โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมศักยภาพภาษาต่างประเทศที่สอง

โรงเรียน : ปทุมเทพวิทยาคาร สพม.หนองคาย

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : ภาษาต่างประเทศ

เผยแพร่เมื่อ : 17 ก.พ. 2563 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 1131 คน


            กระบวนการหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

ชื่อผลงาน  การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมศักยภาพภาษาต่างประเทศที่สอง  
สถานศึกษา  โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร  อำเภอเมืองหนองคาย  จังหวัดหนองคาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 

ความเป็นมา
ภาษาต่างประเทศ มีความสำคัญต่อประชาชน และเยาวชนไทยเป็นอย่างยิ่ง ประชาชนจะนำความรู้ภาษาต่างประเทศ ไปใช้เป็นสื่อในการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการค้า เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปัจจุบันมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น ซึ่งเป็นการวมประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 10 ประเทศ กฎบัตรอาเซียนกำหนดให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เจรจาต่อรอง ทั้งด้านการค้า เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 ที่ต้องการเน้นให้ผู้เรียน 
ที่เรียนภาษาต่างประเทศ สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมั่นใจ  ภาษาต่างประเทศที่สอง ที่เป็นภาษาเพื่อนบ้าน เช่น ภาษาลาว ภาษาเวียดนาม ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งสำหรับคนไทย ในการติดต่อกับประชากรในประชาคมอาเซียน และในส่วนของภาษาต่างประเทศ อื่น ๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาสเปน สถานศึกษาตระหนักในความสำคัญ ด้วยภาษาเป็นทางเลือกที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือกเรียนตามความสนใจ ความถนัด 
และความต้องการ เพื่อตอบสนองเหตุผลดังกล่าวข้างต้น 
นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นพลโลก โดยมีความคาดหวังว่า ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารได้หลายภาษา จึงจะสามารถนำพาประเทศชาติเจริญก้าวหน้า เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคต และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในเวทีโลกได้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เยาวชนในจังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาปทุมเทพวิทยาคาร จะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศที่สองกับเจ้าของภาษา หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากรที่มีความสามารถ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้นักเรียนสามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างถูกต้องและมั่นใจ และจะทำให้เกิด ผลดีต่อตัวนักเรียน  ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ สถานศึกษาจึงได้พัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมศักยภาพภาษาต่างประเทศที่สอง 

แนวคิด
    เมื่อสถานศึกษาเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่สอง จึงมี
การเตรียมการในเรื่องการพัฒนาหลักสูตร เพื่อส่งเสริมศักยภาพภาษาต่างประเทศที่สอง โดยเริ่มจาก  
การประสานงานกับชุมชน ซึ่งชุมชนในจังหวัดหนองคาย ก็เห็นความสำคัญในการศึกษาภาษาต่างประเทศที่สอง โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่มีความประสงค์จะตอบแทนแผ่นดินไทย และเห็นว่าการพัฒนาการศึกษาจะเป็นรากฐานสำคัญ อันจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองต่อไปในอนาคต ประการต่อมาเป็น
การเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อให้สามารถการจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากที่สุด ในส่วนของภาษาลาว เริ่มจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ สถานศึกษาจึงได้ประสานครูผู้สอนซึ่งเป็นเจ้าของภาษาที่เป็นข้าราชการบำนาญมาปฏิบัติการสอน ส่วนภาษาเวียดนาม กระทรวงการศึกษาธิการของประเทศเวียดนามได้ส่งหลักสูตรและครูชาวเวียดนามมาช่วยสอนในสถานศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาในประเทศเวียดนาม และสถานศึกษาปทุมเทพวิทยาคาร 
ได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ประเทศเวียดนามหลายครั้ง โดยสถานศึกษาได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดี จากหน่วยงานการศึกษา และชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดหนองคาย  ในส่วนของภาษาจีน และภาษาเกาหลี ได้รับการช่วยเหลือจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประสานงานกับหน่วยงานการศึกษาของประเทศนั้น ๆ จัดสรรบุคลากรครูมาช่วยสอนในแต่ละปีการศึกษา สำหรับภาษาญี่ปุ่น ได้รับ
ความช่วยเหลือจากมูลนิธิ เจแปน ฟาวเดชั่น และครูในสถานศึกษาได้รับคัดเลือกให้ไปศึกษาภาษาญี่ปุ่น ที่ประเทศเจ้าของภาษา สำหรับบุคลากรภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน และภาษาฝรั่งเศส ได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งครูที่ได้รับทุนภาษาต่างประเทศที่สองมาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

