โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามนโยบาย No Child Left Behind (NCLB) "สภาเข้มแข็ง เสริมแรงที่ปรึกษา งามสง่าคุณธรรม"

โรงเรียน : จตุราษฏร์พิทยาคม สพม.บุรีรัมย์

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 30 พ.ค. 2562 โดย : กาญจนา พรมทอง จำนวนผู้เข้าชม 1295 คน


“แนวปฏิบัติที่ดี” การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามนโยบาย
No Child  Left  Behind  (NCLB)  “ไม่มีเด็กคนใด  ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง”



ชื่อผลงาน  “แนวปฏิบัติที่ดี”       :   สภาเข้มแข็ง   เสริมแรงที่ปรึกษา  งามสง่าคุณธรรม
ชื่อ - สกุล  ผู้เสนอผลงาน :  นายถนอม   เยี่ยมรัมย์  ผู้อำนวยการโรงเรียนจตุราษฎร์พิทยาคม   
โรงเรียนจตุราษฎร์พิทยาคม  ตำบลแสลงพัน   อำเภอลำปลายมาศ 
จังหวัดบุรีรัมย์   รหัสไปรษณีย์ ๓๑๑๓๐     โทรศัพท์  ๐๔๔-๑๘๕๑๑๘
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต ๓๒ 
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

บทคัดย่อ
          การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พุทธศักราช ๒๕๕๓ หมวด ๑ มาตรา ๖ ได้ระบุถึงความมุ่งหมายและหลักการเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
          ปัจจุบันสังคมไทยมีปัญหาขั้นวิกฤติเกิดขึ้นกับนักเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น การใช้ความรุนแรง ปัญหาอาญากรรม   โดยมีแนวโน้มที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งมีสาเหตุอันเกิดจากการขาดความอบอุ่นในครอบครัว พ่อแม่หย่าร้างกัน นักเรียนต้องพักอาศัยกับปู่ย่า ตายายหรือบุคคลอื่นที่ให้ความอุปการะ นักเรียนติดเกมไม่สนใจการเรียน นักเรียนติดการใช้โทรศัพท์มือถือและอาจโดนหลอกลวงไปในทางที่ก่ออันเกิดผลร้ายแก่ตัวนักเรียนเอง  ปัญหาเรื่องยาเสพติด   ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน ปัญหาการอ่านไม่ออก  เขียนไม่คล่อง  ปัญหาที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับนักเรียนในสังคมไทยปัจจุบันและโรงเรียนจตุราษฎร์พิทยาคมก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน  ดังนั้นการพัฒนานักเรียนด้วยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม จึงมีความสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาและบ่มเพาะให้นักเรียนเป็นคนดี รู้รักสามัคคี เป็นประโยชน์และเป็นสมาชิกที่ดีต่อสังคม
การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนจตุราษฎร์พิทยาคมมีการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามโครงสร้างของแนวปฏิบัติที่ดี (Best  Practice)  สภาเข้มแข็ง   เสริมแรงที่ปรึกษา  งามสง่าคุณธรรม   ที่สอดคล้องตามแนวความคิด  No Child  Left  Behind  (NCLB)  “ไม่มีเด็กคนใด  ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง” เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานที่ 1 การบริหารจัดการศึกษาตามแนวคิด No Child  Left  Behind  (NCLB)   มาตรฐานที่ 2 การจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วม  และมาตรฐานที่ 3 การพัฒนาศักยภาพนักเรียนรายบุคคล   ตามนโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต  32   และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกระบวนการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนนั้นจะใช้ความร่วมมือระหว่างทางโรงเรียนกับพ่อแม่ ผู้ปกครองของนักเรียน ผู้ที่มีส่วนสำคัญจึงประกอบด้วยผู้บริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรทางศาสนา  ต้องให้ความสำคัญและร่วมมือแก้ไขปัญหาของนักเรียนที่มีแนวโน้มเสี่ยงหรือมีปัญหาดังกล่าว  เพราะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นการยึดเป้าหมายให้นักเรียนรักครู
-๒-
ครูรักนักเรียน มุ่งหวังให้นักเรียนเป็นคนดีและเชื่อว่าความรักความเข้าใจสามารถพัฒนานักเรียนให้เป็น คนดี เก่งและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได


