล่าวทำให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเคมี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสภาพแวดล้อมทั้งทางอากาศและน้ำ ในปีที่ผ่านมาราษฎรประสบปัญหาในการขายผลผลิตทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว นักเรียนเองก็ได้รับผลกระทบไปด้วย นักเรียนหลายคนต้องแบ่งเวลาไปช่วยครอบครัวทั้งในวันราชการและวันหยุด ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถทุ่มเทให้กับการเรียนได้อย่างเต็มที่ โรงเรียนยาบหัวนาวิทยา ตั้งอยู่เลขที่ 198 หมู่ที่ 4 บ้านป่าหุ่ง ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
สังกัดสพม. 37 จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีคุณธรรม มีความรู้ นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุข จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อกระตุ้นปลูกฝัง และให้ความรู้แก่นักเรียนและชุมชนให้สามารถน้อมนำแนว              พระราชดำรัส  “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไปใช้ในการดำเนินชีวิต           ให้เป็นปกติสุข ไม่ตกเป็นทาสของ ความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย มุ่งหวังให้นักเรียนและชุมชน มีความสามารถในการวิเคราะห์ตนเอง แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด
วัตถุประสงค์
                   1. เพื่อให้นักเรียน คณะครู ผู้ปกครอง คณะกรรมากรสถานศึกษา และชุมชน มีความรู้และทักษะกระบวนการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                   2. เพื่อให้นักเรียน คณะครู ผู้ปกครอง คณะกรรมากรสถานศึกษา และชุมชน มีทักษาในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม อยู่ภายใต้ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี และที่สำคัญต้องมีความรู้คู่คุณธรรม เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพได้
                   3. โรงเรียนและชุมชนใช้บริการและร่วมเรียนรู้  อันจะก่อให้เกิดรายได้และความร่วมมือในการจัดการองค์ความรู้และร่วมกิจกรรมเพื่อบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
เป้าหมายตัวชี้วัดโครงการ
          เชิงปริมาณ
                      - นักเรียนโรงเรียนยาบหัวนาวิทยา จำนวน 113 คน คณะครู จำนวน 16 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน กรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 6 คนและผู้ปกครองที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 คน
เชิงคุณภาพ
                        - ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาเป็นแนวทางดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพอย่างถูกต้อง และสามารถพึ่งตนเองได้
                        - โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านงานอาชีพให้กับนักเรียนและชุมชน
ให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป็นไปตามเป้าหมายของนวัตกรรมที่กำหนดขึ้นได้นั้น โรงเรียนได้ดำเนินการ ดังนี้
          เทคนิค STAR ที่โรงเรียนยาบหัวนาวิทยา  หมายถึง  รูปแบบการบริหารจัดการในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้เป็นคนมีคุณภาพแบบพอเพียงตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มีความรู้  ความสามารถ รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ ปลูกฝังอาชีพ  สร้างความสามารถเฉพาะตัว เช่น ดนตรี ศิลปะ กีฬา  รักสิ่งแวดล้อม เข้าใจวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น  ใช้หลักศาสนาดำเนินชีวิต ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ ดังนี้
          S – STAFFED   หมายถึง    การสร้างแนวร่วมซึ่งมีอุดมการณ์เดียวกันในการมุ่งพัฒนาตนเองสู่ความเป็นคนพอเพียงมีการดำเนินการ 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การชี้ให้เห็นปัญหา และผลกระทบ 2) ยกย่องคนตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ  3) แลกเปลี่ยนมุนมอง 4) ยกตัวอย่างสถานการณ์จริง 5) กำหนดอุดมการณ์ของตนเอง และ 6) ตัดสินใจเป็นแนวร่วม
          T – TRAINED  หมายถึง   กระบวนการนำผู้เข้าเป็นแนวร่วมเข้ารับการอบรมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ชัดเจน ถ่องแท้  ได้รับประสบการณ์ตรง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเดิม มาใช้วิถีทางการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
          A – ADMINISTATION  หมายถึง  การนำหลักการบริการการศึกษามาบริหารจัดการแนวร่วมที่ผ่านการอบรมแล้วเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้า  สร้างประสบการณ์จริง  ฝึกประสบการณ์จนเกิดความชำนาญ และติดเป็นนิสัยประจำตัว ประกอบด้วยการดำเนินการ 2 ลักษณะ ดังนี้
          1. บริหารจัดการในรูปแผนงาน/กิจกรรม จำนวน 3 กิจกรรมได้แก่ กิจกรรมชีววิถี กิจกรรมการเพาะเห็ด กิจกรรมการทำสบู่สมุนไพร มีครูเป็นที่ปรึกษา นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติ
          2. บริหารจัดการผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
(กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้)
          R- RESULT หมายถึง   ผลสำเร็จจากการดำเนินการตามกระบวนการพัฒนา โรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยเทคนิค  STAR  ที่โรงเรียนยาบหัวนาวิทยา  ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีผลการประเมินเป็นไปตามตัวบ่งชี้ จำนวน  7 ข้อ ดังนี้
          1. นักเรียน  ร้อยละ 70  ของโรงเรียนสามารถยกระดับผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร สูงขึ้นจากเดิม ร้อยละ 5
          2. นักเรียน ร้อยละ 70  เข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และผ่านการประเมิน
ในระดับ ดี
          3. นักเรียน ร้อยละ 70 มีความสามารถด้านกีฬา  และเข้าร่วมแข่งขันกีฬา  อย่างน้อยในระดับโรงเรียน
          4. นักเรียน  ร้อยละ 70  ได้รับการส่งเสริมอาชีพ และนำระบบสหกรณ์มาใช้ในการดำเนินชีวิต
          5. นักเรียนร้อยละ 70 ร่วมกิจกรรมด้านวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนอย่างน้อย ปีการศึกษาละ 5 ครั้ง   
6. นักเรียนร้อยละ70  เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และผ่านการประเมินในระดับ ดี
          7. นักเรียน ร้อยละ70 เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และมีผลงานอย่างน้อย 3 รายการ