วัตถุประสงค์
    เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่ส่งเสริมศักยภาพภาษาต่างประเทศที่สอง  

ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์
    1. เพื่อให้โรงเรียนมีการพัฒนาหลักสูตรภาษาต่างประเทศที่ 2 เพิ่มขึ้นอย่างหลากหลายทั้งภาษาตะวันตกและตันออก
    2. เพื่อให้โรงเรียนมีทรัพยากรครูชาวต่างชาติ เพื่อจัดการเรียนกรสอนที่หลากหลาย
    3. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร มีทางเลือกเรียนรู้ทางด้านภาษาที่หลากหลาย

ผลที่เกิดตามกลุ่มเป้าหมาย
    1. โรงเรียนปทุมเทพิทยาคาร มีหลักสูตรเพื่อจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศที่สอง อย่างน้อย 8 ภาษา 
    2. โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร มีบุคลากรชาวต่างชาติที่จัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศที่ 2 อย่างน้อย 8 ภาษา
    3. นักเรียนโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร ได้มีเวทีแข่งขันทักษะภาษาต่างประเทศที่ 2 
อย่างหลากหลายทั้งเวทีระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศ

ขั้นตอนวิธีการพัฒนา
กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการพัฒนา มีดังนี้
        ขั้นเตรียมการ     -  คำสั่งแต่งตั้ง
-  บุคลากร
-  หลักสูตร
-  ห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้
-  การวัดประเมินผล
-  กิจกรรมเสริมหลักสูตร
-  ความร่วมมือกับองค์กร


        ขั้นดำเนินงาน
                 - จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                  - สื่อ-อุปกรณ์
                 - การวัดประเมินผล
ขั้นสรุป
                 - นิเทศ ติดตาม
                  - สรุป รายงานผล 

