โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การขับเคลื่อนพัฒนาหลักสูตรทางเลือกโรงเรียนหนองหงส์พิทยาคม

โรงเรียน : หนองหงส์พิทยาคม สพม.บุรีรัมย์

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 31 พ.ค. 2562 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 402 คน


  1. ความสำคัญของ “แนวปฏิบัติที่ดี”

จากการวิเคราะห์สภาพปัญหา  พบว่าผลสัมฤทธิ์ในปีการศึกษาการศึกษา 2561 มีนักเรียนติดค้างผลการเรียน 0 ร มส และ มผ เป็นจำนวนมาก และนักเรียนในแต่ละระดับมีความสนใจและต้องการศึกษาต่อในบริบทที่แตกต่างกัน  ทางโรงเรียนหนองหงส์พิทยาคมจึงได้ประชุมเพื่อหาแนวทางเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โดยปรับและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขึ้นมา  ตามแนวคิดและนโยบายของรัฐบาล (อ้างคำสั่ง)  เกี่ยวกับการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้  การจัดการเรียนรู้รูปแบบการเตรียมความพร้อมกลุ่มความถนัดทางสาขาวิชาและอาชีพในการเรียนต่อระดับอุดมศึกษา       การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามนโยบาย No Child Left Behindหลักสูตรมาตรฐานสากล           การขับเคลื่อนการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และการปรับเปลี่ยนตัวชี้วัด  ทำให้เกิดการประชุมและ    จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขึ้น  (หลักสูตรทางเลือก) โดยจัดรายวิชาเพิ่มเติมให้เลือกนักเรียนระดับ    ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้สอดคล้องตามความต้องการของผู้เรียน และชุมชน ทั้งนี้ได้จากการสำรวจ
 

  1. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของ “แนวปฏิบัติที่ดี”

วัตถุประสงค์เชิงปริมาณ

    1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ในระดับโรงเรียน

 ระดับกลุ่มสาระฯ และรายวิชา

    1.  จำนวนผู้เรียนที่มีผลการเรียน 0 ร มส และ มผ ลดลงจากปีการศึกษาที่ผ่านมา

 มากกว่าร้อยละ  70

    1.  ผู้เรียนร้อยละ 100 มีความสุข  ค้นพบความถนัด  ความสนใจ สามารถศึกษาต่อใน

 ระดับอุดมศึกษาได้ตามความถนัดและสนใจ

    1.  ผู้เรียนร้อยละ 100 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีขึ้นไป ตรงหลักสูตรสถานศึกษา
    2.  ผู้เรียนร้อยละ 100 มีคุณลักษณะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

 วัตถุประสงค์เชิงคุณภาพ

    1.  โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีความเหมาะสมต่อสภาพสังคม  ความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
    2.   โรงเรียนสามารถเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพ  เหมาะสมตามความสนใจ

และศักยภาพของผู้เรียน

    1.   ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีตรงหลักสูตรสถานศึกษา
    2.   ผู้เรียนมีคุณลักษณะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
    3. ผู้บริหาร  ครู  นักเรียน  โรงเรียนและชุมชน  มีความรู้ความเข้าใจ  ทักษะ  วิธีคิด 

