โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (Active Learning)

โรงเรียน : มัธยมจารพัตวิทยา สพม.สุรินทร์

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 3 ก.ย. 2561 โดย : นางสาวศิวพร  หวังทางมี จำนวนผู้เข้าชม 549 คน


แบบรายงานนวัตกรรม/วิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practices)
ประเภทของนวัตกรรม/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ โรงเรียนที่ขับเคลื่อนนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
                                                          (Active Learning)                                                   
ชื่อวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)  ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (Active Learning)
โรงเรียน มัธยมจารพัตวิทยา           สหวิทยาเขต  4
ชื่อ-สกุล ผู้บริหารสถานศึกษา  นางกชพร  ธรรมวิเศษ
จำนวนครูทั้งหมด   15   คน       จำนวนนักเรียนทั้งหมด   94  คน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
1. ความสำคัญของนวัตกรรม/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาได้น้อมนำพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “การจัดการศึกษาต้องดูภาพรวมทั้งประเทศ เพราะทุกวันนี้การศึกษาค่อนข้างอ่อนแอ และมุ่งเน้นการเรียนการสอนเนื้อหาบางเรื่องมากเกินไป ทรงมีพระราชดำริให้มีการนำองค์ 4 แห่งการศึกษา คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา และหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ หมายถึง การพัง การคิด การถาม และการเขียน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของนักปราชญ์ และบัณฑิต อีกทั้งยังจะเป็นเทคนิคในการช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนเก่งมากขึ้น” และนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” มาสู่การปฏิบัติในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ครูผู้สอนมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนที่เน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติ และเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ และมีความสุขในการเรียนอย่างแท้จริง
โรงเรียนมัธยมจารพัตวิทยา จึงมีการพัฒนาการจัดกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ให้เชื่อมโยงกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และยังคงเน้นเป้าหมายการพัฒนา 4H ทั้งนี้ ให้ความสำคัญทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ โดยมุ่งเน้นลดเวลาเรียนในลักษณะการรับการถ่ายทอดความรู้ด้วยการบรรยาย/สาธิต เพิ่มเวลาและโอกาสในการสร้างความรู้ด้วยตนเองผ่านการลงมือปฏิบัติ มีความสุขกับการเรียนรู้ ปรับบทบาทครูจากการเป็นผู้สอนมาเป็นผู้ให้คำปรึกษาชี้แนะ มีการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนอย่างหลากหลายตามสภาพจริง และเชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
          2.1 วัตถุประสงค์
                   2.1.1 เพื่อขับเคลื่อนการนำหลักสูตรสถานศึกษา ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
                   2.1.2 เพื่อให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตามความสนใจ และถนัดของนักเรียนแต่ละบุคคล
                   2.1.3 เพื่อให้สถานศึกษาสามารถการบริหารจัดการเวลาเรียน และจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ได้อย่างเหมาะสม ทั้งด้านวิชาการ ด้วนปฏิบัติ นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพตามความสนใจ และถนัดของนักเรียนแต่ละบุคคล
                   2.1.4 เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พัฒนาตนเองตามความสนใจ และความถนัดอย่างเต็มศักยภาพและมีความสุขในการเรียนรู้
                   2.1.5 เพื่อให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษามีความพึงพอใจในการจัดการศึกษาของโรงเรียนและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
          2.2 เป้าหมาย
                   2.2.1 เชิงปริมาณ
                              1. โรงเรียนร้อยละ 100  สามารถจัดกิจกรรมตามแนวทาง นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ได้อย่างมีคุณภาพเป็นปรกติ
                              2. โรงเรียนร้อยละ 15 ได้รูปแบบการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ กลุ่มสาระหลักในห้องเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัดของหลักสูตร
                              3. โรงเรียนมีรูปแบบการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัดของหลักสูตรอย่างน้อย 2 กลุ่มสาระหลัก
2.2.2 เชิงคุณภาพ
1. ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมตามความถนัดและความสนใจ อย่างมีความสุข
                             2. ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองรอบด้าน ครอบคลุม 4 H
                             3. ผู้เรียนได้รับโอกาสและมีเวลาลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้นในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
                             4. ผู้เรียนได้รับพัฒนาความสามารถพื้นฐานตามหลักสูตรและคุณภาพเด็กไทยยุค 4.0
                             5. ครูปรับบทบาทของตนเองจากผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกของกิจกรรมมากขึ้น
                             6. โรงเรียนมีระบบนิเทศภายในที่ส่งผลต่อการปรับคุณภาพการสอนมากขึ้น                  
          7. โรงเรียนมีระบบปฏิบัติการที่เข้มแข็ง     
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นที่ ๑ การเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
          ๑.๑ โรงเรียนมัธยมจารพัตวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ สมัครเข้าร่วมตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
