โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

ค่ายคณิตศาสตร์

โรงเรียน : นางรอง สพม.บุรีรัมย์

ระดับ : ระดับสหวิทยาเขต

กลุ่มสาระฯ : คณิตศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ : 19 มิ.ย. 2561 โดย : สมพิศ ทวีลาภ จำนวนผู้เข้าชม 262 คน


. ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ

ด้วยเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา  ๒๒  ที่ว่า  “ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ  ...”และในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดให้รายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อเป็นการนำความรู้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตและศึกษาต่อการมีเหตุมีผลมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ นอกจากนี้วิชาคณิตศาสตร์เป็นรายวิชาพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต และการศึกษาต่อ แต่จากผลการประเมินคุณภาพเพื่อพัฒนาผู้เรียน (O-NET) ประจำปีการศึกษา๒๕๕๖-๒๕๕๗ พบว่าผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓โรงเรียน ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ค่าเฉลี่ยร้อยละ 45.57 และในปีการศึกษา ๒๕๕๗ ค่าเฉลี่ยร้อยละ46.91    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6โรงเรียน ในปีการศึกษา ๒๕๕6ค่าเฉลี่ยร้อยละ 41.91 และในปีการศึกษา ๒๕๕๗ ค่าเฉลี่ยร้อยละ42.16 จะเห็นได้ว่าผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ ๕๐ การที่ผลสัมฤทธิ์นักเรียนต่ำอาจเนื่องมาจากนักเรียนไม่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ขาดเป้าหมายในการเรียน ขาดเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์  ขาดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์และส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ จึงได้เสนอให้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้นักเรียนกลุ่มที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
การเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มีกระบวนการและวิธีการที่หลากหลาย ผู้สอนต้องคำนึงถึงพัฒนาการทางด้านร่างกาย และสติปัญญา วิธีการเรียนรู้ ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียนเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น  ควรใช้รูปแบบวิธีการที่หลากหลายเน้นการเรียนการสอนตามสภาพจริง มีทั้งการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้จากธรรมชาติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และการเรียนรู้แบบบูรณาการ  เป็นรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถบูรณาการความรู้ด้านต่างๆเข้าด้วยกัน พัฒนาการคิดของผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ แล้วยังมุ่งพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ โดยการปลูกฝังให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง เข้าใจตนเอง  เห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางอารมณ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  ช่วยให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถและความสนใจของตนเอง
       การจัดโครงการค่ายคณิตศาสตร์ เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความรู้  พัฒนาทักษะความสามารถวิชาคณิตศาสตร์ ได้เป็นอย่างดี สามารถนำความรู้ที่ได้
เป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินชีวิตและการศึกษาต่อในอนาคต อีกทั้งฝึกฝนการอยู่ร่วมกัน การทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ การยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  เพื่อเป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคมต่อไป

          ด้วยเหตุนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จึงเล็งเห็นว่าควรจัดกิจกรรมค่ายค่ายวิชาการคณิตศาสตร์ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์และส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเป็นแนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และโดยภาพรวมของโรงเรียนอีกทางหนึ่ง

. วัตถุประสงค์ของโครงการ
.๑เพื่อจัดกิจกรรมค่ายการเรียนรู้ในรูปแบบการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์
ที่เน้นความรู้และทักษะจากการปฏิบัติจริง
          ๒
.๒ เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพทางคณิตศาสตร์ ในการที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

.๓ เพื่อให้นักเรียนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์
.๔เพื่อฝึกการทำงานเป็นหมู่คณะ  ซึ่งจะต้องเป็นคนมีระเบียบวินัย  อดทน  เสียสละ  ตรงต่อเวลา  สามารถเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้

. เป้าหมาย

.๑ เป้าหมายเชิงปริมาณ
  • นักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑๕๖ คน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑                          จำนวน ๑๕๓คน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒                          จำนวน   ๓ คน
  • คณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                    จำนวน   ๓๓คน
  • วิทยากร                                                         จำนวน   ๕คน  
.๒ เป้าหมายเชิงคุณภาพ
นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเข้าค่ายคณิตศาสตร์ได้รับความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดและสามารถนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์
๒. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
๓. ได้แนวทางในการสอนเสริมเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในระดับอื่นต่อไป


