โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียน

โรงเรียน : น่านประชาอุทิศ สพม.น่าน

ระดับ : ระดับสหวิทยาเขต

กลุ่มสาระฯ : การงานฯ

เผยแพร่เมื่อ : 7 ก.ย. 2561 โดย : ณภัทร์สกล ปัญญา จำนวนผู้เข้าชม 780 คน


โครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียน

คำสำคัญการส่งเสริมอาชีพ  , การมีรายได้ระหว่างเรียน

1. สภาพทั่วไ
โรงเรียนน่านประชาอุทิศเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีนักเรียนอยู่ประจำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่า
ต่าง ๆ ที่มาจากที่ราบสูงของจังหวัดน่าน ครอบครัวมีฐานะยากจน และด้อยโอกาสทางการศึกษา จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพขึ้น คือ กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า ทั้งนี้กำหนดให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมตามความถนัดและสนใจโดยให้สมาชิกบริหารจัดการภายในแต่ละกิจกรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมและฝึกทักษะในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ระหว่างเรียน เผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน และสามารถนำไปประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
1.เพื่อศึกษา เรียนรู้ และปฏิบัติตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มได้ปฏิบัติ มีทักษะในงานอาชีพและสามารถนำทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวัน
3.เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มได้บริหารจัดการในการเพิ่มผลผลิตนำผลผลิตไปใช้ประกอบอาหารใน
  โครงการอาหารกลางวันและสร้างรายได้ระหว่างเรียน
4.เพื่อเป็นกองทุนส่งเสริมให้สมาชิกได้ปฏิบัติกิจกรรมหมุนเวียนและต่อเนื่อง

เป้าหมาย
1.เชิงปริมาณ
นักเรียนโรงเรียนน่านประชาอุทิศ/ชุมชนบ้านน้ำครกใหม่
     2.เชิงคุณภาพ              
2.1 นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการสามารถพัฒนางานอาชีพ (เพาะเห็ดนางฟ้า) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ/ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและสามารถนำผลผลิตที่ได้มาทำการแปรรูปเพื่อทำการจำหน่ายได้
2.2 เพื่อให้สมาชิกมีทักษะการบริหารจัดการ การเพิ่มผลผลิต การแปรรูป การจำหน่ายผลผลิต สร้างรายได้ระหว่างเรียน
2.3 เพื่อเป็นกองทุนส่งเสริมสมาชิกในการขับเคลื่อนที่กิจกรรมต่อเนื่องต่อไป

2. ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow Chart (แผนภูมิ) ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติ
    ที่เป็นเลิศ
 
ศึกษา วิเคราะห์ สภาพปัญหาและความต้องการ
โครงการ ส่งเสริมอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียน (การเพาะเห็ดนางฟ้า)
ประชุม / วางแผน /แต่งตั้งคณะกรรมการ
การเพาะเห็ดนางฟ้า
ดำเนินการตามแผน
กิจกรรมการแปรรูป 6 กิจกรรม
  1. เห็ดสมุนไพร
  2. น้ำพริกเห็ด
  3. แหนมเห็ด
  4. ข้าวเกรียบเห็ด
  5. เห็ดดอง
  6. น้ำยาเห็ด
นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล
การพัฒนานักเรียน W2L
  1. Learning Skills
  2. Life Skills
  3. Working Skills
พัฒนาอย่างต่อเนื่อง/ จำหน่าย
ปรับปรุงแก้ไข
สรุปและรายงานผล
บรรลุหรือไม่





 
เงื่อนไขคุณธรรม
  • การตรงต่อเวลา
  • ความซื่อสัตย์สุจริต
  • ความรับผิดชอบ
  • ความขยันอดทน
เงื่อนไขความรู้
  • วิธีการเพาะเห็ด
  • การแปรรูปเห็ด
  • การสืบค้นข้อมูล
  • การบันทึกข้อมูล
การวิเคราะห์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการทำเพาะเห็ดนางฟ้า
เงื่อนไขความรู้
  • วิธีการเพาะเห็ดและการแปรรูปเห็ด
  • การสืบค้นข้อมูล
  • การบันทึกข้อมูล
นำไปสู่การเชื่อมโยง 4 มิติ

สังคม   นักเรียนได้นำความรู้จากการทำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงและอยู่ในสังคมได้
                อย่างมีความสุข
เศรษฐกิจ    รู้จักใช้วัสดุ อุปกรณ์ อย่างประหยัดเห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆ ไม่ฟุ่มเฟือย
วัฒนธรรม มีคุณธรรม มีความรัก เมตตาต่อคนอื่น มีจิตสาธารณะ ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
สิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
เงื่อนไขคุณธรรม
  • การตรงต่อเวลา
  • ความซื่อสัตย์สุจริต
  • ความรับผิดชอบ
  • ความขยันอดทน
