การดำเนินงานตามกิจกรรม
     การจัดบุคลากรเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคลากรของสถานศึกษา และหัวหน้าศูนย์ภาษาต่างประเทศ เป็นผู้จัดหาครูชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษา ส่วนภาษาเวียดนามได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการเวียดนาม และผู้เชี่ยวชาญในชุมชน มาปฏิบัติการสอน ภาษาจีนและภาษาเกาหลี  ได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุน
จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ จัดสรรหาครูให้มาช่วยสอนในแต่ละปีการศึกษา บุคลากรภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน และภาษาฝรั่งเศส ได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ส่งครูที่ได้รับทุนภาษาต่างประเทศที่สอง  มาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา  หากไม่สามารถหาครูเจ้าของภาษาได้ ใช้วิธีจัดหาครูชาวไทยที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในสาขาที่สอนภาษานั้น  และจะมีการสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการศูนย์ภาษาต่างประเทศ และทดลองสอน เวลา 1 เดือน เพื่อรับการนิเทศจากคณะกรรมการและนักเรียนที่เรียนภาษาต่างประเทศที่สอง แล้วจึงจัดทำสัญญาปฏิบัติงาน 1 ปีการศึกษา  
หลักสูตรภาษาต่างประเทศ  คณะครูที่สอนภาษาต่างประเทศที่สองในสถานศึกษา  ได้ศึกษา
และวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551และฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 
จัดทำหลักสูตรของภาษาต่างประเทศที่สอง จัดการเรียนการสอนทั้งหมด 8 ภาษา คือ ภาษาลาว ภาษาเวียดนามภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกเรียนตามความสนใจ โดยความสนใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  จำนวน 3 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์  สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 5 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ และได้บรรจุภาษาต่างประเทศ
ที่สอง ทั้ง  8  ภาษา เข้าในโครงการ Gifted Program จัดไว้สำหรับนักเรียนที่สนใจเรียนภาษาต่างประเทศ
ที่สองอย่างเข้มข้น ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  
การจัดห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้  ศูนย์ภาษาต่างประเทศได้จัดให้นักเรียนเรียนในอาคาร ที่ตั้งกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ  อาคาร 6 และอาคาร 8  มีครูชาวต่างชาติ  จำนวน 15 คน พักอยู่ในอาคารเดียวกัน  นักเรียนมีโอกาสพบปะพูดคุยกับครูชาวต่างชาติและครูเจ้าของภาษา  และได้จัด Foreign Language Zone  เพื่อนักเรียนที่เข้ามาใช้ห้องเรียนในอาคาร 6 และอาคาร 8  ได้ฝึกทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศทุกภาษาที่  สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนและ จัดให้มีห้องประจำแต่ละภาษา มีสภาพที่เอื้อต่อการเรียนการสอน  มีสื่อ    ที่เป็นเอกสารประกอบการสอนและสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย  เช่น Visualizer ,Electronic pens. นอกจากนี้ สถานศึกษายังจัดแหล่งเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน เช่น ศูนย์วิทยบริการ  ห้องสืบค้นข้อมูล (Resource Center) ห้อง Self Directed room ที่เอื้อประโยชน์ให้นักเรียนได้ฝึกกทักษะทางภาษาต่างประเทศห้องทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ
     การจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศที่สอง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  จำนวน 3 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์  สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 5 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ และได้บรรจุภาษาต่างประเทศ
ที่สอง ทั้ง 8 ภาษา เข้าในโครงการ Gifted Program จัดไว้สำหรับนักเรียนที่สนใจเรียนภาษาต่างประเทศที่สองอย่างเข้มข้น ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน  6  ชั่วโมงต่อสัปดาห์ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  ครูผู้สอนใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย เช่น การสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ การสอนแบบโครงงาน การใช้บทบาทสมมุติ การใช้สถานการณ์จำลอง การสอนโดยใช้เพลง การสอนแบบปฏิบัติจริง เป็นต้น
       การวัดผลประเมินผลในห้องเรียน ครูผู้สอนมีการวัดผลประเมินผลอย่างหลากหลาย  เป็นไปตาม
สภาพจริง  เช่น สอบข้อเขียน การสอบปากเปล่าเป็นคู่ การแสดงบทบาทสมมติ การสอบสัมภาษณ์ 
สอบภาคปฏิบัติ เป็นต้น 
กิจกรรมเสริมหลักสูตร ศูนย์ภาษาต่างประเทศ ได้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้กับนักเรียน
ที่เรียนภาษาต่างประเทศที่สองอย่างหลากหลาย และน่าสนใจ กิจกรรมในสถานศึกษา เช่น                       การแสดงผลงานนักเรียนประจำปีการศึกษาของสถานศึกษา  การจัด  Open House กิจกรรมค่ายภาษานานาชาติ  มีกิจกรรมเกม เพลง อาหารประจำชาติ  การแต่งกายชุดประจำชาติ  การแข่งขันทักษะทางภาษา  และกิจกรรมเสริมหลักสูตรนอกสถานศึกษา  เช่น กิจกรรมการแข่งขันทักษะภาษาเวียดนาม กิจกรรมค่ายและแข่งขันทักษะภาษาเกาหลี  กิจกรรมค่ายภาษาฝรั่งเศส  ภาษาเยอรมันการแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น 
การแข่งขันทักษะภาษาสเปน เป็นต้น
     การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อให้การดำเนินงานในศูนย์ภาษาต่างประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สถานศึกษาได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับหน่วยงาน สถาบัน องค์กรภายนอก ได้แก่  ภาษาเวียดนามได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถานศึกษามัธยมตันดิ่ง (Tan Dinh Secondary School) ประเทศเวียดนาม ภาษาจีน ได้รับความช่วยเหลือและความร่วมมือ การแนะแนวการเรียนการสอน การเตรียมตัวสอบวัดความรู้ จากสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ภาษาญี่ปุ่น  ได้รับความช่วยเหลือ และความร่วมมือ ให้การสนับสนุนการพัฒนาครู นักเรียน การแนะแนว การเรียน จากสถาบัน เจแปนฟาวเดชั่น  (JAPAN FOUNDATION) ภาษาเกาหลี ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย เซมยอง (SEMYUNG  UNIVERSITY) ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี  และภาษาเยอรมันได้รับความร่วมมือและ
ความช่วยเหลือ สนับสนุนครูอาสาสมัครชาวเยอรมัน และสื่อ การเรียนการสอนจากสถาบันเกอเธ่ (GOETHE INSTITUT) 
      การนิเทศติดตาม ครูชาวต่างชาติจัดการเรียนการสอนภายในห้องเรียน  ศูนย์ภาษาต่างประเทศ 
จัดให้มีครูชาวไทยเข้าไปดูแลในเรื่องหลักสูตร เรื่องวินัยของนักเรียน เป็นระยะ ๆ แต่ละภาคเรียน นอกจากนี้ สถานศึกษาได้จัดให้คณะกรรมการนิเทศการเรียนการสอน กำกับติดตาม ดูแล การจัดกิจกรรมของครูที่สอนภาษาต่างประเทศที่สอง อย่างต่อเนื่อง และศูนย์ภาษาต่างประเทศได้สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนภาษาต่างประเทศที่สองต่อการสอนของครู ประจำทุกภาคเรียนด้วย
การสรุป รายงานผล ศูนย์ภาษาต่างประเทศได้รายงานผลการดำเนินงาน รายงานปัญหา 
ข้อเสนอแนะต่อสถานศึกษาเป็นประจำทุกปีการศึกษา  และนำปัญหา ข้อเสนอแนะไปปรับใช้ในปีการศึกษาต่อไป
     ศูนย์ภาษาต่างประเทศ  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมศักยภาพภาษาต่างประเทศที่สอง อย่างสม่ำเสมอ และเป็นรูปธรรม ในการประชุมครูกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ การประชุมกรรมการวิชาการ การแสดงผลงานนักเรียนประจำปีการศึกษาของสถานศึกษา  การจัด Open House  กิจกรรมค่ายภาษานานาชาติ  มีกิจกรรมเกม เพลง อาหารประจำชาติ การแต่งกายชุดประจำชาติ  การแข่งขันทักษะทางภาษา และกิจกรรมเสริมหลักสูตรนอกสถานศึกษา เช่น กิจกรรมการแข่งขันทักษะภาษาเวียดนาม กิจกรรมค่ายและแข่งขันทักษะภาษาเกาหลี การแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น การแข่งขันทักษะภาษาสเปน เป็นต้น นอกจากนี้ มีครูจากสถานศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดต่าง ๆ ได้เข้ามาศึกษาดูงาน การพัฒนาเพื่อส่งเสริมศักยภาพภาษาต่างประเทศที่สอง อย่างสม่ำเสมอ เช่น สถานศึกษาแก่นนครวิทยาลัย 2  สถานศึกษามัธยมศึกษาในเขตจังหวัดสระบุรี เป็นต้น 
    ศูนย์ภาษาต่างประเทศ มีการบูรณาการการใช้ภาษาต่างประเทศที่สองอย่างหลากหลาย  มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาต่างประเทศที่สอง ภาษาต่าง ๆ  กับรายวิชา คณิตศาสตร์ เรื่องตัวเลข รายวิชาสังคม เรื่องวัฒนธรรมการรับประทานอาหาร  รายวิชาการงานอาชีพ เรื่องอาหารประจำชาติ มารยาทในการรับประทานอาหารของประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศเกาหลี ไม่นิยมใช้ช้อนกลางเพื่อแสดงความคุ้นเคยสนิทสนม รับประทานอาหารเสียงดัง แสดงว่าอาหารอร่อย และรายวิชาสุขศึกษา นอกจากนี้ ยังมีการนำภาษาต่างประเทศที่สอง ไปใช้ในการนำเสนอผลงานกับโปรแกรมนานาชาติ (International Program)  English Program และ Science Math Enrichment Program ประจำปีการศึกษา 2561 และ 2562 

