โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสมรรถนะการอ่านโดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ด้วยสื่อหนังสือเล่มเล็ก นางสาวดรรชนี ยิ่งยุทธ

โรงเรียน : ประจันตราษฏร์บำรุง สพม.ปราจีนบุรี นครนายก

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : ภาษาไทย

เผยแพร่เมื่อ : 4 ม.ค. 2567 โดย : พิไลพรรณ เทพศรี จำนวนผู้เข้าชม 6 คน


การอ่านมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะการอ่านเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการสำเร็จในด้านการเรียนรู้ การศึกษาต่อรวมไปถึงการนำไปใช้ในการประกอบอาชีพของนักเรียนต่อไปในอนาคต ซึ่งนอกจากการอ่านจะเป็นการช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ ด้านความรู้และด้านความคิดแล้ว การอ่านที่มีสมรรถนะการอ่านได้อย่างถูกต้อง จะสามารถนำประสบการณ์จากความรู้และความคิดไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างดี เช่น การอ่านและวิเคราะห์งานเขียนประเภทต่าง ๆ อีกทั้งการอ่านยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างรู้เท่าทัน แต่จากการประเมินผลด้านความฉลาดรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) จากการทดสอบ PISA พบว่า สมรรถนะด้านความฉลาดรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนไทยลดลง เมื่อเทียบกับผลการทดสอบของประเทศอื่นที่เข้าร่วม จึงทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสมรรถนะการอ่านโดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ด้วยสื่อหนังสือเล่มเล็ก
          การปฏิบัติงานที่เปนเลิศ (Best Practice) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่าน โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยสื่อหนังสือเล่มเล็ก 2) เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางภาษาไทยและทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 3) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล อย่างครบถ้วน และเป็นระบบ นำองค์ความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์เป็นนวัตกรรม 4) เพื่อให้ผู้เรียนมีความเป็น เลิศทางภาษา ค้นคว้าและเกิดความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ นำเสนอร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 5) เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้าเผยแพร่ในวงกว้าง ทั้งภายในสถานศึกษาและชุมชนภายนอก เครื่องมือที่ใช้ในการสังเคราะห์เป็นนวัตกรรม การจัดการเรียนการสอน Active learning โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยสื่อหนังสือเล่มเล็ก โดยกระบวนการพัฒนานวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ใช้วิธี System Approach ประกอบด้วย Input Process Output Feedback และทุกขั้นตอนจะควบคุม โดยวงจรคุณภาพ PDCA
          ผลการปฏิบัติงานพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยด้านการอ่านเพิ่มขึ้น ได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางภาษาไทยและทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ค้นคว้าและคิด นำเสนอ และประเมินผล อีกทั้งสามารถ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล ได้อย่างครบถ้วน และเป็นระบบ นำองค์ความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์เป็นนวัตกรรมหนังสือเล่มเล็กของตนเอง
 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0