รายละเอียดของ W2L

ในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมอาชีพรายได้ระหว่างเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่
ดำเนินกิจกรรมตามหลัก W2L คือการเพาะเห็ดนางฟ้า และการแปรรูปเห็ด ได้พัฒนานวัตกรรมหรือการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะ 3 ด้าน ดังนี้
 
  1. Learning Skills  ทักษะการเรียนรู้
เป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (Activity-based Learning) ในการยึดหลักการให้ผู้เรียนสร้าง
องค์ความรู้ด้วยตนเอง “Child Centered” การเรียนโดยการปฏิบัติจริง Learning by Doing และปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และแก้ปัญหาได้ Doing by Learning จึงกำหนดให้นักเรียนที่เป็นสมาชิกของกลุ่มนำหลักการใช้อย่างจริงจัง การเรียนแบบ Learning by Doing นั้นใช้ “กิจกรรม Activity” เป็นหลักในการเพาะเห็ดนางฟ้า โดยการ “ปฏิบัติจริง Doing” ในเนื้อหาทุกขั้นตอนของการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกคนในกลุ่มเป็นผู้ปฏิบัติ คุณครูเป็นพี่เลี้ยงและเทรนเนอร์ แต่กิจกรรมที่นำมาใช้นี้ต้องมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้เนื้อหานั้นๆ มีจุดมุ่งหมาย สนุก และน่าสนใจ ไม่ซ้ำซากจนก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย ดังนั้น คุณครูจึงเป็น “นักออกแบบกิจกรรม Activity Designer” มืออาชีพ ที่สามารถ “มองเห็นภาพกิจกรรม” ได้ทันที
 
  1. Life Skills ทักษะชีวิต
            ทักษะชีวิตมีจุดเน้นความสำคัญของบุคคลในด้านความสามารถในการปฏิบัติตนโดยอาศัยพื้นฐานทางด้านความคิด การตัดสินใจและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและสังคมโลกจะเห็นได้ว่า  “ทักษะชีวิต” ได้ นำไปใช้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมโลกทั้งนี้เพื่อการพัฒนาให้คน เกิดการพัฒนาตนเองโดยการใช้ความคิดการปรับตัวการตัดสินใจการสื่อสารการ จัดการกับอารมณ์และความเครียดในการแก้ไขปัญหาให้กับตนเองได้อย่างฉลาดด้วย เหตุนี้ทักษะชีวิตจึงประกอบด้วยทักษะต่างๆที่ส่งผลให้คนฉลาดรู้เลือกและ ปฏิบัติรวมทั้งการรู้จักยับยั้งชั่งใจบุคคลที่มีทักษะชีวิตจะเป็นคนที่มีเหตุผลรู้จักเลือกการดำรงชีวิตที่เหมาะสมสังคมบุคคลที่มีทักษะชีวิต  สังคมเป็นสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืนในการนำความสำคัญของทักษะชีวิตมาใช้ในการจัดกิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า ซึ่งนักเรียนจะต้องมีการเรียนรู้และลงมือเพาะเห็ด การบริหารจัดการ ทั้งผลผลิตและการแปรรูป การจำหน่ายผลผลิต
 
  1. Working Skills ทักษะการทำงาน
เป็นการลงมือทำงานต่างๆด้วยตนเองโดยมุ่งเน้นการฝึกฝนวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอโดยมีขั้นตอนต่างๆดังนี้ 
           3.1 การวิเคราะห์งาน เป็นการมองภาพรวมของงานเมื่อได้รับเป้าหมายว่าเป้าหมายของงานคืออะไรและทำอย่างไรจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ 

3.2 การวางแผนในการทำงาน เป็นการกำหนดเป้าหมายของงานระยะเวลาในการดำเนินงานกำลังคนที่ใช้ในการทำงานค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เป็นต้น
           3.3 การลงมือทำงาน เป็นการลงมือทำงานตามแผนที่วางไว้ด้วยความมุ่งมั่นอดทนและรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ
           3.4 การประเมินผลการทำงาน เป็นการตรวจสอบ ทดสอบหรือทดลองใช้ตั้งแต่การวางแผนการทำงานว่ารอบคอบ รัดกุม ครอบคลุม และสามารถปฏิบัติตามได้หรือไม่ 

