โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การพัฒนานักเรียนสู่วิศวกรน้อยนักประดิษฐ์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ SEEDS MODEL

โรงเรียน : กุสุมาลย์วิทยาคม สพม.สกลนคร

ระดับ : ระดับชาติ

กลุ่มสาระฯ : วิทยาศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ : 30 ก.ค. 2563 โดย : ภัทรวีร์ แก้วแสงใส จำนวนผู้เข้าชม 504 คน


การพัฒนานักเรียนสู่วิศวกรน้อยนักประดิษฐ์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ SEEDS MODEL มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะในการประดิษฐ์ เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบ สู่การเป็นวิศวกรน้อยนักประดิษฐ์ และยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้สูงขึ้น 2) เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ คุณธรรม และความพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียน 3) เพื่อให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา สนับสนุน และส่งเสริมกิจกรรมการเรียนของนักเรียน
  เครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน คือ กระบวนการเรียนรู้แบบ SEEDS MODEL เป็นนวัตกรรมที่ครูผู้สอนได้ออกแบบและจัดทำขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานของนักเรียนอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย Seeking (ค้นหาเมล็ดพันธุ์) ค้นหาความชอบและสำรวจปัญหา Engineering (ร่วมกันเพาะกล้า) ออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ Establishing (ปลูกกล้าที่เกิดมา) ลงมือปฏิบัติจริงตามแผนงาน Developing (พัฒนาให้เติบใหญ่) พัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดผลงานให้ดีขึ้น Sharing (มอบให้และแบ่งปัน) นำผลงานออกไปเผยแพร่ จากดำเนินการ พบว่า นักเรียนสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน โดยนำความรู้คู่คุณธรรม นำความพอเพียงมาประยุกต์ใช้ สามารถต่อยอดผลงานสิ่งประดิษฐ์และเผยแพร่ผลงานตนเอง นักเรียนจำนวน 5 คน เป็นตัวแทนของโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขันภายนอกโรงเรียน ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเพิ่มขึ้น และมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนในจัดกิจกรรมของนักเรียน
การพัฒนานักเรียนสู่วิศวกรน้อยนักประดิษฐ์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ SEEDS MODEL มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะในการประดิษฐ์ เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบ สู่การเป็นวิศวกรน้อยนักประดิษฐ์ และยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้สูงขึ้น 2) เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ คุณธรรม และความพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียน 3) เพื่อให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา สนับสนุน และส่งเสริมกิจกรรมการเรียนของนักเรียน
  เครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน คือ กระบวนการเรียนรู้แบบ SEEDS MODEL เป็นนวัตกรรมที่ครูผู้สอนได้ออกแบบและจัดทำขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานของนักเรียนอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย Seeking (ค้นหาเมล็ดพันธุ์) ค้นหาความชอบและสำรวจปัญหา Engineering (ร่วมกันเพาะกล้า) ออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ Establishing (ปลูกกล้าที่เกิดมา) ลงมือปฏิบัติจริงตามแผนงาน Developing (พัฒนาให้เติบใหญ่) พัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดผลงานให้ดีขึ้น Sharing (มอบให้และแบ่งปัน) นำผลงานออกไปเผยแพร่ จากดำเนินการ พบว่า นักเรียนสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน โดยนำความรู้คู่คุณธรรม นำความพอเพียงมาประยุกต์ใช้ สามารถต่อยอดผลงานสิ่งประดิษฐ์และเผยแพร่ผลงานตนเอง นักเรียนจำนวน 5 คน เป็นตัวแทนของโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขันภายนอกโรงเรียน ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเพิ่มขึ้น และมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนในจัดกิจกรรมของนักเรียน
การพัฒนานักเรียนสู่วิศวกรน้อยนักประดิษฐ์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ SEEDS MODEL มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะในการประดิษฐ์ เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบ สู่การเป็นวิศวกรน้อยนักประดิษฐ์ และยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้สูงขึ้น 2) เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ คุณธรรม และความพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียน 3) เพื่อให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา สนับสนุน และส่งเสริมกิจกรรมการเรียนของนักเรียน
  เครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน คือ กระบวนการเรียนรู้แบบ SEEDS MODEL เป็นนวัตกรรมที่ครูผู้สอนได้ออกแบบและจัดทำขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานของนักเรียนอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย Seeking (ค้นหาเมล็ดพันธุ์) ค้นหาความชอบและสำรวจปัญหา Engineering (ร่วมกันเพาะกล้า) ออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ Establishing (ปลูกกล้าที่เกิดมา) ลงมือปฏิบัติจริงตามแผนงาน Developing (พัฒนาให้เติบใหญ่) พัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดผลงานให้ดีขึ้น Sharing (มอบให้และแบ่งปัน) นำผลงานออกไปเผยแพร่ จากดำเนินการ พบว่า นักเรียนสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน โดยนำความรู้คู่คุณธรรม นำความพอเพียงมาประยุกต์ใช้ สามารถต่อยอดผลงานสิ่งประดิษฐ์และเผยแพร่ผลงานตนเอง นักเรียนจำนวน 5 คน เป็นตัวแทนของโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขันภายนอกโรงเรียน ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเพิ่มขึ้น และมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนในจัดกิจกรรมของนักเรียน
 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0