 วิธีเสริมสร้าง  การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามนโยบาย No Child left Behind 
3. กระบวนการดำเนินงาน “แนวปฏิบัติที่ดี”
การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนหนองหงส์พิทยาคม  มีขั้นตอนในการดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
ดังนี้
3.1  ขั้นเตรียมการ
1)  ผู้บริหารและคณะครู  ร่วมกันประชุมวางแผนการปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ให้จัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ  และสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32  ที่ให้จัดการศึกษาโดยไม่มีการทิ้งผู้เรียนไว้หลังห้อง (No Child Left Behind) 
2)  กลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระฯ  ประชุมกลุ่มสาระฯ  เพื่อร่วมกันกำหนดรายวิชาเพิ่มเติม  สำหรับให้นักเรียนได้เลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจอย่างหลากหลายและจัดทำหลักสูตรกลุ่มสาระฯ  ส่งให้งานหลักสูตรโรงเรียน
3)  งานหลักสูตรโรงเรียนรวบรวมและจัดทำหลักสูตรโรงเรียนเสนอให้คณะกรรมการสถานศึกษาได้ลงนามรับรองการนำหลักสูตรไปใช้
3.2  ขั้นดำเนินการ
1)  ชี้แจงทำความเข้าใจให้ผู้เรียนและผู้ปกครองได้ทราบและเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรโรงเรียน
2)  วิชาการจัดตารางเรียนให้คาบรายวิชาเพิ่มเติม NCLB รายวิชาอาชีพ  รายวิชาความถนัด  เป็นคาบที่ตรงกันของทั้งระดับชั้นที่มีการเรียนรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มดังกล่าวข้างต้น  โดยรายวิชาเพิ่มเติม NCLB        จัดให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  ส่วนรายวิชาเพิ่มเติมอาชีพ  และรายวิชาเพิ่มเติมความถนัด     จัดให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
3)  ให้นักเรียนได้เลือกวิชาเพิ่มเติมตามความถนัดและความสนใจในสัปดาห์แรกของการเรียนในวันที่มีคาบเรียนวิชานั้น ๆแล้วทำการลงทะเบียนวิชาเรียนให้นักเรียนจนครบทุกคน
4)  ครูผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอน  วัดผลและประเมินผลการเรียน  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามแนวปฏิบัติที่ใช้ร่วมกัน  แล้วจัดทำปพ.5 ส่งวิชาการตามกรอบปฏิทินงานวิชาการ  (หากมีการขอเปลี่ยนรายวิชาที่เลือกเรียนให้ดำเนินการภายในสัปดาห์ที่ 2 โดยผู้เรียนต้องติดต่องานวิชาการแล้วเขียนบันทึกข้อความชี้แจงเหตุผลที่ขอเปลี่ยนรายวิชาเลือก  เมื่อได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนรายวิชาเพิ่มเติม  วิชาการจะแจ้งให้ผู้เรียนและครูผู้สอนทราบและลงทะเบียนให้ใหม่  โดยผู้เรียนจะต้องติดตามงานและเรียนให้ทันกลุ่มเพื่อนที่ได้เรียนไปก่อนหน้านี้แล้ว)
5)  งานวัดผลและประเมินผล  สรุปและประเมินผลการเรียนรู้ของรายวิชาเพิ่มเติมที่จัดให้นักเรียนได้เลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ
3.3  ขั้นสรุปและรายงานผล
1)  วิชาการสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเพิ่มเติมดังกล่าว  จาก  ปพ.5 
2)  จัดทำรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
3)  เสนอผู้บริหารทราบ  จัดเก็บและนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงเพื่อพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนต่อไป


ในการจัดทำหลักสูตรโรงเรียนหนองหงส์พิทยาคมนี้  สามารถเขียนแสดงเป็นแผนภูมิได้ดังนี้

ขั้นเตรียมการ
1. ผู้บริหารและคณะครู  ร่วมกันประชุมวางแผนการปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียน
2. กลุ่มสาระฯจัดทำหลักสูตรกลุ่มสาระฯ
3. รวบรวมและจัดทำหลักสูตรโรงเรียนเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาและนำไปใช้

 
ขั้นดำเนินการ
1. ประชุมชี้แจงให้ผู้ปกครองและผู้เรียนทราบ
2. ผู้เรียนเลือกวิชาเรียนตามความถนัดและสนใจ
3. วิชาการลงทะเบียนวิชาเรียน
4. ครูผู้สอนดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  วัดผลและประเมินผล  แล้วนำส่งปพ.5
5. งานวัดผลและประเมินผล  สรุปและประเมินผลการเรียนรู้
ขั้นสรุปและรายงานผล
1. สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. จัดทำรายงาน
3. เสนอผู้บริหาร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


4. ผลการดำเนินการ “แนวปฏิบัติที่ดี”
            4.1   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 25ในระดับโรงเรียน
                   ระดับกลุ่มสาระ และรายวิชา
            4.2   จำนวนผู้เรียนที่มีผลการเรียน 0 ร มส และ มผ ลดลงจากปีการศึกษาที่ผ่านมา
                   มากกว่าร้อยละ 70
            4.3    ผู้เรียนมีคุณลักษณะในระดับดี  มากกว่าร้อยละ 80
            4.4    ผู้เรียนมีคุณลักษณะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21มากกว่าร้อยละ 80
            4.5   ข้อมูลนักเรียนศึกษาต่อ (ที่สอดคล้องกับการเลือกวิชาอาชีพและความถนัด)
            4.6   โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีความเหมาะสมต่อสภาพสังคม  ความต้องการของผู้เรียน
                   และชุมชน
            4.7   โรงเรียนสามารถเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพ  เหมาะสมตามความสนใจ
     และศักยภาพของผู้เรียน
            4.8    ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีตรงหลักสูตรสถานศึกษา
            4.9    ผู้บริหาร  ครู  นักเรียน  โรงเรียนและชุมชน  มีความรู้ความเข้าใจ  ทักษะ  วิธีคิด  วิธี
            4.10  คุณลักษณะของผู้เรียน

