โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศด้านศิลปะ และกีฬาด้วยครูภูมิปัญญา

โรงเรียน : วัดบวรมงคล สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : สุขศึกษาฯ

เผยแพร่เมื่อ : 30 พ.ย. 542 โดย : นางปณิดา วรรณบุตร จำนวนผู้เข้าชม 576 คน


1. ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา
          โรงเรียนวัดบวรมงคล  ได้มีการกำหนดเอกลักษณ์ของโรงเรียนว่า “ศิลปะดี  กีฬาเด่น  เน้นคุณธรรม”  ดังนั้นทางโรงเรียนได้มีการกำหนดนโยบายส่งเริมผู้เรียนให้มีการพัฒนาทักษะทางด้านศิลปะ และทักษะทางด้านกีฬาให้แก่ผู้เรียนที่มีความสนใจและมีความสามารถพิเศษทางด้านศิลปะ และกีฬาควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนงตามหลักสูตรของโรงเรียน  โดยมีทั้งรูปแบบการสอนเสริมภายนอกเวลาเรียนหลังเลิกเรียน และการจัดสอบเป็นรายวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตร โดยพิจารณาพื้นฐานจากความมุ่งหวัง และความต้องการของผู้เรียน  ผู้ปกครอง และชุมชน ตลอดจนกระแสนิยมในยุคปัจจุบัน จึงกำหนดมุ่งเน้นไปที่ด้านทัศนศิลป์ กีฬาเปตอง และกีฬาฟุตซอล 
          จากเอกลักษณ์ และนโยบายของโรงเรียนที่กำหนด ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา จึงมีบทบาทหน้าที่ ที่สำคัญในการวางแผนกำหนดแนวทางการดำเนินการแต่ด้วยทางโรงเรียนได้ประสบกับปัญหาเรื่องการขาดแคลนจำนวนบุคลากร และความเชี่ยวชาญของบุคลากรเฉพาะด้าน ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้จึงได้มีวางแผนประสานเครือข่ายความร่วมมือกับครูภูมิปัญญาที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญเฉพาะด้านทั้งด้านของศิลปะ และกีฬา  โดยได้รับความร่วมมือจากอดีตครูเก่า  ศิษย์เก่า  บุคลากรจากชุมชน และหน่วยงานภายนอกเข้ามาให้การสนับสนุนช่วยเหลือดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาโดยรวมทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคม และสติปัญญา ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจ หรือมีศักยภาพความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศต่อไป


2. จุดประสงค์ และเป้าหมายของการดำเนินงาน
          1. เพื่อส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ภายในสถานศึกษา
          2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีทักษะและกระบวนการทำงานศิลปะ สามารถพัฒนาตนเองได้
เต็มตามศักยภาพ
          3. เพื่อพัฒนาทักษะกีฬาเปตอง และฟุตซอลให้แก่ผู้เรียนที่มีความสนใจ หรือมีความสามารถแล้วพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศ
          4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีความรู้ คุณธรรม และจริยธรรมในการดำเนินชีวิตให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข










3. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
          1. ขั้นเตรียมการ (Plan)
                   1.1 ประชุมครู และบุคลากรของโรงเรียนในส่วนต่างๆ เพื่อร่วมกันศึกษา และวิเคราะห์หลักสูตร   โดยนำข้อมูลด้านต่างๆ ของโรงเรียน และชุมชน รวมถึงความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และกระแสแนวโน้ม    การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาเป็นฐานในการกำหนดแผนการดำเนินงาน
                   1.2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตร และการจัดกิจกรรม  สร้างเครือข่ายและทีมงานใน
การขับเคลื่อนกิจกรรม
                   1.3 ประชุมปรึกษากับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง (กลุ่มบริหารวิชาการ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาหลักสูตร และรูปแบบของการจัดกิจกรรม
                   1.4 กำหนดกลยุทธ์ และโครงการกิจกรรมในการดำเนินกิจกรรม
                   1.5 ประชุมจัดทำแผนการปฏิบัติการ และปฏิทินการดำเนินกิจกรรม
          2. ขั้นดำเนินการ (Do)
                   2.1 ประชาสัมพันธ์ลักษณะแนวทางการดำเนินกิจกรรมแก่ผู้เรียนอย่างทั่วถึง
                   2.2 ประสานสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง คณะกรรมการสถานศึกษา สมาคมศิษย์เก่า สมาคมผู้ปกครอง และครู หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในการให้ความสนับสนุนขับเคลื่อนกิจกรรมในส่วนต่างๆ
                   2.3 คัดเลือกนักเรียนตามแผนการเรียนที่กำหนด (แผนการเรียนเน้นศิลปะ)
2.4 คัดเลือกนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมตามความสนใจ และศักยภาพความสามารถของผู้เรียน
     (ศิลปะ  กีฬาเปตอง  และกีฬาฟุตซอล)
2.5 ประชุมชี้แจงปฐมนิเทศให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจให้แก่นักเรียน  ผู้ปกครอง
และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
                   2.6 ดำเนินการจัดการเรียนรู้  ฝึกซ้อม  และจัดกิจกรรมตามปฏิทินที่กำหนด
                   2.7 จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม  ส่งผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมรายการแข่งขันต่างๆ ทั้งในหน่วยงานในสังกัด และหน่วยงานอื่นๆ ที่จัดขึ้น
          3. ขั้นตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนา (Check)
                   3.1 ตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบ นิเทศ กำกับ และติดตามการดำเนินการจัดการเรียนรู้
และการจัดกิจกรรม
                   3.2 ตรวจสอบ นิเทศ กำกับ และติดตาม ตามตารางที่กำหนดในปฏิทินปฏิบัติงาน
                   3.3 ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ และจัดกิจกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาแก้ไข ปรับปรุงกิจกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างสูงสุดตามศักยภาพและความสามารถ
                   3.4 ประเมินจากผลงาน และผลการแข่งขันที่เข้าร่วมในแต่ละรายการ
          4. ขั้นสรุป และรายงานผล (Action)
                   4.1 นำผลประเมินการจัดการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมมาจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อทบทวน กำกับ ติดตาม และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
                   4.2 จัดทำสรุปผลรายงานการดำเนินการจัดการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้บริหารในการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป
 

