โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

“กุหลาบเจียระไน” ด้านวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

โรงเรียน : สวนกุหลาบวิทยาลัย สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1

ระดับ : ระดับสหวิทยาเขต

กลุ่มสาระฯ : สังคมศึกษา

เผยแพร่เมื่อ : 1 ก.ย. 2562 โดย : นายสุวิทย์  งามผักแว่น จำนวนผู้เข้าชม 400 คน


คำสำคัญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 10
วรรค 4 ได้กล่าวไว้ว่า “การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษต้องจัดรูปแบบที่เหมาะสม
โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น”
ซึ่งครูจะต้องเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
และหน้าที่ครูผู้สอนจึงควรวิเคราะห์ศักยภาพและเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อเป็นแนวทางในการในการส่งเ
สริมและพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มความสามารถ และเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียน
ครูควรมุ่งเน้นเสริมองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
นำมาพัฒนาความก้าวหน้าของผู้เรียนและส่งเข้าแข่งขันทักษะทางวิชาการ ด้านวิชาสังคมศึกษาฯ เช่น
พระพุทธศาสนา หน้าที่พลเมืองฯ กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ เป็นต้น
ซึ่งการส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถทำให้นักเรียนเกิดประสบการณ์ในการแข่งขันทักษะทางด้านวิชาการแ
ละนักเรียนสามารถเติบโตไปเป็นเยาวชนที่มีคุณภาพของประเทศชาติสืบไป
1. ความนำ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ได้ดำเนินการพัฒนาส่งเสริมนักเรียน
ที่มีความสามารถด้านสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ โดยมีคุณครูใน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่ได้รับมอบหมายในการติว ฝึกซ้อมนักเรียน
ได้เชิญวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ ตลอดจนนักเรียนรุ่นพี่มาติวให้นักเรียนรุ่นน้อง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีคุณครูที่มีความรู้ ความสามารถ
มีประสบการณ์ ตรงตามสาขาวิชา และมีนักเรียนที่มีความสนใจทางด้านสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จะมาลงชื่อตามความถนัดของแต่ด้าน ซึ่งทำให้ได้นักเรียนที่มีความตั้งใจ มุ่งหมั่น มีความรับผิดชอบ
วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
1. เพื่อฝึกฝนและพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถทางวิชาการด้านวิชาสังคมศึกษาฯ ทุกประเภท
2.
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้าร่วมแข่งขันเวทีภายนอกและนำชื่อเสียงกลับมาสู่สถานศึกษาเป้าหมาย

2

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ นักเรียนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
ได้ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกกุหลาบเจียระไนและได้เข้ามาฝึกฝน ทักษะวิชาการทางด้านสังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรมอย่างเข้มข้น
และ/หรือ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
- นักเรียนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ได้รับความรู้จากวิทยากรอย่างเข้มข้น
- นักเรียนได้เข้าร่วมแข่งขันในเวทีภายนอกและนำชื่อเสียงมาสู่สถานศึกษา

2. ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow Chart (แผนภูมิ) ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ขั้นเตรียม
- คณะกรรมการกลุ่มสาระฯประชุมวางแผนการทำงาน / ขออนุมัติโครงการ
- ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในการฝึกฝนนักเรียน
ขั้นดำเนินการ
- ติดต่อประสานงานกับวิทยากร
- นัดหมายนักเรียน / ฝึกฝนอย่างเข้มข้น
- ส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันในเวทีต่างๆ
- คัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถทุกประเภท
ขั้นประเมิน
1. ก่อนดำเนินการ
2. ระหว่างดำเนินการ
3. หลังดำเนินการ
(ผลการประเมิน / ผลการแข่งขันที่ได้รับมาปรับปรุงและพัฒนาการจัดโครงการในปีถัดไป)
3. ผลการดำเนินการ
ระบุผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย - ตัวชี้วัดที่กำหนดทั้งเชิงปริมาณ และ/หรือคุณภาพ
นักเรียนตัวแทน กุหลาบเจียระไน ด้านสังคมศึกษา เข้ารับการฝึกฝนและเพิ่มเติมความรู้อย่างเข้มข้น
เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนของ Best Practice แล้ว ส่งผลต่อ นักเรียน/ หน่วยงาน อย่างไร
รางวัลของนักเรียนที่ประสบความสำเร็จทางด้านการแข่งขันและนำชื่อเสียงมาสู่สถานศึกษา
4. บทเรียนที่ได้รับ
1. นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะวิชาการ ด้านวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
2. นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ นำไปสู่ความเป็นเลิศในด้านวิชาการเฉพาะด้าน

3

5. ปัจจัยความสำเร็จ
นักเรียนได้เข้าร่วมแข่งขันภายนอกและนำชื่อเสียงมาสู่สถานศึกษา

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0