โรงเรียน : ศรีสำราญวิทยาคม สพม.บึงกาฬ
ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ
กลุ่มสาระฯ : วิทยาศาสตร์
เผยแพร่เมื่อ : 20 ก.ค. 2561 โดย : จำนวนผู้เข้าชม 3266 คน
รายงานวิธีปฏิบัติที่ดี (Good Practice)
ชื่อผลงาน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET)
ชื่อผู้เสนอผลงาน นางสาวทิพวรรณ นาเชียงใต้
โรงเรียนศรีสำราญวิทยาคม
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
โรงเรียนศรีสำราญวิทยาคมเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนรวมทั้งหมด 157 คน ครู 13 คน ผู้บริหาร 1 คน เขตพื้นที่บริการจำนวน 7 หมู่บ้านคือ 1.บ้านนาคำ 2.บ้านเหล่าใหญ่ 3.บ้านหนองลาด 4.บ้านโนนสว่าง 5.บ้านนางาม 6.บ้านโชคชัย 7.บ้านโคกหนองลาด จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีสำราญวิทยาคม มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับสังกัด และระดับประเทศทุกวิชา โดยมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระหว่าง 2.28 – 7.44 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 พบว่า โรงเรียนศรีสำราญวิทยาคม มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับสังกัด และระดับประเทศทุกวิชา โดยมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระหว่าง 0.00-9.50 ซึ่งผลดังกล่าวข้างต้นทำให้ไม่เป็นที่พึงพอใจของคณะครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นคณะครูผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจึงร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(O-NET) ขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเตรียมการและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความพร้อมรับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ(O-NET) ในปีการศึกษาต่อไปและมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา
2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 (O-NET) ปีการศึกษา 2560 ให้สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2559
2.2 เชิงปริมาณ
2.2.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นทุกกลุ่ม
สาระการเรียนรู้
2.2.2 นักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 มีผลการทดสอบระดับชาติเฉลี่ย O-Net ของโรงเรียนสูงขึ้น
2.3 เชิงคุณภาพ
2.3.1 นักเรียนร้อยละ 90 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
2.3.2 นักเรียนมีผลการทดสอบระดับชาติเฉลี่ย O-Net ของโรงเรียนสูงขึ้น
3. กระบวนการปฏิบัติงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (O-NET) เป็นประจำทุกปี โรงเรียนศรีสำราญวิทยาคมจึงประสานความร่วมมือครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาของนักเรียนโดย ใช้หลักการจัดการคุณภาพตามกระบวนการ PDCA เป็นตัวขับเคลื่อน และเลือกใช้วิธีการครูผู้สอนเลือกข้อสอบ จริงจาก ปีที่ผ่านมา มาสอดแทรกในกระบวนการจัดการเรียนการสอน และ ใช้ข้อสอบจริงนำมาเป็นสวนหนึ่งในการทดสอบกลางภาค และปลายภาคเรียน อีกทั้งยังมีการจัดทำโครงการติว o-net ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ก่อนสอบ โดยครูผู้สอนตามกลุ่มสาระเป็นผู้ติว และเชิญวิทยากรจากโรงเรียนใกล้เคียงมาช่วยเติมเต็มเนื้อหาเพื่อกระตุ้นนักเรียนให้เกิดการกระตือรือร้นมากขึ้น
ขั้นตอนการใช้หลักการจัดการคุณภาพตามกระบวนการ PDCA ดังนี้
รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล/คัดกรองนักเรียน
|
นิเทศ กำกับ ติดตาม
|
รายงานผลการดำเนินงาน
ทุกสิ้นเดือน |
กิจกรรมเสริมวิชาการให้เข้มข้น |
กิจกรรมเติมการสอนให้เข้มแข็ง |
วิเคราะห์หลักสูตรและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
|
สร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการพัฒนา
|
ดำเนินการจัดกิจกรรมตามเครื่องมือที่สร้าง
|
ประชุมครู
|
สรุปผล/รายงานผล/ประเมินผล
และนำผลการประเมิน มาปรับปรุงพัฒนาต่อไป |
ออกแบบเครื่องมือหรือนวัตกรรม
|
P
|
D
|
C
|
A
|
กระบวนการทำงานเชิงระบบโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(O-NET)
3.1 ขั้นวางแผน (Plan)
3.1.1 PLC ผู้บริหารและคณะครูเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
3.1.3 รู้จักนักเรียนรายบุคคลและคัดกรองนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
และคิดวิเคราะห์ไม่เป็น กลุ่มอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่องและคิดวิเคราะห์ไม่เป็น และกลุ่มอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดวิเคราะห์เป็น
3.1.4 ศึกษาหลักสูตรและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
± ทฤษฎีการสอนของกาเย่ ซึ่งมีแนวคิดว่าการเรียนรู้มีลำดับขั้นและผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เนื้อหาจากง่ายไปหายาก
± แนวคิดของบลูม ซึ่งกล่าวถึงธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความแตกต่างกัน ผู้เรียนจะสามารถเรียนเนื้อหาในหน่วยย่อยต่างๆ ได้ โดยใช้เวลาเรียนที่แตกต่างกัน
± ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์ บุคคลเรียนรู้ด้วยการกระทำ โดยมีตัวเสริมแรง
เป็นตัวการ
± ทฤษฎีลองผิดลองถูกของธอร์นไดด์ สรุปเกณฑ์การเรียนรู้คือ
- กฎความพร้อม หมายถึง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำ
- กฎผลที่ได้รับ หมายถึง การเรียนรู้จะเกิดขึ้น เพราะบุคคลกระทำซ้ำ และยิ่งทำมาก
ความชำนาญจะเกิดขึ้นได้ง่าย
3.1.5 ออกแบบวิธีการหรือนวัตกรรม
3.2 ดำเนินการตามแผน (Do)
3.2.1 สร้างเครื่องมือหรือนวัตกรรมที่ออกแบบไว้
