โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การพัฒนานักเรียนเป็นวิทยากรแกนนำค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและแหล่งเรียนรู้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

โรงเรียน : เบญจมราชรังสฤษฎิ์ สพม.ฉะเชิงเทรา

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : วิทยาศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ : 5 ส.ค. 2559 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 399 คน


แนวคิดและความเป็นมาของ Best Practice
          การเรียนการสอนปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้นในโรงเรียนถือว่าเป็นรูปแบบที่แปลกใหม่สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยทั่วไป หากจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความสำคัญและมีความโดดเด่นทั้งตัวชิ้นงานและสิ่งที่นักเรียนจะได้รับจากการศึกษาและทำปฏิบัติการ สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคตที่ประเทศกำลังพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร ทั้งยังเป็นการสร้างความสนใจสร้างคุณลักษณะและนิสัยความเป็นคนช่างสังเกต มีเหตุผล พัฒนาเจตคติและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นสำคัญ นักเรียนทุกคนควรได้การกระตุ้นส่งเสริมให้สนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ มีความมุ่งมั่นในการสืบค้นข้อมูลเสาะหาความรู้เพื่อรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ผล จากงานวิจัยต่าง ๆ สิ่งที่ค้นพบจากการเรียนรู้ให้เกิดแก่ผู้เรียนจำเป็นที่จะต้องจัดสาระและกิจกรรมที่หลากหลายให้นักเรียนได้มีโอกาสสัมผัสและเรียนรู้ นักเรียนจะต้องมีพื้นฐาน องค์ความรู้ ทักษะการเรียนรู้ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการะบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเจตคติทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมแห่งการเรียนรู้ทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นนักเรียนวิทยากรแกนนำโครงการค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและจุลชีววิทยาขั้นพื้นฐาน
2. เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นนักเรียนวิทยากรแกนนำในแหล่งเรียนรู้ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ สามารถเป็นวิทยากรประจำแหล่งเรียนรู้ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการศึกษาดูงานจากหน่วยงานภายนอกที่สนใจในทุกปีการศึกษา กิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อจากหน่วยงานภายนอก วิทยากรจัดกิจกรรมเข้าร่วมงานวิชาการของโรงเรียน เช่น กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ การแสดงนิทรรศการ การจัดซุ้มกิจกรรมต่าง ๆ
3. นักเรียนร่วมกิจกรรมการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์และการกระทำจริง โดยผู้สอนมีหน้าที่จัดเตรียมประสบการณ์ที่ดีและส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างเหมาะสม
4. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ สนใจใฝ่รู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และกล้าแสดงออกอย่างมั่นใจส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนที่มีความรู้ ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการ และรูปแบบที่หลากหลาย ตามความถนัดและความสนใจของนักเรียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการ Best Practice
1. ได้นักเรียนเป็นนักเรียนแกนนำโครงการค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและจุลชีววิทยาขั้นพื้นฐาน พัฒนานักเรียนให้เป็นนักเรียนวิทยากรแกนนำในแหล่งเรียนรู้ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
2. เป็นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการโครงการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสถานศึกษาต่อไป
 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0