ความสำคัญของแนวปฏิบัติที่ดี
          ด้วยโรงเรียนจตุราษฎร์พิทยาคมเป็นโรงเรียนขนาดเล็กระดับตำบล  จึงกลายเป็นโรงเรียนทางเลือกให้กับนักเรียนที่ไม่สามารถสอบแข่งขันเข้าเรียนในโรงเรียนประเภทแข่งขันสูงได้  สภาพทั่วไปของปัญหาจึงมาจากการอ่านไม่ออก  เขียนไม่คล่องของนักเรียนบางส่วน  อีกทั้งจากข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ  ๗๐  ที่พบว่านักเรียนประสบปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว  เช่น  พ่อแม่หย่าร้างกัน  นักเรียนต้องพักอาศัยกับปู่ย่า ตายายหรือบุคคลอื่นที่ให้ความอุปการะ  ความรักความอบอุ่นและความใกล้ชิดจากคนในครอบครัวจึงขาดหายไป  จึงส่งผลอย่างมากต่อการแสดงออกด้านพฤติกรรมในทางที่ไม่ถูกต้อง  เช่น  ปัญหาเรื่องยาเสพติด   นักเรียนติดเกมไม่สนใจการเรียน นักเรียนติดการใช้โทรศัพท์มือถือ   ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน  ทะเลาะวิวาท  เป็นต้น  ดังนั้นการพัฒนานักเรียนด้วยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมนั้น ผู้ที่มีส่วนสำคัญจึง
ประกอบด้วยผู้บริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรทางศาสนา  ต้องให้ความสำคัญและร่วมมือแก้ไขปัญหาของนักเรียนที่มีแนวโน้มเสี่ยงหรือมีปัญหาดังกล่าว
          โรงเรียนจตุราษฎร์พิทยาคมจึงมีการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามโครงสร้างของแนวปฏิบัติที่ดี ( Best  Practice ) “สภาเข้มแข็ง   เสริมแรงที่ปรึกษา  งามสง่าคุณธรรม”   ซึ่งได้สอดคล้องตามแนวความคิด  No Child  Left  Behind  (NCLB)  “ไม่มีเด็กคนใด  ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง” เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานที่ 1 การบริหารจัดการศึกษาตามแนวคิด No Child  Left  Behind  (NCLB)   มาตรฐานที่ 2   การจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วม  และมาตรฐานที่ 3 การพัฒนาศักยภาพนักเรียนรายบุคคล  อันจะส่งผลต่อการแก้ปัญหาสำหรับกลุ่มนักเรียนที่ต้องดูแลใกล้ชิด  และส่งเสริมสำหรับนักเรียนที่มีความพร้อมให้พัฒนายิ่งขึ้นไป
         

วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินการ
        ๑. เพื่อให้โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยมีกระบวนการ  วิธีการ   และเครื่องมือคุณภาพ  ที่มีมาตรฐาน  สามารถตรวจสอบได้
        ๒. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วยกิจกรรมหลากหลายเพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง เช่น กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ   กิจกรรมสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมสภานักเรียน      กิจกรรมสอนซ่อมเสริม    กิจกรรมโรงเรียนสีขาวห่างไกลยาเสพติด  ทุกกิจกรรมที่กล่าวมาเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมบูรณาการ
        ๓. เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตเต็มตามศักยภาพ มีทักษะการดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติและสังคม   มีภูมิคุ้มกันตัวเองที่ดีเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา
        ๔. เพื่อส่งเสริมให้ครูประจำชั้น / ครูที่ปรึกษา  บุคลากรในโรงเรียน  ผู้ปกครอง  ชุมชน หน่วยงาน และองค์กรภายนอกมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน


