โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

กิจกรรมการเรียนรู้มุ่งสู้ทักษะอาชีพ นางนิภาดา ลือสมุทร

โรงเรียน : ประจันตราษฏร์บำรุง สพม.ปราจีนบุรี นครนายก

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : การงานฯ

เผยแพร่เมื่อ : 4 ม.ค. 2567 โดย : พิไลพรรณ เทพศรี จำนวนผู้เข้าชม 6 คน


การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มุ่งสู่ทักษะอาชีพ โดยใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ PDCA ในการจัดกิจกรรมของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ได้แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มตามความสนใจของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการวางแผนและปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบตามกระบวนการของวงจรคุณภาพ PDCA ดังนี้















1. P = Plan (ขั้นตอนการสร้างความเข้าใจและวางแผนดำเนินงานร่วมกัน)
ผู้เรียนมีการประชุมวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน ระยะเวลาการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ และงบประมาณที่จะใช้
2. D =Do (ขั้นตอนการดำเนินงาน)
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานตามกรอบงานที่วางแผนไว้เป็นกลุ่ม
3. C = Check (ขั้นตอนการตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน)
ผู้เรียนแต่ละกลุ่มได้ตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้ทราบว่าในขั้นตอนการปฏิบัติงานสามารถบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
4. A = Act (ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข)
ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำผลการปฏิบัติงานมาประเมินวิเคราะห์ว่า มีขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และสังเคราะห์รูปแบบการดำเนินการใหม่ที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการครั้งต่อไป



การดำเนินงานสามารถสรุปเป็น Flow Chart ได้ดังนี้














ในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มุ่งสู่ทักษะอาชีพ โดยใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนานักเรียนด้านทักษะการทำงานและการมีความคิดสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาได้ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน พร้อมเข้าสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
ผลที่ได้รับจากการดำเนินงาน เพื่อสร้างทักษะและความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ด้วยนวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มุ่งสู่ทักษะอาชีพ โดยใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนานักเรียนดังนี้
1. นักเรียนมีทักษะการวางแผน และปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบตามกระบวนการของวงจรคุณภาพ PDCA
2. นักเรียนได้ฝึกกระบวนการทำงาน ฝึกความรับผิดชอบ มีวินัยและฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น สอดคล้องกับมาตรฐานในเรื่องทักษะในการทำงาน และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
3. นักเรียนนำความรู้ ทักษะต่างๆ ไปพัฒนาจนสามารถเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการภายนอกโรงเรียนได้
4. นักเรียนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
5. นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้สามารถสร้างสรรค์ผลงาน นำเสนอผลงานได้
6. นักเรียนได้ประสบการณ์ในการทำงานเป็นกลุ่ม และมีพื้นฐานในการเตรียมตัวสู่อาชีพในอนาคตได้
7. นักเรียนมองเห็นช่องทางการประกอบอาชีพ
 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0