โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้สู่อาเซียน”

โรงเรียน : เทพา สพม.สงขลา สตูล

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : สังคมศึกษา

เผยแพร่เมื่อ : 14 ก.ย. 2562 โดย : นายเฟาซีย์ ชายเหร็น จำนวนผู้เข้าชม 453 คน


รายละเอียดผลงาน
  1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๑๖ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาเซียนศึกษา  จึงกำหนดให้มีนโยบายและเป้าหมาย เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในการเป็นประชาคมอาเซียนมากยิ่งขึ้น  โดยได้ระบุกระบวนการ และขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมของสถานศึกษา เพื่อส่งผลให้ผู้เรียนมีความเป็นพลเมืองอาเซียนอย่างเต็มตามศักยภาพ 
การจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน  เพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะทำงาน และอยู่ร่วมกับประชากรในกลุ่มอาเซียน ซึ่งต้องเรียนรู้ในเรื่องเกี่ยวกับกฎบัตรอาเซียน และประเทศในกลุ่มอาเซียนด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของผู้คนในอาเซียน โดยกิจกรรมที่จัดให้   กับผู้เรียนมุ่งหล่อหลอม ปลูกฝังให้เป็นบุคคลที่มีความเฉลียวฉลาด เฉียบคม ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติสุข
โรงเรียนเทพา อ.เทพา จ.สงขลา ได้ตระหนักถึงความสำคัญว่า การใช้ภาษาอาเซียน เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสื่อสาร จึงได้ดำเนินการ การจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้สู่อาเซียน” โดยจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพด้านความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณธรรม บนพื้นฐานของความเป็นพลเมืองอาเซียน ซึ่งมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายตามความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมนักเรียนในการอยู่ร่วมกันกับประเทศต่าง ๆ ในประชาคมอาเซียนต่อไป
 
  1. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
    1. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอาเซียนในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้สู่อาเซียน”
    2. เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอาเซียน (ภาษาต่างประเทศที่ 2 และ 3 ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาจีน)
    3. เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียนในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้สู่อาเซียน” ของโรงเรียนเทพา อ.เทพา จ.สงขลา สพม.เขต 16

  1. กระบวนการผลิตงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
โรงเรียนเทพา อำเภอเทพา  จังหวัดสงขลา  เป็นโรงเรียนที่อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๖ จังหวัดสงขลา  ในการบริหารสถานศึกษา ได้น้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”   มีการยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร เป็นกัลยณมิตรและทำงานเป็นทีม เน้นการทำงานที่บุคลากร     ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม (School Base Management)  แบ่งโครงสร้างการบริหารตามบริบทรูปแบบสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ที่มุ่งหวังยกระดับการศึกษาให้ได้มาตรฐานทั่วถึงและมีคุณภาพ
นอกจากนี้ ยังยึดหลักในการปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วย
1. มีความซื่อสัตย์สุจริต ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการบริหาร เพราะจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้เกิดความศรัทธาและเป็นแบบอย่างที่ดี
2. มีความยุติธรรม บริหารงานด้วยความเสมอภาค ความเป็นกลาง และความยุติธรรมกับทุกคน โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งทำให้ไม่เกิดความขัดแย้งภายในสถานศึกษา
3. มีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน ของครูและบุคลากรทางการศึกษา  และ ยึดหลักว่า “การเป็นแบบ ดีกว่าบอก”
4. มีความรับผิดชอบสูง มีความรับผิดชอบคือ เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่ง เพราะ ความรับผิดชอบทำให้งานประสบความสำเร็จ ทั้งงานที่เป็นนโยบายเร่งด่วน , งานที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย และงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา
6. มีภาวะผู้นำสูง , กล้าตัดสินใจ  , มีคุณธรรมจริยธรรม , มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง สามารถเก็บความรู้สึกต่างๆ ได้ สุขุม รอบคอบ นุ่มนวล มีความอดทนต่อความรู้สึกที่ไม่ถูกต้องหรือขัดต่อกฎระเบียบ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรในโรงเรียนและครอบครัว
ในการจัดกระบวนการและแนวทางการจัดการศึกษาสู่เป้าหมายความสำเร็จด้วยกระบวนการบริหารเชิงระบบ และบริหารให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงได้พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียนในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้สู่อาเซียน” ดังนี้
ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาต่างประเทศที่ 2 ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน ของโรงเรียนเทพา อ.เทพา จ.สงขลา และพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับอาเซียนศึกษา
ขั้นที่ 2 กำหนดรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้    สู่อาเซียน”เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียนของโรงเรียนเทพา
ขั้นที่ 3 ตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน
ขั้นที่ 4 ดำเนินการตามรูปแบบบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้    สู่อาเซียน”
ขั้นที่ 5 กำกับ นิเทศ ติดตาม กระบวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตามปฏิทินกิจกรรมโรงเรียน

