โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

สามประสาน สมานรัก ยึดหลักคุณธรรมน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โรงเรียน : พรมเทพพิทยาคม สพม.สุรินทร์

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : สังคมศึกษา

เผยแพร่เมื่อ : 3 ก.ย. 2561 โดย : วสินทรา ไพรสินธุ์ จำนวนผู้เข้าชม 555 คน


1.ความสำคัญของนวัตกรรม/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice)
          สภาพสังคมในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าด้านวัตถุและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วแต่ทางด้านจิตใจกลับไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไป มีความเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบกัน แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นซึ่งกันและกัน ทำให้จิตใจของคน ห่างไกลจากคุณธรรมมากขึ้นโดยเฉพาะเยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติ โรงเรียนพรมเทพพิทยาคม ได้จัดกิจกรรมปลูกฝังและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเพื่อลดปัญหาด้านพฤติกรรมของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้จากการดำเนินงานนักเรียนมีการพัฒนาดีขึ้น อยู่ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ  จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการออกเยี่ยมบ้านของนักเรียนพบว่าผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจนทำให้ต้องเดินทางไปทำงานต่างถิ่น ทอดทิ้งให้บุตรอาศัยอยู่กับญาติ ๆ ซึ่งทำให้บุตรหลานขาดความรักความอบอุ่นและหาทางออกในทางที่ผิด ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย
          โรงเรียนพรมเทพพิทยาคม เห็นว่าการที่จะพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ และได้ผลที่ยั่งยืนจะต้องมีการประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างจริงจัง จึงดำเนินการจัดทำโครงการ สามประสาน สมานรัก ยึดหลักคุณธรรมน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง ประสานความร่วมมือจาก บ้าน วัด โรงเรียน  ในการลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเยาวชนและปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนมีจิตใจที่ดีงาม รักครอบครัว รักท้องถิ่น มีจิตสาธารณะ มีความสามัคคี สามารถนำหลักธรรมและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติอย่างแท้จริง
2.วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 วัตถุประสงค์
        2.1.1 เพื่อประสานความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ในการลดปัญหาพฤติกรรมของเยาวชน
        2.1.2 เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด สร้างความสามัคคี  มีจิตสาธารณะ โดยการ
ปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน ๙ ประการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.2 เป้าหมาย
 เชิงปริมาณ   นักเรียนโรงเรียนพรมเทพพิทยาคม  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1-6  จำนวน 176 คน
 เชิงคุณภาพ  นักเรียนโรงเรียนพรมเทพพิทยาคมมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด สร้างความสามัคคี มีจิตสาธารณะ
3.ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 ขั้นวางแผน (Planing)
            -  ศึกษาข้อมูล
-  เลือกหัวข้อที่จะทำโครงงาน
-  กำหนดกิจกรรมที่จะดำเนิน
          1. กิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรมนำชีวิต
          2. กิจกรรมดีเจวัยใส ร่วมใจพัฒนา
          3. กิจกรรมสัมผัสรัก
          4. กิจกรรมอาสาพัฒนา
-  จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานในแต่ละกิจกรรม
-  ขอคำปรึกษาจากครูที่ปรึกษา
3.2 ขั้นดำเนินการ (Doing)
            -  ประชาสัมพันธ์ขยายผลโครงงานทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
-  รับสมัครสมาชิกเครือข่าย ๒๒หมู่บ้านในเขตบริการของโรงเรียน
-  ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดโครงงาน
-  ประสานความร่วมมือกับครูที่ปรึกษา ผู้บริหาร  ผู้นำชุมชน  พระสงฆ์
-  ดำเนินการตามปฏิทินการปฏิบัติงานในแต่ละกิจกรรม
3.3 ขั้นประเมินผล (Checking)
                   -  ติดตามการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
-  ประเมินผลโดยการสัมภาษณ์จากบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องและจากแบบสอบถาม
3.4 ขั้นปรับปรุงนำไปใช้ (Action)
            -  ประชุมสรุปผลกากรดำเนินโครงการ / วิเคราะห์ข้อมูล
-  รายงานผลโครงการ



4.ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ
  4.1 ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
นักเรียนโรงเรียนพรมเทพพิทยาคมมีความตระหนักมีการพัฒนาตนเองตามหลักคุณธรรมพื้นฐาน  ๙  ประการ   และตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดีขึ้น  กิจกรรมทุกกิจกรรมที่นักเรียนได้ปฏิบัติ สอดคล้องตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 หลังจากร่วมปฏิบัติกิจกรรมนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ส่งผลให้พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียนลดลง นักเรียนมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด สร้างความสามัคคี มีจิตสาธารณะ ความเสียสละ และการมีส่วนร่วมให้กับทุกฝ่ายในการพัฒนาชุมชน สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
  4.2 ผลที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา
          โรงเรียนพรมเทพพิทยาคมได้มีการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้ โดยการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลงสู่การจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมต่างๆ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน มีการทำงานเป็นทีม มีความสามัคคี ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน อดออม รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
  4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน
          บ้าน(ชุมชน) วัด โรงเรียนให้ความร่วมมือกันดำเนินกิจกรรม  มีการประสานสมานรักในชุมชน  ความสัมพันธภาพระหว่างครอบครัวและชุมชนดีขึ้น ดังนั้นการที่นักเรียนได้พัฒนาบ้าน  วัด  โรงเรียน  (ชุมชน)  เป็นการทำให้ตนเองและชุมชนมีความพอเพียงทั้งด้านเศรษฐกิจ  จิตใจ  สังคม  วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม 
เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
  4.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำนวัตกรรมไปใช้
          บ้าน(ชุมชน) วัด โรงเรียนให้ความร่วมมือกันดำเนินกิจกรรม  มีการประสานสมานรักในชุมชน  ความสัมพันธภาพระหว่างครอบครัวและชุมชนดีขึ้น นักเรียนมีความตระหนักมีการพัฒนาตนเองตามหลักคุณธรรมพื้นฐาน  ๙  ประการ และตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดีขึ้น กิจกรรมทุกกิจกรรมที่นักเรียนได้ปฏิบัติ  สอดคล้องตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 หลังจากร่วมปฏิบัติกิจกรรมนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ส่งผลให้พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียนลดลง

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0