โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การพัฒนากิจกรรมการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน สู่ความเป็นเลิศระดับชาติ

โรงเรียน : โพธิ์ไทรงามวิทยาคม สพม.พิจิตร

ระดับ : ระดับภาคฯ

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 23 ธ.ค. 2562 โดย : Nuttakit Wumprasert จำนวนผู้เข้าชม 1050 คน


1. บทนำ
          งานศิลปหัตถกรรมได้เริ่มจัดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อจะแนะนาชักจูงให้เด็กชายหญิงในสมัยนั้น ได้เอาใจใส่ฝึกหัดศิลปหัตถกรรม ซึ่งเป็นทางเลี้ยงอาชีพต่างๆ เพื่อจะกันการที่เด็กทั้งหลายพากันนิยมในการเป็นเสมียนหรือ เข้าทาราชการให้น้อยลง การจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนมีการจัดต่อเนื่องกันตลอดมา มีหยุดเว้นช่วงบ้าง เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองไม่ปกติก็ตาม เปลี่ยนชื่องานไปก็หลายครั้งโดยทั่วไปนับว่าเป็นงานที่มีชื่อเสียงมาก มาแต่ในอดีต งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน  สมัยก่อนนั้นการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อแนะนำ ชักจูงให้เด็กชาย-หญิง ได้เอาใจใส่ฝึกหัดศิลปหัตถกรรมให้เกิดความชำนาญ มีความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มพูนรายได้ในการเลี้ยงชีพ ต่อมาได้มีการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นงานที่มีความสำคัญต่อการศึกษาของเด็กไทยและประชาชนทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสะท้อนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการแสดงสุดยอดของเด็กไทยตั้งแต่ช่วงชั้นที่ 1-4 ซึ่งทำให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่า หากทุกภาคส่วนจัดกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออกอย่างเต็มที่ จะเป็นการเปิดพื้นที่ให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความสามารถในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะทางวิชาการ วิชาชีพ ศิลปะ ดนตรี และการแสดง ล้วนแต่เป็นเวทีที่ต่อยอดความรู้ความสามารถของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน เป็นการสร้างโอกาสที่ดียิ่งให้แก่เด็กไทยทุกๆ คน ได้มีโอกาสแสดงความสามารถเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งนี้ และที่สำคัญถือเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพทางด้านการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะการจัดเวทีและพื้นที่เช่นนี้จะสร้างแรงจูงใจที่ทำให้นักเรียน ครู ตลอดจนสถานศึกษาได้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จากการศึกษาข้อมูลในรอบหลายปีที่ผ่านมา พบว่า ครูและนักเรียนของโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนไม่มาก มีความสามารถในระดับดีเยี่ยมก็มีจำนวนน้อย ซึ่งอาจมีสาเหตุหลายประการ
จากเหตุผลดังกล่าว โรงเรียนโพธิ์ไทรงามวิทยาคม จึงจัดส่งเสริม สนับสนุนให้ครูและนักเรียน    เข้าร่วมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน เพื่อพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานระดับสากล ใฝ่รู้ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ใฝ่ดี มีคุณธรรมพื้นฐาน มีจิตสำนึกและค่านิยมที่พึงประสงค์ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์

จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
1)  เพื่อสนับสนุนให้ครูส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บนเวทีศิลปหัตถกรรมนักเรียน
2)  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เป็นตัวแทนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
    เขต 41 มากขึ้น สามารถพัฒนาตนเองไปจนถึงการแข่งขันระดับชาติ
2.  แนวทำง/ขั้นตอนกำรด ำเนินงำน (Flow Chart (แผนภูมิ)  ของวิธีหรือแนวทำงปฏิบัติที่เป็นเลิศ ใช้หลัก “  4P
          1)  Prepare : การเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนและครู ดังนี้
-ศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎี เกี่ยวกับการการจัดกิจกรรมศิลปหัตถกรรมนักเรียน
-วิเคราะห์เนื้อหา /สาระการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และรายวิชาที่สอน 
-ศึกษารายการ คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน
รายละเอียดการแข่งขันแต่ละประเภท วิธีดำเนินการ การให้คะแนน และรายละเอียดหลักเกณฑ์
การแข่งขัน 
-ศึกษาการเข้าแข่งขันระดับภาค และระดับชาติ เช่น ให้บุคคลหรือทีมที่เป็นตัวแทน
ของเขตพื้นที่การศึกษาเข้าแข่งขันในระดับภาค ทุกกิจกรรมต้องได้คะแนนระดับเหรียญทอง ลำดับที่ 1
(คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป) และบุคคลหรือทีมที่เป็นตัวแทนระดับภาคเข้าแข่งขันในระดับชาติ จะต้อง
ได้คะแนนระดับเหรียญทอง ลำดับที่ 1 -3 (คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป ) เป็นต้น
-จัดเตรียมวัสดุ – อุปกรณ์  และเอกสารที่ใช้ในการทำกิจกรรม
2)  Practice : ฝึกซ้อมให้ดี
-รับสมัครนักเรียนที่มีความสนใจ และความสามารถเข้าร่วมกิจกรรม 
                    -ดำเนินการฝึกซ้อม ดังนี้ 
 