3.  ผลการดำเนินการ
     จากการดำเนินงานตามขั้นตอนโดยนำนวัตกรรมหรือการพัฒนานักเรียน คือ W2Lนักเรียนมีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม ปรากฏผลดังนี้
3.1 นักเรียนได้เรียนรู้ และปฏิบัติตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          การจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเพื่อรายได้ระหว่างเรียน กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า นักเรียนได้
เรียนรู้ ดังนี้
      1. การเพาะเห็ดนางฟ้า ซึ่งได้เรียนตั้งแต่ การเพาะเห็ด การจัดวางเห็ดในโรงเรือน
การดูแลรักษา การเก็บผลผลิต ตามมาตรฐาน GAP
      1. การแปรรูปเห็ดนางฟ้า ซึ่งได้จัดกิจกรรม 6 กิจกรรม ดังนี้
  1. เห็ดสมุนไพร
  2. น้ำพริกเห็ด
  3. แหนมเห็ด
  4. ข้าวเกรียบเห็ด
  5. เห็ดดอง
  6. น้ำยาเห็ด
จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวทำให้นักเรียนได้รู้จักการนำหลักการแปรรูปอาหารมาใช้การใช้
วัสดุในท้องถิ่น และการจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้
    1. นักเรียนได้บริหารจัดการในการเพิ่มผลผลิต จำหน่ายผลผลิตและนำผลผลิตไปใช้ประกอบ
อาหารในโครงการอาหารและสร้างรายได้ระหว่างเรียน
          การบริหารจัดการในการเพิ่มผลผลิต ซึ่งนักเรียนที่เป็นสมาชิกในกลุ่มได้รู้จักการวางแผน การประชุม การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ในการดูแลรักษาเห็ด การเก็บผลผลิต การจำหน่ายและระบบบัญชี
3.3 นักเรียนได้ปฏิบัติ มีทักษะในงานอาชีพและสามารถนำทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวัน
นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมซึ่งทำให้เกิดทักษะ 3 ด้านดังนี้
 1) ทักษะการเรียนรู้(Learning Skills)
นักเรียนได้เรียนรู้เริ่มจากการสร้างโรงเรือนในการเพาะเห็ด การเพาะเห็ด การจัดวางเห็ดในโรงเรือน
การดูแลรักษา การเก็บผลผลิต ตลอดถึงการแปรรูปเห็ดตามมาตรฐาน GAP
 2) ทักษะชีวิต(Life Skills)
นักเรียนได้ฝึกประสบการณ์ในการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เริ่มจากการสร้างโรงเรือน สภาพอากาศที่
เหมาะสมกับการเพาะเห็ดนางฟ้า การดำเนินการเพาะเห็ด การจัดเรียงก้อนเห็ด การดูแลรักษา การเก็บผลผลิต การจำหน่าย การทำบัญชีรายรับ – จ่าย (จำนวนเห็ดที่เก็บ-ขาย,จำนวนเงินที่ได้จากการจำหน่าย) เพื่อควบคุมทุกอย่าง ซึ่งจะต้องใช้ทักษะชีวิตการทำงานร่วมกัน การบริหารเวลา การมีความสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิก การรู้จักเสียสละ ยอมรับความคิดเห็นคนอื่น เป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  1. ทักษะการทำงาน (Working Skills)
การทำงานในกลุ่มคนที่มาก ย่อมทำให้ความคิดเห็น ทัศนคติที่ต่างกัน ทำให้เกิดความขัดแย้ง ดังนั้นการ
ให้นักเรียนดำเนินการบริหารจัดการด้วยตนเองในรูปกลุ่มสมาชิก ทำให้เกิดความสามัคคี การรู้จักการบริหารจัดการกับปัญหา การแก้ปัญหาอย่างถูกต้องถูกวิธี นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการทำงานให้สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้

                                                                  





                                                                    














 
หมายเหตุ : สัปดาห์ที่ 1 22 – 28 ก.ค. 2561
    สัปดาห์ที่ 2 29 ก.ค. – 4 ส.ค. 2561
    สัปดาห์ที่ 3 5 – 11 ส.ค. 2561
    สัปดาห์ที่ 4 12 – 18 ส.ค.  2561
    สัปดาห์ที่ 5 19 – 25 ส.ค. 2561
    สัปดาห์ที่ 6 26 – 31 ส.ค.  2561
-


 







ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2561





4. บทเรียนที่ได้รับ
4.1 นักเรียนมีความตระหนักรู้คุณค่าของอาชีพเกษตรกรรม
4.2 นักเรียนมีความรู้มีทักษะในการทำงานจากการปฏิบัติจริงการลงบัญชีรายรับ-จ่าย
4.3 นักเรียนมีความสามัคคีสนุกสนานมีความอดทนมีส่วนร่วมในการทำงาน
4.4 สร้างรายได้ให้กับนักเรียน / โรงเรียน / ชุมชน
4.5 โรงเรียนได้รับความร่วมมือจาก ครู นักเรียนและทุกฝ่ายในการปฏิบัติงาน มีความมุ่งมั่นใน
      การพัฒนาทุกคนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบและร่วมชื่นชมความสำเร็จ
           4.6 ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจโรงเรียนที่ได้พัฒนาทักษะชีวิตควบคู่กับการจัดการเรียนรู้
                ยินดีให้การสนับสนุน  กิจกรรมของโรงเรียนเป็นอย่างดี ส่งผลความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน /
      ผู้ปกครอง ชุมชน และครูดีมากยิ่งขึ้น

5.  ปัจจัยความสำเร็จ
<

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0