-๓-
กระบวนการดำเนินงาน
                แนวปฏิบัติที่ดี ( Best  Practice ) “สภาเข้มแข็ง   เสริมแรงที่ปรึกษา  งามสง่าคุณธรรม”  ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนจตุราษฎร์พิทยาคม ได้ดำเนินการแบบมีส่วนร่วมโดยยึดวงจร PDCA ของเดมมิ่ง  โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้     
ขั้นการวางแผน  (P)       
          ๑.  จัดประชุมครูระดมสมอง เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  การกำหนดโครงสร้างการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน
         ๒.  สร้างความตระหนักให้ครูทุกคนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้เห็นถึงคุณค่าและความจำเป็นของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
         ๓.  จัดตั้งคณะกรรมการภาคีเครือข่ายหน่วยงานและบุคคลภายนอกเป็นกรรมการเครือข่ายในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และมีการประชุมปรึกษาหาหรือขอคำแนะนำหรือขอความร่วมมือช่วยเหลือ
         ๔.  จัดให้มีกำหนดแผนการดำเนินงาน นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ขั้นดำเนินงานตามแผน  (D)
จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามปฏิทินที่กำหนดดังนี้
          ๑.  สภาเข้มแข็ง  เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาความเป็นผู้นำของนักเรียน ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย  ฝึกทักษะกระบวนการทำงาน  การทำงานร่วมกับผู้อื่น และส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียน โดยใช้กระบวนการของการเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน   โดยภาระงานที่คณะกรรมการนักเรียนปฏิบัติ  แบ่งออกเป็น   ๒   ลักษณะ  ได้แก่
          ๑.๑  ภาระงานประจำวัน
                  - ดูแลการมาโรงเรียน   การแต่งกาย  และการปฏิบัติตามระเบียบวินัยของนักเรียน
                  - ตรวจความสะอาด  ความเรียบร้อยของห้องเรียน  อาคารเรียน ทุกเช้าก่อนเข้าแถว
                 - ดำเนินกิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติ
                 - กิจกรรมเสียงตามสาย
           ๑.๒  ภาระงานในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ    โรงเรียนให้โอกาสและส่งเสริม  คณะกรรมการนักเรียนในการเป็นผู้วางแผนและดำเนินกิจกรรม ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ช่วยกิจกรรมต่าง ๆของทางโรงเรียน ได้แก่
                  - จัดเตรียมสถานที่ตลอดจนเครื่องเสียงในการจัดกิจกรรมของทางโรงเรียน
                  - ดูแลควบคุมความเป็นระเบียบเรียบร้อยของนักเรียนในช่วงกิจกรรม
                  - ทำหน้าที่เป็นฝ่ายปฏิคมต้อนรับในกิจกรรมต่าง ๆ

          ๒.  เสริมแรงที่ปรึกษา    ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา  เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับนักเรียนมากที่สุด  และเป็นบุคลากรหลักในการดูแล   ช่วยเหลือนักเรียน  จึงมีบทบาทหน้าที่และแนวทางดำเนินงานดังนี้
              ๒.๑ รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล  คัดกรองนักเรียนทุกคน   โดยการใช้โปรแกรม Care  For   All   จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต  ๓๒    และการบันทึกข้อมูลในระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
              ๒.๒ ศึกษาและรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนเป็นรายบุคคล     เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ  วิเคราะห์ข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
              ๒.๓  คัดกรอง จำแนกกลุ่มนักเรียนโดยสามารถแยกนักเรียนออกเป็นกลุ่ม สมใจ พอใจ ห่วงใย ใกล้ชิด
              ๒.๔  จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนา ได้แก่  กิจกรรมเยี่ยมบ้าน กิจกรรมโฮมรูม สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน ประชุมผู้ปกครอง จดหมายข่าว
              ๒.๕  งานประจำของที่ปรึกษา คือภารกิจที่ต้องปฏิบัติทุกวัน ได้แก่  ให้คำปรึกษา  ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
              ๒.๖. ส่งต่อ เป็นการดำเนินการส่งต่อภายในไปยังบุคคลหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  เช่น  ฝ่ายกิจการนักเรียน  ฝ่ายงานอนามัย 