ประโยชน์ที่ได้รับ
    ประโยชน์ต่อนักเรียน
    หลังจากที่สถานศึกษาได้วางแผน เตรียมการ ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมศักยภาพภาษาต่างประเทศที่สองแล้ว  สถานศึกษาจึงได้หลักสูตรที่มีคุณภาพ และสามารถส่งเสริม สนับสนุน ศักยภาพของนักเรียนที่เลือกเรียนภาษาต่างประเทศที่สองได้อย่างหลากหลาย มีความสุขกับการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 2 สามารถนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา และประกอบอาชีพได้ สอดคล้องเป้าหมายข้อที่ 2 โรงเรียนมาตรฐานสากล นักเรียนสามารถสื่อสารได้ 2 ภาษา แต่นักเรียนโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร สามารถสื่อสารได้มากกว่า 2 ภาษา
    ประโยชน์ต่อสถานศึกษา
      หลังจากสถานศึกษาได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมศักยภาพภาษาต่างประเทศที่สองแล้ว  นักเรียนสามารถฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาต่างประเทศที่สอง ทั้ง 8 ภาษาได้อย่างถูกต้องมั่นใจ สามารถไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ในสาขาที่ตนสนใจ คิดเป็นร้อยละ 100 อีกทั้งสถานศึกษาได้รับการยอมรับ ได้รับความศรัทธา จากชุมชน และหน่วยงานในจังหวัดหนองคาย และหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศ นักเรียนที่เลือกเรียนภาษาต่างประเทศที่สอง เข้าร่วมแข่งขันทักษะทางภาษารับรางวัล หลายรายการ เช่น การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69 ปีการศึกษา 2562 ที่จังหวัดศรีสะะเกษ  นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง จำนวน 11 รางวัลและได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันพูดเพื่ออาชีพภาษาฝรั่งเศส ม.4-6 คือ 
นายธีรภัทร์  รัตนติสร้อย และนางสาวศรัญญา  โบรานินทร์   รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่  1 การแข่งขันพูดเพื่ออาชีพภาษาเยอรมัน ม.4-6 คือ นายบุญญฤทธิ์  หวานรอบรู้ และนายภูธเนศ  แสงฟ้าม่วง และรางวัล
รองชนะเลิศอันดับที่ 2 การแข่งขันละครสั้นภาษาฝรั่งเศส ม.4-6 คือ นายชัยธวัช  สุรพล  นางสาวพลอยประภา  เวชประสิทธิ์ นางสาวศิรภัสร สมศรี นางสาวอัญสุดา หาบุญมี และนางสาวอารีรัตน์ ทัศธรรม ทำให้โรงเรียนปทุมเทพิทยาคารได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดหนองคาย และหน่วยงานในจังหวัดต่าง ๆ  ทั่วประเทศไทย