 ผู้เรียนสามารถสร้างศักยภาพของตนเองในการเรียน จากการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามนโยบายNo Child Left Behind (NCLB) ไม่มีเด็กคนใดถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง โดยสถานศึกษาจัดทำหลักสูตรทางเลือก เพื่อรองรับความต้องการในการเรียนรู้ที่หลากหลาย และความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งผลให้เกิดการที่ผู้เรียนสามารถเข้าศึกษาในระดับที่สูงขึ้นตามความต้องการและความสนใจของตนเอง  อีกทั้งยังสามารถทำงานในสาขาอาชีพที่หลากหลาย สร้างทางเลือกให้แก่ผู้เรียนได้มากขึ้น เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ และทักษะ ความรู้ที่ดี และทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม และประเทศชาติได้อย่างมีคุณภาพ

5.1 การเผยแพร่
โรงเรียนได้สรุปผลนักเรียนที่ผ่านการประเมิน ส่วนนักเรียนที่ตกค้างไม่ผ่านการประเมินโรงเรียนได้จัดให้มีการประชุมผู้ปกครองนักเรียนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของนักเรียนร่วมกัน ทำเป็นวารสารข้อมูลนักเรียนศึกษาต่อกับผลการเรียน นักเรียนที่มีความสามารถในด้านต่างๆ ได้แสดงความสามารถและศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยนักเรียนที่มีทักษะและความสนใจด้านวิชาการ นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง จากงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยีของนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับภาค  และนักเรียนที่มีทักษะและความสนใจด้านกีฬาได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาตามความถนัดของตนเอง เช่น กีฬาฟุตซอล กีฬาตะกร้อ กีฬาวอลเล่ย์บอล กีฬาแบดมินตัน กีฬาเปตอง  โดยทางโรงเรียนได้แสดงความชื่นชมยินดีและประกาศเกียรติคุณให้กับนักเรียนที่ได้รับรางวัลในพิธีหน้าเสาธง และลงเพจเฟสบุ๊กของโรงเรียน https://www.facebook.com/nonghongpittayakhom เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ถึงนักเรียนและผู้ปกครองให้ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว

5.2 การยอมรับ
5.2.1   มีการส่งบุตรหลานเข้าเรียนเพิ่มขึ้น จากสถิติการย้ายเข้า
5.2.2   ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาได้ศึกษาต่อตรงตามความต้องการและความถนัดในคณะ
          ที่สนใจ
5.2.3   ผู้เรียนได้เรียนและได้เข้าร่วมกิจกรรมตามที่ตนเองมีความสนใจและมีความถนัดใน
          ด้านนั้นๆ
6. ปัจจัยความสำเร็จ
6.1 ผู้บริหารให้การสนับสนุนส่งเสริมงบประมาณในการเข้าร่วมประชุม สัมมนาด้านหลักสูตร 
    และการจัดการการเรียนรู้
                   6.2 ครู ให้ความร่วมมือ ในการจัดทำหลักสูตร
                   6.3 ผู้เรียนสนใจศึกษาเรียนรู้ และให้ความร่วมมือโดยผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจและ
                        ความถนัดของแต่ละระดับชั้น
                  6.4 โรงเรียนได้รับการยอมรับจากชุมชนในเรื่องของการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย
                         โดยมีจำนวนผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น
7. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
7.1 ปัญหาอุปสรรค
7.1.1 มีข้อจำกัดของชั่วโมงเรียนบางหลักสูตรที่ไม่เพียงพอกับเนื้อหาที่เรียน
       7.1.2 ขาดบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะด้าน เช่นวิชาหัตถเวช
            7.1.3 ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ด้านกีฬา และสนามฝึกซ้อม เช่น สระว่ายน้ำ   สนามเทนนิส
8. ข้อเสนอแนะ
8.1 ควรเพิ่มจำนวนชั่วโมงเรียนในรายวิชาตามความต้องการของผู้เรียน
8.2 เชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากภายนอก
8.3 จัดหางบประมาณสนับสนุนทางด้านวัสดุอุปกรณ์กีฬา และสนามฝึกซ้อม
      8.4 ปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคม เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย และสังคมโลก
               7.5 สนับสนุนบุคลากรในสถานศึกษาเข้ารับการอบรมตามความถนัด และสนใจ เพื่อนำความรู้
          มาพัฒนาผู้เรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0