          ๓. งามสง่าคุณธรรม   เป็นการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของทางโรงเรียนเพื่อเป็นการรณรงค์ป้องกัน  แก้ไขปัญหา ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนได้เป็น คนดี  คนเก่งและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  โดยสามารถแบ่งกิจกรรมออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
                ๓.๑ โครงการ/กิจกรรมประเภทส่งเสริมนักเรียนทั้งระบบ  ประกอบด้วย
                   กิจกรรม          :  ส่งเสริมสุขภาพ
กิจกรรมย่อย :  ตรวจร่างกายวัดส่วนสูง
กิจกรรมย่อย :  ตรวจความผิดปกติของตาบอดสี
กิจกรรมย่อย :  รณรงค์ให้ความรู้และป้องกันโรคไข้เลือดออก
กิจกรรม      :  ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม
กิจกรรมย่อย :   ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา
กิจกรรมย่อย :   สวดมนต์เย็นสุดสัปดาห์
กิจกรรมย่อย :  ส่งเสริมจิตอาสา
กิจกรรม      :  ส่งเสริมความถนัดด้านทักษะและวิชาการ
กิจกรรมย่อย :  แข่งขันทักษะวิชาการ
กิจกรรมย่อย :  การแสดงออกด้านกีฬา
กิจกรรมย่อย :  การแสดงออกทางดนตรี
กิจกรรมย่อย :  การแสดงออกทางศิลปะ
กิจกรรมย่อย :  การแสดงออกด้านวัฒนธรรมอันดีงาม
                ๓.๒ โครงการ/กิจกรรมประเภทแก้ไขปัญหานักเรียน   ประกอบด้วย
 กิจกรรม     :  แก้ไขปัญหาด้านการเรียน
กิจกรรมย่อย :  การสอนซ่อมเสริม/ลดปัญหาการอ่านไม่ออก  เขียนไม่คล่อง
กิจกรรมย่อย :  ยกระดับผลสัมฤทธิ์....พิชิตโอเน็ต
กิจกรรมย่อย :  ลดจำนวน 0  ร  มส.
กิจกรรม      :  แก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ
กิจกรรมย่อย :  สร้างอาชีพ...เพื่อหารายได้ระหว่างเรียน
กิจกรรม      :  แก้ไขปัญหาด้านพฤติกรรม
กิจกรรมย่อย :  ลดปัญหาทะเลาะวิวาท
กิจกรรมย่อย :  ป้องกันยาเสพติด
ขั้นประเมินผล  (C)
         ประเมินผลกิจกรรมทุกกิจกรรม โดยการสังเกตพฤติกรรม สอบถามการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจ           
ขั้นการปรับปรุงพัฒนา  (A)
         การนิเทศติดตามผลโครงการการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนต้องมีการตรวจสอบรวมถึงการประเมินผลกระทบหรือปัญหาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องกระทำควบคู่ไปกับการดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อจะได้นำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของการดาเนินงานการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ได้กาหนดไว้