3.2.2 ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาตามเครื่องมือที่สร้าง ดังนี้
3.2.2.1 กิจกรรมเติมการสอนให้เข้มข้น เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในเวลาเรียนปกติ แต่จะมีการวิเคราะห์และคัดกรองผู้เรียนเป็นกลุ่มๆโดยแต่ละกลุ่มจะใช้เทคนิควิธี สื่อการสอนและแรงจูงใจที่แตกต่างกัน ตลอดจนมีการเพิ่มความเข้มข้นในเนื้อหาวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้นและจะมีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบและขั้นตอนจากง่ายไปหายาก (สอดคล้องกับทฤษฎีการสอนของกาเย่) โดยมีรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมดังนี้
1. ดำเนินการคัดกรองนักเรียน และจัดกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถ ในการเรียนรู้(สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม)
2. เลือกเทคนิคและวิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนสื่อ เครื่องมือวัดและประเมินผล
ให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ(สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม)
3. จัดทำแนวทางการพัฒนาผู้เรียนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดหาสื่อ นวัตกรรม ตลอดจนแหล่งเรียรู้ที่เหมาะสม
4. ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนาหรือแผนการจัดการเรียนรู้และมีการเสริมแรง
โดยการชมเชยผู้ที่เรียนรู้ได้ดีและคอยให้กำลังใจคนที่เรียนรู้ช้ากว่าคนอื่น(สอดคล้องกับทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์)
5. ดำเนินการวัดผลและประเมินผลทุกระยะ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนรายบุคคลต่อไป
3.2.2.2 กิจกรรมเติมวิชาการให้เข้มแข็ง โดยดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมให้นักเรียนทั้งในและนอกเวลาเรียนตามที่โรงเรียนกำหนดเป็นจุดเน้นหรือดำเนินการเป็นปกติอยู่แล้ว เช่น กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมสอนซ่อมเสริม กิจกรรมติวเตอร์ กิจกรรมท่องคำศัพท์ กิจกรรมท่องอาขยาน กิจกรรมท่องสูตรคูณ กิจกรรมเขียนเรื่องจากภาพ กิจกรรมเขียนเรียงความ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะดำเนินการซ้ำๆ บ่อยๆเพื่อให้เกิดความชำนาญ
3.3 การตรวจสอบ (Check)
3.3.1 ผู้บริหารนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3.3.2 สำรวจความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน
3.4 การรายงานผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา (Action)
3.4.1 ครูวิชาการสรุปรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ให้ผู้บริหารทราบ
3.4.2 นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ร่วมกันในวง PLC เพื่อที่จะได้นำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
4. ผลการดำเนินงาน
4.2 โรงเรียนมีผลการประเมิน (O-NET) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของจังหวัด เขตพื้นที่ และระดับประเทศ 2 วิชา
4.3 ผู้ปกครองและนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET )
5. ปัจจัยความสำเร็จ
5.1 ครูให้ความร่วมมือในการดำเนินงานอย่างเต็มศักยภาพและมีความต่อเนื่องในการดำเนินงาน
5.2 ผู้บริหารให้ความสำคัญและกำกับ ติดตามอย่างต่อเนื่อง
5.3 ผู้ปกครองให้ความสำคัญและมีเวลาให้กับบุตรหลาน
5.4 นักเรียนให้ความสำคัญและตั้งใจเรียน
5.5 มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ PDCA.
6. บทเรียนที่ได้รับ
การทำงานที่เป็นระบบและความทุ่มเทเอาใจใส่ของคณะครู ผู้ปกครอง นักเรียน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
ข้อเสนอแนะ
ในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของการจัดการความรู้ได้แก่ บุคลากรครู ผู้ปกครอง นักเรียน สื่อ เทคโนโลยี และกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
7.1 การเผยแพร่ โรงเรียนได้ดำเนินการเผยแพร่ทั้งในโรงเรียน โดยแจ้งให้คณะครูและนักเรียนทราบตอนทำ
กิจกรรมหน้าเสาธง และเผยแพร่นอกโรงเรียนโดยการแจ้งให้ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานรับทราบโดยการ PLC
7.2 การได้รับการยอมรับ
- คณะครู ผู้ปกครอง นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาตลอดจนชุมชนมีความพึงพอใจต่อการ
ดำเนินการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET)
- ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (O-NET)
ปีการศึกษา 2560 สูงกว่าระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่ และระดับประเทศ 2 วิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์
คำนำ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นรายงานที่แสดงวิธีปฏิบัติที่ดี
(Good Practice) เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีสำราญวิทยาคม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (O-NET) ปีการศึกษา 2560 สูงกว่าระดับประเทศ เป็นที่น่าพอใจของทางโรงเรียน 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่ง Good Practice เล่มนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานทุกขั้นตอน
โรงเรียนศรีสำราญวิทยาคมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับโรงเรียนหรือผู้ที่สนใจ และผู้ที่กำลังจะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น
คณะผู้จัดทำ
โรงเรียนศรีสำราญวิทยาคม
สารบัญ
เรื่อง หน้า
คำนำ
สารบัญ
ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ 1
จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน 1
กระบวนการปฏิบัติงานหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน 1
ผลการดำเ??