วิธีการดำเนินงาน

การดำเนินงานโครงการค่ายวิชาการคณิตศาสตร์ ในครั้งนี้มีวิธีการดำเนินงาน ดังรายละเอียด

1. กิจกรรมดำเนินการ
              ๑. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน
              ๒. เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ
              ๓. ติดต่อประสานงาน
              ๔. เตรียมวัสดุอุปกรณ์โครงการ
              ๕. จัดโครงการ
              ๖. ประเมินผลโครงการ

2.ขั้นตอนและปฏิทินการดำเนินการ
 

ที่ กิจกรรมดำเนินการ ระยะเวลาดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ
๑. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและวางแผนกิจกรรม เดือน พฤษภาคม  2560
  ๑.๑ ประชุมคณะครูเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการ ก.ค. 60 ครูกลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์
  ๑.๒ วางแผนกิจกรรม ก.ค. 60 ครูกลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์
๒. เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ ต.ค. 59
  ๒.๑ เขียนโครงการ ต.ค. 59 สุทิน
  ๒.๒ ขออนุมัติโครงการ ต.ค. 59 โสม
  ๒.๓ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ต.ค. 59 โสม
๓. ติดต่อประสานงาน มิ.ย. 60
  ๓.๑ จัดเตรียมสถานที่ ส.ค. 60 นักศึกษาฝึกประสบการณ์ และ ครูกลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์
  ๓.๒ จัดเตรียมเนื้อหา/วิทยากร ส.ค. 60 ครูกลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์
  ๓.๓ เตรียมเรื่องสวัสดิการ(อาหาร เครื่องดื่ม ยา) ส.ค. 60 ครูกลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์
  ๓.๔ เตรียมกิจกรรมนันทนาการ ส.ค. 60 สุวจนา  ธนพล
 
  ๓.๕ เตรียมพิธีการและเอกสารกล่าวเปิด/ปิด ส.ค. 60 ครูกลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์
  ๓.๖ ติดต่อทำหนังสือขออนุญาต ผู้ปกครองของนักเรียน และหนังสือเชิญพิธีเปิด ส.ค. 60 ครูกลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์
๔. เตรียมวัสดุอุปกรณ์โครงการ ก.ค. 60
  ๔.๑  วัสดุอุปกรณ์เกม ก.ค. 60 ครูกลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์
  ๔.๒ ป้ายชื่อ ก.ค. 60 ครูกลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์
  ๔.๓ แบบประเมินผลโครงการ ก.ค. 60 ครูกลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์
  ๔.๔ ป้ายโครงการ ก.ค. 60 ครูกลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์
๕. จัดค่ายวิชาการ คณิตศาสตร์ 20 ส.ค. 60
  ๑.๑  พิธีการเปิด 20 ส.ค. 60 สุทิน
  ๑.๒ กิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการ 20 ส.ค. 60 ครูกลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์
  ๑.๓ กิจกรรมพัฒนาวิชาการ 20 ส.ค. 60 ครูกลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์
  ๑.๔ กิจกรรมนันทนาการ 20 ส.ค. 60 สุวจนา  ธนพล
๖. ประเมินผลโครงการ ก.ค. – ส.ค. 60
  ๖.๑ จากแบบสอบถาม ก.ค. – ส.ค. 60 นักศึกษาฝึกประสบการณ์
  ๖.๒ จากแบบวัดความรู้และเจตคติ ก.ค. – ส.ค. 60 สุวจนา
  ๖.๓ ประชุมสรุปเป็นรูปเล่มรายงาน ก.ค. – ส.ค. 60 สุวจนา


                  ผลการดำเนินการ
ผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจในกิจกรรมในระดับ ดีมาก และมีความพึงพอใจ ๕ อันดับแรก ได้แก่
วิชาคณิตศาสตร์ช่วยพัฒนาสมองวิชาคณิตศาสตร์มีประโยชน์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
วิชาคณิตศาสตร์ช่วยพัฒนาความเจริญทางด้านเทคโนโลยีวิชาคณิตศาสตร์



 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0