ผลการดำเนินงาน
          จากการดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ของ แนวปฏิบัติที่ดี ( Best  Practice )  “สภาเข้มแข็ง   เสริมแรงที่ปรึกษา  งามสง่าคุณธรรม”  ก่อให้เกิดผลอันน่าพึงพอใจต่อนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และชุมชน ดังต่อไปนี้
          ๑. ผลที่เกิดแก่นักเรียน  คือทำให้นักเรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยม  คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มสูงขึ้นข้อมูลจากแบบสรุปผลการประเมินกิจกรรม   นักเรียนมีความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และสังคม มีความเป็นประชาธิปไตย  จากแบบสอบถามความพึงพอใจของคณะครูและนักเรียนในการปฏิบัติหน้าที่ของสภานักเรียน
          ๒. ผลที่เกิดกับครู  ครูมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับนักเรียน  สามารถวางแผนในการป้องกัน  การพัฒนาและส่งเสริมให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เต็มตามศักยภาพของนักเรียน  อีกทั้งครูยังมีความภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าของการเป็นพ่อครูแม่ครู เมื่อเห็นพัฒนาการและความสำเร็จของนักเรียน
          ๓. ผลที่เกิดกับโรงเรียน  โรงเรียนได้รับการยอมรับ และยกย่องชมเชยจากผู้ปกครอง ชุมชน สังคม  โดยมีการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี    ตลอดจนทำให้ได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเป็นอย่างดียิ่ง
          ๔. ผลที่เกิดกับชุมชน  การที่นักเรียนได้มีส่วนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับชุมชน และชุมชนมีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรและจัดกิจกรรมแก่นักเรียน  ส่งผลให้ชุมชนกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง สามารถรักษาศิลปะ วัฒนธรรมของชุมชนได้อย่างยั่งยืน


ประโยชน์ที่ได้รับและการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดี ( Best  Practice ) 
          ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ดี ( Best  Practice )  “สภาเข้มแข็ง   เสริมแรงที่ปรึกษา  งามสง่าคุณธรรม”  สามารถแบ่งเป็นด้านต่าง ๆดังนี้
ด้านนักเรียน
         -  ได้รับการดูแลช่วยเหลือและพัฒนาสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสภาพแวดล้อมทางสังคมอย่างทั่วถึง
        -  ได้รับการส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน แก้ไขปัญหาทั้งด้านการเรียนรู้และความสามารถพิเศษ
        -  ได้รู้จักตนเอง  สามารถปรับตัว มีทักษะทางสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
       -  มีทักษะชีวิต  มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ เพื่อน ครู และผู้ปกครอง
ด้านครู
       -  ตระหนักและเห็นความสำคัญในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
       -  มีเจตคติที่ดีต่อนักเรียน
         -  มีผลงานสอดคล้องกับมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษา
       -  มีความรักและความศรัทธาในวิชาชีพครู

ด้านผู้บริหาร
          -  มีรูปแบบกระบวนการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในโรงเรียนเชิงระบบภายใต้การมีส่วนร่วม
       -  สามารถใช้ข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนในการกำหนดแนวทางในการพัฒนานักเรียน  หลักสูตร  และคุณภาพการจัดการศึกษาด้านสถานศึกษา
       -  มีผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษา
       -  ได้รับการยอมรับ สนับสนุนและความร่วมมือจากชุมชน บุคลากร องค์กรที่เกี่ยวข้อง
       -  มีการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้และเอื้ออาทร
ด้านผู้ปกครอง ชุมชน
       -  ตระหนักในการมีส่วนร่วมกับสถานศึกษา
       -  เข้าใจถึงวิธีการอบรมสั่งสอนบุตรหลาน
       -  เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุตรหลานและบุคคลในชุมชน
       -  มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุตรหลาน  และเป็นครอบครัวที่เข้มแข็ง


ปัจจัยความสำเร็จ
          ความสำเร็จของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนจตุราษฎร์พิทยาคมมาจากปัจจัยที่สำคัญดังต่อไปนี้  
          ๑.  การสนับสนุนของผู้บริหาร  ผู้บริหารของโรงเรียนจตุราษฎร์พิทยาคมให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักเรียนในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง  ทั้งด้านวิชาการ  ด้านสังคม ศิลปะวัฒนธรรม  ทำให้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อชุมชน  อีกทั้งสนับสนุนด้านงบประมาณในการบริหารจัดการ  ตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรได้เพิ่มพูนทักษะความรู้ในด้านต่าง ๆ โดยการไปอบรมสัมมนาหรือศึกษาดูงาน
          ๒.  เครื่องมือระบบคัดกรองนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ โดยการใช้โปรแกรม Care  For  All  จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต  ๓๒ เ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0