 
Text Box: ขั้นที่ 6 ประเมินผลการดำเนินการตามรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้สู่อาเซียน” โดยประเมินจากกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการ และแบบสอบถามความพึงพอใจ
กรอบแนวคิดการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียนในสถานศึกษา
โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้สู่อาเซียน”
รูปแบบการบริหารจัดการ
เรียนรู้ภาษาอาเซียน
ขั้นที่ 1
   ศึกษาสภาพการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาต่างประเทศที่ 2 ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน ของโรงเรียนเทพา อ.เทพา จ.สงขลา และพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับอาเซียนศึกษา
ขั้นที่ 2
   กำหนดรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้ สู่อาเซียน”เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียนของโรงเรียนเทพา
ขั้นที่ 3
   ตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน
ขั้นที่ 4
   ดำเนินการตามรูปแบบบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้    สู่อาเซียน”
ขั้นที่ 5
   กำกับ นิเทศ ติดตาม กระบวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตามปฏิทินกิจกรรมโรงเรียน
ขั้นที่ 6
   ประเมินผลการดำเนินการตามรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้สู่อาเซียน” โดยประเมินจากกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการ และแบบสอบถามความพึงพอใจ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้
พหุการเรียนรู้สู่อาเซียน
  • พัฒนาหลักสูตร
  • โครงการสอน
  • แผนการจัดการเรียนรู้
  • กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ชุมนุม)
  • กิจรรมค่ายภาษา
  • กิจกรรมบูรณาการ@เทพา
  • กิจกรรมเสียงตามสาย
  • กิจกรรม Asian Day
  • กิจกรรม Morning Talk
  • กิจกรรมแข่งขันวิชาการ
  • เล่านิทานภาษาอาเซียน
  • Trip เรียนรู้ภาษา
  • ห้องเรียนคุณภาพ
  • สื่อและแหล่งเรียนรู้ภาษาอาเซียน
  • ป้าย สัญลักษณ์ในโรงเรียน
  • กิจกรรม Active Learning
ผลที่เกิดขึ้น
ผลที่เกิดกับนักเรียน
- นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาอาเซียน (ภาษาต่าปงะเทศที่ 2 และ 3 ได้แก่ ภาษาจีน และภาษามลายู) จากกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ กิจกรรมบูรณาการการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มสาระ กิจกรรมบูรณาการ@เทพา ค่ายภาษา ชุมนุม และกิจกรรมอื่น ๆ
- นักเรียนสามารถนำความรู้มาบูรณาการกับกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างดี

- นักเรียนได้รับรางวัลในการแข่งขันทักษะทางวิชาการ ภาษาจีน และ ภาษามลายู จากหน่วยงานที่จัดการแข่งขันภาษาอาเซียน
ผลที่เกิดกับครู
- ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ Active Learning บูรณาการ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอน โครงการห้องเรียนคุณภาพ มีการเผยแพร่ผลงานของนักเรียนผ่านระบบสื่อ Social พัฒนาทักษะกระบวนการคิดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความคิดสร้างสรรค์ (Creative)
- ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียน ผ่านกิจกรรม PLC กลุ่มสาระต่าง ๆ
ผลที่เกิดกับสถานศึกษา
- โรงเรียนมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ในการใช้ภาษาอาเซียนในการจัดการเรียนรู้ ทำให้การจัดการศึกษาด้านภาษาอาเซียนมีมาตรฐานมากขึ้น
- โรงเรียนได้รับความชื่นชม ความเชื่อมั่น จากผู้ปกครองและชุมชน
การนิเทศติดตามและประเมินผล
  • การประเมินกิจกรรมต่าง ๆ
  • แบบสอบถามความพึงพอใจ



