กิจกรรมแปรรูปมะม่วงหาวมะนาวโห่
1. เลือกหัวข้อโครงงานและนำเสนอครู พร้อมทั้งเหตุผลในการแปรรูปวัตถุดิบนั้น
2. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเอกสารหนังสือที่ห้องสมุด
3. ทำรายงานเพื่อขอเบิกอุปกรณ์ส่วนค่าใช้จ่าย แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และติดต่อวิทยากรท้องถิ่น
4. ลงมือดำเนินการแปรรูปมะม่วงหาวเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น น้ำมะม่วงหาว มะม่วงหาวแช่อิ่ม แยมมะม่วงหาว  เป็นต้น
5. ให้คุณครู ผู้ปกครองและเพื่อนร่วมประเมินรสชาติ
6. เขียนรายงานโครงงานจัดทำรูปเล่ม และสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม
7. นำเสนอการแปรรูปมะม่วงหาวและรายงานผลการปฏิบัติงาน

3)  Participation มีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ได้แก่ ครูในกลุ่มสาระ เพื่อนนักเรียน ผู้ปกครอง
และผู้บริหาร ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมวัดและประเมิน ร่วมปรับปรุง แก้ไข แล้วนำผลที่ได้มาปรับปรุงพัฒนา ดังนี้
1. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร มะม่วงหาวโดยคณะครูอาจารย์
2. ศึกษาจากวิทยากรท้องถิ่น โดยท่านกำนันมนตรี ศรีประเสริฐ ศึกษาแหล่งเรียนรู้สวนมะม่วงหาว
3. ศึกษาจากเอกสารอ้างอิง และคำบอกเล่าของผู้รู้ด้านสรรพคุณของมะม่วงหาวและวิธีในการทำน้ำมะม่วงหาว
4. ดำเนินงานแปรรูปน้ำมะม่วงหาว
5. ดำเนินการทำพาสเจอร์ไรส์ โดยการน็อคน้ำแข็ง บรรจุใส่ขวด แล้วเก็บรักษาไว้ในความเย็นเพื่อจัดจำหน่าย
6. ทำซ้ำข้อ 4 แต่แปรรูปเป็น มะม่วงหาวแช่อิ่ม แยมมะม่วงหาว ปั้นขลิบไส้มะม่วงหาว ไอศกรีมมะม่วงหาว
                                   ชีสพายมะม่วงหาว วุ้นแฟนซีมะม่วงหาว พานาคอตตามะม่วงหาว
                                   คุกกี้(Cookie)มะม่วงหาว น้ำพริกเผามะม่วงหาว และน้ำพริกกะปิมะม่วงหาว เป็นต้น
7. ขยายผลสู่ชุมชน
8. สรุปผล

4)  Professional ความเป็นครูมืออาชีพ
                    -เป็นผู้ให้และความเสียสละ ทุ่มเทแรงกายแรงใจ การเอาใจใส่ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน
-ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้มีภาวะผู้นำที่โดดเด่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ อดทน และเป็นแบบอย่างที่ดี
-สื่อสารด้วยสรุปและรายงานผล

3. ผลลัพธ์/ผลการดำเนินการ
3.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
ผลการปฏิบัติตามกิจกรรมครูส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บนเวทีศิลปหัตถกรรมนักเรียนและสามารถคัดเลือกนักเรียนตัวแทนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยมีหลักฐานหรือข้อมูลประกอบ ดังแสดงในตาราง
3.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน
3.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
กระบวนการพัฒนาผลงานนวัตกรรมก่อให้เกิดประสบการณ์ การเรียนรู้ร่วมกันทั้งโรงเรียน เนื่องจาก การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน มีรายการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นักเรียนสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคตได้ 

4. ปัจจัยความสำเร็จ
1) นักเรียนมีเป้าหมายในการพัฒนาตนเองแบบไม่มีขีดจำกัด รับผิดชอบ  รักการทำงาน  
มีความใฝ่รู้  ใฝ่เรียน
2) ครูมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
3) ผู้บริหารสถานศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุน ให้ความสำคัญและอำนวยความสะดวก
4) ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ
5. แนวทางการพัฒนาให้ยั่งยืน
      1) ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ
      2) นักเรียนมีความศรัทธา และมีเจตคติที่ดีต่อกิจกรรมที่ตนมีความถนัดและความสนใจ
      3) การได้รับการสนับสนุนจากคณะครู  ผู้ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชน
ทั้งแรงใจ แรงกาย สิ่งของ และเงินทุน
 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0