โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การฝึกเขียนด้วยการเรียนการสอนแบบเสริมต่อการเรียนรู้ (Scaffolding) Practice writing with teaching adjuvant to learn with scaffolding .

โรงเรียน : ดอยหลวง รัชมังคลาภิเษก สพม.เชียงราย

ระดับ : ระดับชาติ

กลุ่มสาระฯ : ภาษาไทย

เผยแพร่เมื่อ : 13 ก.พ. 2563 โดย : อรวรรณ ส่งศรี จำนวนผู้เข้าชม 387 คน


ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
จากแนวคิดในการสอนแบบการเสริมต่อการเรียนรู้ ดังที่กล่าวมา  สามารถวิเคราะห์สาระสำคัญ ได้ดังนี้คือการพัฒนาความสามารถในการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ  โดยการให้การช่วยเหลือ  สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยการสาธิต ปฏิบัติหรือทำให้ดู  การใช้คำถามกระตุ้นเตือน  การให้ข้อมูลป้อนกลับ โดยมีครูผู้สอนคอยให้การช่วยเหลือ  หรือผู้เรียนให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เป้าหมายของการช่วยเหลือคือการให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานที่ผู้เรียนไม่สามารถทำให้สำเร็จด้วยตนเอง ให้เสร็จสมบูรณ์ได้ด้วยตนเอง โดยการช่วยเหลือจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงและลดลง ในขณะที่ผู้เรียนค่อย ๆ เพิ่มความสามารถในการปฏิบัติงานด้วยตนเอง และครูผู้สอนควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเขียนเป็นอย่างดีและสามารถวิเคราะห์ประเมินค่างานเขียนได้เป็นผู้ที่รักเมตตา มีความสัมพันธ์กับผู้เรียนอย่างใกล้ชิด เข้าใจและให้ความเห็นอกเห็นใจเด็กของตนโดยให้กำลังใจ ยกย่องชมเชยให้มากและงดเว้นการตำหนิ  ควรจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนเพื่อเร้าความสนใจและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิด ใช้สื่อที่จูงใจ จัดลำดับความยากง่ายของกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียน และส่งเสริมกำลังใจและแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อพัฒนาการเขียนต่อไป
ประโยชน์ที่ได้รับ
  1. นักเรียนได้รับการพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความ
  2. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยการเสริมต่อการเรียนรู้ (Scaffolding) เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าในการวิจัยเกี่ยวกับความสามารถในการเขียนเรื่อง
  3. ผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0