 
  1. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
จากการดำเนินการจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้สู่อาเซียน”ปรากฎผลเป็นความสำเร็จอย่างหลากลาย ทั้งต่อผู้บริหาร ครู และนักเรียน อีกทั้งยังมีการพัฒนาของบุคลากร พัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย ต่อเนื่อง ทำให้เกิดผลดังนี้
ผลที่เกิดกับนักเรียน
  • นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาอาเซียน (ภาษาต่าปงะเทศที่ 2 และ 3 ได้แก่ ภาษาจีน และภาษามลายู) จากกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ กิจกรรมบูรณาการการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มสาระ กิจกรรมบูรณาการ@เทพา ค่ายภาษา ชุมนุม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอาเซียน ด้านทักษะกระบวนการและเจตคติที่ดี
  • นักเรียนสามารถนำความรู้มาบูรณาการกับกิจกรรมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
  • นักเรียนได้รับรางวัลในการแข่งขันทักษะทางวิชาการ ภาษาจีน และ ภาษามลายู จากหน่วยงานที่จัดการแข่งขันภาษาอาเซียน ทั้งระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ ระดับประเทศอีกด้วย
ผลที่เกิดกับครู
  • ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ Active Learning บูรณาการ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอน โครงการห้องเรียนคุณภาพ มีการเผยแพร่ผลงานของนักเรียนผ่านระบบสื่อ Social พัฒนาทักษะกระบวนการคิดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความคิดสร้างสรรค์ (Creative)
  • ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียน ผ่านกิจกรรม PLC กลุ่มสาระต่าง ๆ
ผลที่เกิดกับสถานศึกษา
  • โรงเรียนมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ในการใช้ภาษาอาเซียนในการจัดการเรียนรู้ ทำให้การจัดการศึกษาด้านภาษาอาเซียนมีมาตรฐานมากขึ้น
  • โรงเรียนได้รับความชื่นชม ความเชื่อมั่น จากผู้ปกครองและชุมชน
 
  1. ปัจจัยความสำเร็จ
การบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียนในสถานศึกษา  โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้สู่อาเซียน” มีความสำเร็จเพราะ ครูและบุคลากรให้ความร่วมมือที่ดี โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จดังนี้
  1. ผู้บริหาร มีภาวะความเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)  เป็นที่ยกย่อง  เคารพนับถือ  ศรัทธา  ไว้วางใจ  และทำให้ผู้ตามเกิดความภาคภูมิใจเมื่อร่วมงานกัน   ผู้นำมีวิสัยทัศน์และสามารถถ่ายทอดไปยังผู้ตาม มีแนวคิดที่สร้างสรรค์ในการบริหารจัดการการเรียนรู้ภาษาอาเซียน โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้สู่อาเซียน”
  2. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการทำงานแบบมีส่วนร่วม (Collaboration) ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมกันพัฒนา จึงทำให้ภาระงานที่ปฏิบัติได้สำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
  3. ชุมชน ประกอบด้วย ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายศิษย์เก่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ และกิจกรรมของโรงเรียน
  4. ทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนมีการจัดโครงการห้องเรียนคุณภาพ เพื่อจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์การเรียนการสอน สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษาให้เพียงพอในการจัดการเรียนการสอนภาษาอาเซียน ให้เพียงพอกับจำนวนห้องเรียน และมีความทันสมัย
 
  1. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
          การบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้สู่อาเซียน” พบว่า การดำเนินงาน การพัฒนาบุคลากร และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ได้มาตรฐาน ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งทางด้าน ผู้เรียน ครู ผู้บริหารและชุมชน จะประสบผลสำเร็จได้ ต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย โดยใช้วงจร PDCA เริ่มจากการวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบ การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยมีความรับผิดชอบร่วมกัน จึงจะนำไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จร่วมกัน
 
  1. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
          โรงเรียนเทพา ได้มีการเผยแพร่ผลงานและกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ภาษาอาเซียน โดยใช้รูปแบบ “พหุการเรียนรู้สู่อาเซียน” ดังนี้
    1. การจัดค่ายกิจกรรม English Camp และ Brush up your English
    2. กิจกรรมบูรณาการวันอาเซียน บูรณาการ@เทพา 2562
    3. เผยแพร่กิจกรรมทางเว็บไซต์โรงเรียนเทพา www.thepha.ac.th
    4. เผยแพร่กิจกรรมทาง Facebook ของโรงเรียนเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
    5. เผยแพร่กิจกรรมทางเว็บไซต์ www.sea16.go.th
    6. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูสังกัด สพม.16 ผ่านระบบ My Office

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0