          ๑.๒ โรงเรียนมัธยมจารพัตวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๓ รับนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ให้สอดคล้องตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างการรับรู้ร่วมกันในระดับเขตพื้นที่การศึกษา เขต 33
          1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ จัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” โดยให้เข้าร่วมรับฟังแนวทางการดำเนินกิจกรรม โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ สร้างความรู้ ความเข้าใจ ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
         1.4 คณะกรรมการดำเนินการร่วม ศึกษา วิเคราะห์ นโยบายเอกสาร คู่มือการบริหารจัดการเวลาเรียน“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
         1.5 กำหนดตัวชี้วัดภาพความสำเร็จอย่างชัดเจน คือ นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และชุมชน มีความพึงพอใจ ต่อการจัดกิจกรรม อยู่ใน ระดับ มาก
         1.6 ดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงาน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
         ๑.7 ประชุมแจ้ง ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าร่วมตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
ขั้นที่ 2 แนวทางการบริหารจัดการเวลาเรียน และการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
2.๑ ประชุมวางแผนฝ่ายบริหารวิชาการ
          2.๒ ประชุมหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และคณะกรรมการหลักสูตร เพื่อ ปรับโครงสร้างเวลาเรียน และตารางเรียนตารางสอน ดังแนบท้าย
          ๒.๓ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เลือกแนวทาง เป็นแนวทางที่โรงเรียนจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ให้นักเรียนได้เลือกปฏิบัติและจัดกิจกรรมตามกลุ่มห้องเรียน เสนอกิจกรรม
.๔ ครูเตรียม แผนการจัดกิจกรรม นำเสนอนักเรียน
.5 นักเรียนเข้าเรียน กิจกรรมตามที่กำหนด และครูสอนกิจกรรมตามที่นักเรียนนำเสนอ
          2.6 เลือกกำหนดกิจกรรมให้ตอบสนองความต้องการและวุฒิภาวะของผู้เรียน เช่น การทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร, การเล่นตรี, การเล่นกีฬา, การประกอบอาหาร ฯลฯ
          2.7 ส่งเสริม สนับสนุน ปัจจัยให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรม จัดเตรียมงบประมาณ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และ จัดเตรียมเอกสาร สื่อ และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการจัดกิจกรรม
.8 กำกับ ติดตามการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ ตามคำสั่ง
ขั้นที่ 3 การสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรม”ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
          3.๑ สร้างความรู้ ความเข้าใจ ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” แก่คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ครู นักเรียน และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยการประชุมชี้แจง
3.2 นำเสนอด้วยแผ่นพับ แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ ให้ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ
          ๓.3 ประชุมครูผู้สอนให้รับทราบการปรับโครงสร้างเวลาเรียน ตารางสอน และคู่มือ การจัดกิจกรรม
          ๓.4 ประชุมนักเรียน ปฐมนิเทศ การดำเนินกิจกรรม ตามคู่มือ คู่มือ เส้นทางดำเนินกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” และ สมุดการวัดและประเมินผล วัดความพึงพอใจ
ขั้นที่ 4 การจัดระบบสารสนเทศ
4.1 ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
4.1.1 ผู้อำนวยการโรงเรียน     นางกชพร  ธรรมวิเศษ  
4.1.2 หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ   นางสาวอรสุรางศ์  ถือกล้า
4.1.3 หัวหน้ากลุ่มบริหารทั่วไป   นางน้ำผึ้ง  สิงห์เสน
4.1.4 หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ    นางสาวบัวจุมแสน  ตนตรง
4.1.5 หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล    นางสาววิชญา  สุวรรณกูฏ
4.2 ข้อมูลพื้นฐานจำนวนนักเรียน ระดับ ม. 1-3
1) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนชาย 11 คน นักเรียนหญิง 6 คน รวม 17 คน
) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนชาย 14 คน นักเรียนหญิง 7 คน รวม 21 คน
3) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนชาย 8 คน นักเรียนหญิง 20 คน รวม 28 คน
รวมทั้งสิ้น 66 คน
4.3 ข้อมูลพื้นฐานจำนวนครู
1) จำนวนข้าราชการครู 1๑ คน
2) จำนวนพนักงานราชการ 3 คน
3) จำนวนครูพี่เลี้ยง 1 คน
รวมครูทั้งสิ้น 1๕ คน
4.4 วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ที่มีความสามารถเฉพาะด้าน ดังนี้
                ดนตรี จำนวน 10 คน ศิลปะ 5 คน นาฎศิลป์ จำนวน 4 คน คอมพิวเตอร์ จำนวน 6 คน กีฬากรีฑา จำนวน 17 คน ด้านคณิตศาสตร์  จำนวน 2 คน ภาษาต่างประเทศ จำนวน 3 คน วิทยาศาสตร์ จำนวน 5 คน สังคมศึกษา จำนวน 4 คน ภาษาไทย จำนวน 4 คน เพื่อเข้าฝึกทักษะการเรียนรู้ เพื่อเข้าร่วมแข่งขันทักษะวิชาการ
4.5 การจัดทำสารสนเทศเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ ดังนี้
) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจารพัต
2) ปราสาทศีขรภูมิ
) วัดจารพัต หมู่ 1, วัดศิริสดอชัย หมู่ ๓
) ศาลหลักเมืองจารพัต
6) สถานีตำรวจ อำเภอศีขรภูมิ 
4.6 การจัดทำสารสนเทศเกี่ยวกับผู้สนับสนุนการจัดกิจกรรม ดังนี้
1) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 93 คน
2) เจ้าหน้า / วิทยากร จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจารพัต
3) เจ้าหน้าที่ / วิทยากร จากสถานีตำรวจ อำเภอศีขรภูมิ
4) วิทยากรท้องถิ่น
ขั้นที่ ๕ การจัดทำโครงสร้างเวลาเรียน
.1 วิเคราะห์โครงสร้างเวลาเรียน ในหลักสูตรสถานศึกษา
          ๕.2 วิเคราะห์ความพร้อมของโรงเรียนด้านครูผู้สอน สื่อ แหล่งเรียนรู้ อาคารสถานที่ เพื่อจัดกิจกรรม
          5.3 ดำเนินการปรับโครงสร้างเวลาเรียน และ จัดตารางเรียนและตารางสอน ตามความพร้อมด้านครู สื่อ อาคาร และบริบทของโรงเรียน

โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนมัธยมจารพัตวิทยา
โปรแกรม” ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”

 
 


















ตารางเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2




ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3



ตารางการจัดการกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ”
กิจกรรมบังคับ
ภาคเรียนที่ ชื่อกิจกรรม ระดับชั้น ครูผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ
1

1

1
คนดีศรีจารพัต

ศิลปะสร้างสรรค์

รักษ์ป่า รักษ์น้ำ
ม.1

ม.2

ม.3
ครูอรสุรางศ์ ถือกล้า
ครูชาญวิทย์ ฉัตรทอง
ครูบัวจุมแสน ตนตรง
ครูศิวพร หวังทางมี
ครูเจนจิรา เฉลียวฉลาด
ครูวิชญา สุวรรณกูฏ
ครูณัฐพล สุริโย
 
2

2

2
พอใจ พอเพียง

นักวิทย์ คิดสนุก

สืบสานท้องถิ่น
ม.1

ม.2

ม.3
ครูพิฆเนตร สุคันธี
ครูเอกวัฒน์ คำเสียง
ครูพุดตาล สมศรี
ครูวิชญาดา จันทร์เจริญ
ครูหนึ่งฤทัย มาลาทอง
ครูน้ำผึ้ง สิงห์เสน
 



กิจกรรมเลือก
ภาคเรียนที่ ชื่อกิจกรรม ระดับชั้น ครูผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ
1

1

1
อาหารเพื่อสุขภาพ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0