  1. ผลการดำเนินงาน

          จากกระบวนการในการดำเนินงานตามขั้นตอนของนวัตกรรมพบว่า ในขั้นที่  1  S – STAFFED  โรงเรียน
ได้ดำเนินการสร้างแนวร่วม ตาม กระบวนการ 6 ขั้นตอน  มีนักเรียนให้ความสนใจเข้าเป็นแนวร่วมทั้งโรงเรียน
จำนวน 113 คน โรงเรียนได้จัดอบรมให้ความรู้ และลงมือปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง จำนวน 3 วัน นักเรียนทุกคน
ผ่านการอบรม และหลังจากนั้นให้ผู้ผ่านการอบรมต้องเข้ารับการปฏิบัติงานจริง ระยะเวลา 2 ภาคเรียน ใน 2 ส่วน ดังนี้
          ส่วนที่ 1  นักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม จำนวน 3 กิจกรรม ทางโรงเรียนได้กำหนดวิธีการทำงานไว้เป็นรูปคณะกรรมการ จำนวน 3 ชุด ในแต่ละชุดจะรับผิดชอบ จำนวน 1 กิจกรรม โดยทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากิจกรรม จัดบริหารกิจกรรม  มีกรรมการ 4 คน และเลขานุการ 1 คน ฝึกกิจกรรมโครงการระยะเวลา 2 ภาคเรียน และเมื่อเสร็จสิ้นโครงการในปลายปีการศึกษา  2561  ได้สรุปผลโครงการ จัดทำรายงานเสนอผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารโรงเรียน  โดยใช้รูปแบบการรายงานโครงการที่คณะกรรมการของโรงเรียนกำหนดให้  ปรากฏว่านักเรียนสามารถปฏิบัติงานได้ในระดับ ดี มีผลงานให้ปรากฏตามวัตถุประสงค์ในแต่ละกิจกรรมที่กำหนด
          ส่วนที่ 2 นักเรียนต้องได้รับการพัฒนาผ่านกระบวนการเรียนการสอน ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้  และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยสอดแทรกในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  โดยคณะครูต้องสอดแทรกแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่บันทึกการเรียนรู้ และนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อนักเรียน  จากการประเมินผลหลังสอน นักเรียนได้รับความรู้ และประสบการณ์ในการปลูกฝังแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านเกณฑ์การประเมินรายจุดประสงค์ใน
แผนการจัดการเรียนรู้
          การดำเนินการใน 2 ส่วน ดังที่กล่าวจะกระทำไปพร้อมๆ กัน โดยที่โรงเรียนได้ตั้งคณะทำงานดำเนินการด้านประเมินผลในการออกแบบประเมินนักเรียนที่เข้ามาร่วมกิจกรรม โดยใช้กรอบการประเมินตามวัตถุประสงค์ในการพัฒนานวัตกรรมที่กำหนดไว้ ทำการประเมินตามรายตัวบ่งชี้ จำนวน 8 ข้อ  และเมื่อประเมินผลตามตัวบ่งชี้ พบว่า นักเรียนมีผลการประเมิน ดังนี้