4. ผลการดำเนินการ / ผลสัมฤทธิ์ / ประโยชน์ที่ได้รับ
          1. ด้านการบริหารจัดการ
                   โรงเรียนมีการสร้างเครือข่ายครูภูมิปัญญาจากอดีตครูเก่า  ศิษย์เก่า  บุคลากรจากชุมชน และหน่วยงานภายนอกเพื่อพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของผู้เรียนในด้านศิลปะ และกีฬา
          2. ด้านการพัฒนาหลักสูตร
                   มีการพัฒนาหลักสูตรจากข้อมูลด้านต่างๆ ของโรงเรียน และชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และกระแสแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  ตลอดจนกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน และศักยภาพของผู้เรียน
          3. ด้านการจัดการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรม
                   มีการจัดการเรียนรู้ และออกแบบกิจกรรมเรียนรู้โดยครูภูมิปัญญาที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญเฉพาะด้านจึงทำให้สามารถออกแบบกิจกรรมและการฝึกซ้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามศักยภาพของผู้เรียนและศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างสมดุล เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของผู้เรียนในด้านศิลปะ และกีฬาได้อย่างมีระบบ
          4. ด้านผู้เรียน
                   ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้  การทำกิจกรรม  และการฝึกซ้อมด้วยวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องกับธรรมชาติในการเรียนรู้เฉพาะด้าน  ผู้เรียนรับการการพัฒนาศักยภาพ และความสามารถอย่างเป็นระบบ สามารถสร้างสรรค์ผลงาน และสร้างผลการแข่งขันเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับเขต และระดับประเทศ

5. ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ
          1. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษามีความยืดหยุ่น เอื้อต่อการจัดรายวิชาเพิ่มเติม และกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติมทั้งตามโครงสร้างหลักสูตร และเสริมหลักสูตร
          2. คณะกรรมการสถานศึกษา  ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมอย่างเต็มกำลังความสามารถ
          3. ผู้ปกครอง  ชุมชน  และหน่วยงานภายนอกให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในทุกๆ ด้านอย่างเต็มที่
          4. ผู้เรียนตระหนักในคุณค่าความสามารถของตนเอง และเห็นความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมทำให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และการเข้าร่วมกิจกรรม

6. บทเรียนที่ได้รับ
          1. กิจกรรมการพัฒนาศิลปะ และกีฬาสู่ความเป็นเลิศโดยครูภูมิปัญญา  เป็นการพัฒนาผู้เรียนผ่านการจัดการเรียนรู้ และกระบวนการของการทำกิจกรรมสู่การปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา อย่างเป็นขั้นตอนและมีระบบ แต่ต้องมีการฝึกฝนและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ จำเป็นต้องปลูกฝังค่านิยมในเรื่องของความมีวินัย และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
          2. การสร้างเครือข่ายกับครูภูมิปัญญา และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเปิดโอกาสให้องค์กรต่างๆ ที่สนับสนุนโรงเรียนได้มีส่วนร่วมจะส่งผลให้กิจกรรมดำเนินได้อย่างยั่งยืน และต่อเนื่อง โดยต้องทำความเข้าใจ และประสานกับทุกฝ่ายอย่างใกล้ชิดจึงจะประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี
          3. ข้อควรระวังคือเรื่องความปลอดภัยในการทำกิจกรรมฝึกซ้อม  แข่งขัน  รวมถึงความปลอดภัยในการเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียน
 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0