โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การผลิตถ่านชีวภาพ ไบโอชาร์ สำหรับปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร

โรงเรียน : มหาชัยวิทยาคม สพม.นครพนม

ระดับ : ระดับจังหวัด

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 7 ก.ค. 2562 โดย : เพชรรัตน์ พิลารัตน์ จำนวนผู้เข้าชม 490 คน


กิจกรรม การผลิตถ่านชีวภาพ ไบโอชาร์ สำหรับปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร
ชื่อโครงการ                  โครงการเศรษฐกิจพอเพียงพอเพียง ตามมาตรฐาน 1-15 
กิจกรรม                       ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียง
สนองกลยุทธ์                กลยุทธ์ที่  1  พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
สนองมาตรฐาน             มาตรฐานที่  2  ของ  สพฐ. 
ลักษณะโครงการ           [  ]  ใหม่        [ /]  ต่อเนื่อง          
กลุ่มบริหารที่รับผิดชอบ   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ผู้รับผิดชอบโครงการ      นายภูษิต  แสนสุภา  พร้อมคณะ
ระยะเวลาดำเนินการ       พฤษภาคม 2560 – มีนาคม 2562

1.หลักการและเหตุผล
         หลักการและเหตุผล ปัจจุบันปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) เกิดจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้อุณภูมิภายในโลกสูงขึ้น เป็นเหตุให้ฤดูกาลทั่วโลกเปลี่ยนไป และก๊าซที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน สังเกตุได้จากอุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้น มีสาเหตุหลักของมาจากก๊าซเรือนกระจกปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect)  มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือมีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก  ส่งผลกระทบทำให้โลกมีฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงรุนแรงมากขึ้นและก่อให้เกิดภัยทางธรรมชาติเพิ่มขึ้น เช่น อุทกภัย ปัญหาภัยแล้งและอากาศร้อนจัด หรือหนาวจัด ดังนั้นชุมชนตำบลมหาชัยและตำบลโคกสูง คิดที่จะลดภาวะโลกร้อนด้วยการฝังคาร์บอนลงไปในดินเพื่อให้ดินมีความชุมชื่นและปรับสภาพดินให้มีสารอาหารเพื่อเพิ่มปริมาณของต้นไม้เพื่อลดปัญหาโลกร้อน
       ทั้งนี้เนื่องด้วยปัจจุบันมีการใช้ปุ๋ยเคมีในภาคเกษตรกรรมจำนวนมากทำให้เกิดปัญหาดินเป็นกรดและดินมีสภาพเชื่อมโทรมดังนั้นการทำให้ดินปรับคืนสู่สภาพดินดีเพาะได้ดีก็คือการฝังถ่านชีวภาพไบโอชาร์ลงดินเนื่องจากถ่านชีวมวล คือวัสดุที่อุดมไปด้วยคาร์บอนที่ผลิตจากการให้ความร้อน มวลชีวภาพซึ่งใช้ออกซิเจนน้อยมาก เป็นกระบวนการแยกสลายด้วยความร้อน ที่เรียกว่ากระบวนการไพโรไลซิส ทำให้ถ่านที่ได้มีประจุไฟฟ้าและความพรุนสูง สามารถใช้ในการปรับปรุงดิน ช่วยดูดยึดธาตุอาหาร ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชแบบช้าๆ ทำให้ลดการสูญเสียธาตุอาหาร ช่วยดูดซับความชื้นในดินได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ให้สูงขึ้น ทำให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิต สภาพดินได้รับการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้ทางหนึ่ง จึงเหมาะที่จะนำมาใช้กับภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้และมีความยั่งยืนต่อไป

2.วัตถุประสงค์    
    1.เพื่อส่งเสริมระบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาโรงเรียนและหมู่บ้านตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 
    2.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับถ่านไบโอชาร์ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
    3.เพื่อถ่านทอดเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิตถ่านไบโอชาร์ที่ถูกต้องและเป็นกระบวนการ
    4.เพื่อสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนให้กับผู้เข้าอบรม
    5.เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
    6.เพื่อเพิ่มรายได้จากการเกษตรในชุมชน
    
3.เป้าหมาย
    3.1 ด้านปริมาณ 
         -นักเรียนโรงเรียนมหาชัยวิทยาคม 
         -ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนมหาชัยวิทยาคม 
    3.2  ด้านคุณภาพ
         3.2.1 ผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนทุกระดับชั้น  
         3.2.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 อ่านออก เขียนได้ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร                
         3.2.3 นักเรียนที่สนใจ และมีความสามารถภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ มีทักษะการใช้ภาษาไทยเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร
         3.2.4 ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ พัฒนาสื่อ/นวัตกรรมสำหรับใช้แก้ปัญหา/พัฒนาผู้เรียนที่อ่อนด้อยด้านการอ่าน และการเขียน และยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

4.สถานที่ดำเนินงาน  
    โรงเรียนมหาชัยวิทยาคม

5.ผลที่คาดว่าจะได้รับ     
     1.เพื่อให้ นักเรียน เกษตรกร นักวิชาการเกษตร และประชาชนผู้สนใจทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวไบโอชาร์ต่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
     2.เพื่อสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนให้ เกษตรกร และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
     3.เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
     4.เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการทำการเกษตรปลอดสารพิษ
     5. ลดรายจ่ายทางด้านการเกษตร


 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0