  1. นักเรียน  ร้อยละ 75.00  ของโรงเรียนสามารถยกระดับผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร สูงขึ้นจากเดิม ร้อยละ 5
          2. นักเรียนร้อยละ 80.00 เข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรม และผ่านการประเมินในระดับ ดี
          3. นักเรียนร้อยละ 80.00   มีความสามารถด้านกีฬา   และเข้าร่วมแข่งขันกีฬา อย่างน้อยในระดับโรงเรียน
          4. นักเรียน ร้อยละ 80.00 ได้รับการส่งเสริมอาชีพ และนำระบบสหกรณ์มาใช้ในการดำเนินชีวิต
          5. นักเรียนร้อยละ 90.00 ร่วมกิจกรรมด้านวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชน อย่างน้อย ปีการศึกษาละ 5 ครั้ง
          6. นักเรียน ร้อยละ  90.00  เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และผ่านการประเมินในระดับ ดี
          7. นักเรียนร้อยละ 80.00  เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และมีผลงานอย่างน้อย 3 รายการ
          8. นักเรียนร้อยละ 80.00  เข้าร่วมกิจกรรมมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของโรงเรียน 8 ประการ
ประโยชน์ที่ได้รับ          4.1   ด้านนักเรียน
                   นักเรียนได้รับการปลูกฝังแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดี มีวินัย ความรับผิดชอบ รักการเรียนรู้
ใฝ่หาความรู้ รู้จักการทำงานมีทักษะอาชีพจากผลผลิตโครงการชีววิถี การเพาะเห็ด และการทำสบู่สมุนไพรมีทักษะการจัดการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทักษะการทำงานและการใช้ICT  มีความสามารถพิเศษหลายด้าน เช่น การดูแลสุขภาพ การดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ นำระบบสหกรณ์มาใช้ในการดำเนินชีวิต  รักขนบธรรมเนียมภูมิใจในตัวเองและท้องถิ่น และนำหลักศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
มีทักษะการคิด วิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสาร
          4.2 ด้านบุคลากร 
                   มีความรัก ความร่วมมือกันในการทำงาน  มีวัฒนธรรมที่ดีในการปฏิบัติงาน เนื่องจากทุกฝ่ายงานต้องรับผิดชอบ และต้องดำเนินไปอย่างมีระบบ ทุกคนต้องกระตือรือร้น ให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จ จึงเกี่ยวโยงให้มีการทำงานตามปฏิทินงาน ส่งผลให้งานสำเร็จลุล่วง เกิดผลดีต่อการจัดการศึกษาในภาพรวมของโรงเรียน
          4.3 ด้านโรงเรียน
                   โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 มีผลงานเป็นที่ปรากฏเป็นรูปธรรม  เช่น เป็นโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา และเป็นโรงเรียนที่ผ่านการประเมินโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียนระดับประเทศของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารต้องสร้างแรงบันดาลใจให้คณะครู และนักเรียน ตลอดจนถึงชุมชนเกิดความรัก และห่วงแหนในศักดิ์ศรีของโรงเรียน และร่วมมือกันทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
          4.4 ด้านชุมชน
                   เป็นที่ไว้วางใจของชุมชนในการส่งบุตรหลานมาเข้าเรียน และทำให้ชุมชนเข้ามาร่วมในการบริหารจัดการ และร่วมรับรู้การกำหนดทิศทางในการพัฒนาลูกหลานตนเอง  นอกจากนี้ยังเป็นกลางในการให้ความรู้แก่ชุมชนในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  
          ปัจจัยที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ             
        1. มีความเสียสละความสามัคคี

        2. มีความซื่อสัตย์และความโปร่งใสของกลุ่ม
       3. สมาชิกกลุ่มเข้าใจถึงวิธีการทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี
      4. มีความอดทน อดทนต่อสถานการณ์ต่างๆ ในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานที่ได้รับมอบหมาย
พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของกลุ่ม หรือเพื่อนร่วมงาน อดทนกับคำพูดจา ดูถูก สบประมาท
                5. รักงานที่ทำเรามีความสุขกับงานที่ทำ
      6. ปัญหาและอุปสรรค

ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเปิดดอกของเห็ด
1. เชื้อเห็ดเดินเต็มถุงแล้วไม่ออก
2. เชื้อเห็ดเดินเต็มที่แล้ว ดอกเห็ดออกช้า ผลผลิตต่ำ
3. ลักษณะดอกผิดรูป
4. ดอกมีสีดำคล้ำ
5. ดอกเหี่ยวเฉาตายเอง
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับไก่ไข่
ทางโรงเรียนขาดผู้ที่มีความรู้ในเรื่องการเลี้ยงไก่จึงทำให้ได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร


 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0