โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การพัฒนาทักษะ “การออกแบบสวนแก้ว” โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้การคิดจากภาพเป็นฐาน โรงเรียนดอยหลวง รัชมังคลำภิเษก ส ำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษำมัธยมศึกษำ เขต 36

โรงเรียน : ดอยหลวง รัชมังคลาภิเษก สพม.เชียงราย

ระดับ : ระดับชาติ

กลุ่มสาระฯ : การงานฯ

เผยแพร่เมื่อ : 13 ก.พ. 2563 โดย : อรวรรณ ส่งศรี จำนวนผู้เข้าชม 936 คน


         การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพจึงมุ่งเน้นให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการ คิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและสร้างองค์ความรู้ได้อย่างเหมาะสมเต็มตามศักยภาพ ส่งเสริม ความสามารถในการคิดอย่างสร้างสรรค์การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบเพื่อน าไปสู่ การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ ตลอดจนเข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทาง ในงานอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ Terrarium การจัดสวนแก้วเป็นการจำลองธรรมชาติและย่อเรื่องราวต่าง ๆ มาไว้ในภาชนะที่ กำหนด พันธุ์ไม้ที่ใช้จัดเป็นพวกตระกูลแคคตัส กระบองเพชรหรือไม้อวบน้ำ การจัดสวนแก้วจะมุ่งเน้น ที่การจัดกลุ่มต้นไม้ให้เกิดความสวยงาม โดยยึดอาศัยความรู้พื้นฐาน ด้านความรู้ทางด้านพืชกรรม เป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญเพื่อสามารถปฏิบัติให้พืชดำรงชีวิตอยู่อย่างสมบูรณ์ได้นาน เช่น ความรู้ เกี่ยวกับชนิดพันธุ์ไม้และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้และการเลือกพันธุ์ไม้ ด้าน ความรู้ในหลักของศิลปะการจัดสวนแก้ว หรือเรียกว่า หลักการออกแบบ 3 หลักของศิลปะในการออกแบบการจัดสวนแก้ว ประกอบด้วย (1.)หลักเอกภาพ ความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันของผลงานโดยรวมทั้งหมดไม่ใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของผลงาน ในสวนแก้วนั้น ซึ่ง พิจารณาโดยรวมถึงการจัดวางองค์ประกอบทั้งหมดให้มีความสัมพันธ์กัน มีทั้งส่วนเด่นส่วนรอง เกื้อหนุนกัน (2.)หลักความสมดุล เป็นการจัดวางองค์ประกอบให้เกิดลักษณะที่ถ่วงซึ่งกันและกันทั้ง 2 ด้านเป็นอย่างน้อย และใช้ความสมดุลแบบธรรมชาติ ซึ่งเป็นความสมดุลที่ต้องรับรู้และวัดจาก ความรู้สึกจากการมอง จึงต้องอาศัยความชำนาญในการจัด (3.)หลักความกลมกลืน เป็นการจัด องค์ประกอบให้เกิดความพอเหมาะพอดีจากลักษณะของใบ สีใบ และรูปทรงของล าต้นคล้ายกัน (4.) หลักความแตกต่าง เป็นการน าเอาองค์ประกอบที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น นำความแตกต่างของ รูปทรง สี ลักษณะใบของพันธุ์ไม้มาจัดรวมกัน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์สวยงามในรูปแบบของสวน (5.) หลักการแบ่งสัดส่วน แบ่งได้ 3 ส่วน คือ พื้นที่ที่เป็นมุมมองส าคัญมี 60% พื้นที่รองอีก 2 ส่วน ให้มีส่วนละ 20% ลักษณะการแบ่งพื้นที่ขึ้นอยู่กับรูปแบบของสวนที่ต้องการจัด และสัดส่วนที่ดีจะเป็น การจัดให้องค์ประกอบต่าง ๆ มีความสัมพันธ์ที่เหมาะสมกัน เราพิจารณาสัดส่วนได้ 2 ลักษณะ คือ สัดส่วนในแง่ของวัตถุ ขนาดของภาชนะ ต้นไม้หรือวัสดุต่าง ๆ จะเป็นความสัมพันธ์ในส่วนของความ กว้าง ยาว สูงต่ า ตื้น ลึก ฯลฯ (6.) หลักการจัดจังหวะ ในการจัดองค์ประกอบในสวนถาดชื้น จะรับรู้ ได้ด้วยสายตา ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับระยะโดยตรง การก าหนดต าแหน่งและขนาดขององค์ประกอบจะ กระจัดกระจายอย่างเหมาะสม ทั้งระยะหน้า-หลัง ห่าง-ชิด สูง-ต่ า ฯลฯ (7.) หลักจุดเด่น เป็นจุดที่เรา ต้องเน้นเป็นพิเศษจากการวางองค์ประกอบหลักของก้อนหิน และองค์ประกอบรอง ทักษะการออกแบบ (design process skills ) จัดสวนแก้วมีขั้นตอนของการออกแบบเพื่อให้ ผู้ออกแบบได้เข้าใจถึงจุดประสงค์ของการออกแบบ ขั้นตอนการออกแบบแปลน เครื่องมือ และการ ใช้เครื่องมือ สัญลักษณ์ รูปทรงเรขาคณิต และใช้รูปแบบวงกลมในการออกแบบ (balloon diagram) หลักการเขียนแบบแปลนสวนแก้ว เขียนแปลน (plan) เป็นการบอกลักษณะรูปร่างของพันธุ์ไม้หรือ สิ่งของนั้น ๆ โดยมองจากเบื้องบนลงมา (top view) แปลนสามารถบอก รายละเอียด เกี่ยวกับที่ตั้ง ทิศทางและขนาดของสิ่งต่าง ๆ ภายในแปลนทั้งหมด Visual Thinking หรือ “กระบวนการคิดเป็นภาพ” จัดเป็นศาสตร์ของ การจัดระเบียบ และ เพิ่มศักยภาพ ในการคิดและสื่อสารจากภายในความคิดสู่ผู้รับสาร ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่สามารถช่วยให้การ สื่อเนื้อหาที่มีความซับซ้อน ให้เข้าใจง่าย ชัดเจน และตรงกัน รวมถึงสามารถด าเนินกิจกรรมไปใน ทิศทางเดียวกันได้ กระบวนการคิดเป็นภาพนี้ ถือเป็นการเรียนรู้ผ่านสื่อที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่ง จะช่วยให้กลุ่มนักเรียนที่เรียนรู้ได้ดีผ่านภาพ (กลุ่มที่มักจะเห็นข้อมูลต่างๆเป็นรูปภาพและสีสัน) มี แนวโน้มที่จะใช้พื้นที่ของสมองในส่วนของอารมณ์และความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก ทักษะ visual thinking จึงเป็นทักษะส าคัญในการพัฒนาความคิดและออกแบบการสื่อสาร เพื่อที่จะสามารถน าเสนอความคิดนั้นออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้การสื่อสารเป็นไปด้วย ความเข้าใจร่วมกันกับบุคคลอื่นๆ และสามารถด าเนินการให้ความคิดนั้นเป็นจริงขึ้นมา ดังนั้นการใช้ ทักษะ Visual Thinking จึงไม่ต้องมีฝีมือการวาดภาพขั้นเทพหรือต้องมีความเป็นศิลปะ เนื่องจาก ศาสตร์ของการคิดเป็นภาพแตกต่างกับศาสตร์ของศิลปะเป็นอย่างมาก ในขณะที่ศิลปะคือการบรรจง และตั้งใจแสดงออกถึงความสวยงาม แต่ Visual Thinking เน้นการอธิบายสิ่งที่อยู่ในความคิดให้ สามารถสื่อสารได้อย่างง่ายดาย ด้วยเหตุนี้ Visual Thinking จึงเป็นแนวคิดที่สำคัญ โดย 4 กระบวนการคิดด้วยภาพจะสามารถช่วยให้มีทักษะในการจัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะอื่น นอกเหนือจากรูปแบบเชิงรายงานหรือวิจัย ทักษะการเก็บเกี่ยวข้อมูลผ่านภาพ และทักษะการได้รับ ข้อมูลอย่างชัดเจนผ่านภาพ จากการประเมินทักษะ“การออกแบบสวนแก้ว”ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาการ งานอาชีพ2 (งานเกษตรธุรกิจ) โรงเรียนดอยหลวง รัชมังคลาภิเษก พบว่า นักเรียนยังขาดประสบการณ์ ไม่สามารถวางแผนในการออกแบบแปลน การก าหนดมาตราส่วนและสัดส่วนพันธุ์ไม้ที่มาใช้ในแบบได้ อย่างถูกต้อง (อ้างอิง:คะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน) ซึ่งการจัดสวนแก้วนั้นนักเรียนต้องเสนอแบบที่ ชัดเจน ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพตามแบบ Bird eye’s view หรือ Top view ก่อนลงมือปฏิบัติจริง จากเหตุผลดังกล่าวทางผู้จัดท าจึงได้สนใจศึกษาการพัฒนาทักษะ “การออกแบบสวนแก้ว” โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้การคิดจากภาพ(Visual Thinking) เป็นฐานขึ้น ในการเพิ่มศักยภาพแนว ทางการจัดการเรียนรู้ส าหรับการออกแบบสวนแก้วในรูปแบบการคิดผ่านภาพเป็นการสื่อหลักแทนการ ใช้เนื้อหาที่มีความซับซ้อนให้เข้าใจง่าย เป็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะ หาประสิทธิภาพ และความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบสวนแก้วโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้การคิดจากภาพเป็นฐาน ที่ เอื้อส่งเสริมการเรียนรู้การสร้างประโยชน์จากการออกแบบสวนแก้ว และการต่อยอดการใช้ทักษะชีวิต ที่จำเป็นด้านอาชีพ
จุดประสงค์และเป้าหมายของกำรดำเนินการ
(1.) เพื่อพัฒนาทักษะ“การออกแบบสวนแก้ว” โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้การคิดจากภาพ(Visual Thinking) เป็นฐาน
(2.) เพื่อหาประสิทธิภาพE๑ /E๒รูปแบบ“การออกแบบสวนแก้ว” โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้การคิด จากภาพ(Visual Thinking) ตามเกณฑ์80/80
(3.) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาทักษะ“การออกแบบสวนแก้ว” โดยใช้เทคนิคการ เรียนรู้การคิดจากภาพเป็นฐาน
เป้าหมาย 
        ประชากร การพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาการงาน อาชีพ2 (งานเกษตรธุรกิจ) โรงเรียนดอยหลวง รัชมังคลาภิเษก ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต ๓๖ ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จ านวน 45 คน 
        กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ที่กำลังเรียนรายวิชาการงานอาชีพ2 (งานเกษตรธุรกิจ) โรงเรียนดอยหลวง รัชมังคลาภิเษก อยู่ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา 2562 จ านวน 16 คน ได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling ) (บุญชม ศรีสะอาด, 2553 : 107)

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0