    ประโยชน์ต่อชุมชน
    นักเรียนในจังหวัดหนองคายได้รับการส่งเสริม  สนับสนุน ให้เรียนภาษาต่างประเทศที่สองอย่างหลากหลาย และมีโอกาสได้เลือกเรียนภาษาที่ตนมีความถนัด และความสนใจ สามารถนำไปต่อยอดเพื่อใช้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และนำไปสู่การเลือกอาชีพต่อไปในอนาคต และชุมชนให้การยอมรับจากการพัฒนาหลักสูตรภาษาที่หลากหลาย ชุมชนมีทางเลือกในหารเรียนรู้ให้กับบุตรหลาน สามารถมีคามเข็มแข็งทางภาษาเพื่อรองรับการเป็นเมืองท่องเที่ยว เมืองน่าอยู่ลำดับที่ 7 ของโลก

การต่อยอดพัฒนาวิธีการปฏิบัติที่ดี
ศูนย์ภาษาต่างประเทศ ควรมีแผนการดำเนินงานที่จะช่วยพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมศักยภาพภาษาต่างประเทศที่สอง โดยการจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากร เรื่องการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย การใช้ E – learning และควรมีเวทีที่เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความสามารถทางภาษาให้มากขึ้น ทั้งในระดับสถานศึกษา และในระดับที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ควรจัดเพื่อการพัฒนาอีกกิจกรรมหนึ่ง คือ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทางภาษาในประเทศเจ้าของภาษา

การเผยแพร่และขยายผล
สถานศึกษามีกิจกรรมที่เผยแพร่ผลงานของกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมศักยภาพภาษาต่างประเทศที่สองหลายประการ อาทิ การนำเสนอข้อมูลให้คณะที่มาศึกษาดูงาน มีสถานศึกษา กลุ่มสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขตต่าง ๆ ในประเทศไทยรับทราบ ตลอดปีการศึกษา และนำเสนอผลงานและประชาสัมพันธ์ด้วยระบบ Social Network ของเว็บไซด์ของโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร 

รางวัลที่ได้รับ จากวิธีปฏิบัติที่ดี
     การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69 ปีการศึกษา 2562 ที่จังหวัดศรีสะะเกษ  นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง จำนวน 11 รางวัลและได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันพูดเพื่ออาชีพภาษาฝรั่งเศส ม.4-6 รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่  1 การแข่งขันพูดเพื่ออาชีพภาษาเยอรม และรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 การแข่งขันละครสั้นภาษาฝรั่งเศส ม.4-6

ปัจจัยความสำเร็จ
    ปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมศักยภาพภาษาต่างประเทศที่สองสำเร็จได้ เนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ อาทิ บุคลากรมีคุณภาพ  หลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ เกิดจากการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560   
และตัวชี้วัด นำมาจัดทำเป็นผลการ เรียนรู้  การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ การใช้สื่อการเรียนรู้ทั้งสื่อที่เป็นเอกสาร บัตรคำ บัตรภาพ และสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลายและวัดผลตามสภาพจริง  อีกทั้งได้รับการช่วยเหลือ สนับสนุนอย่างดียิ่งจากชุมชน นอกจากนี้ คณะผู้บริหารในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ครู และนักเรียนที่เลือกเรียนภาษาต่างประเทศที่สอง นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัด และความสนใจ ที่สำคัญ การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมศักยภาพภาษาต่างประเทศที่สอง เกิดประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายประการ อาทิ การร่วมมือระหว่าง คณะผู้บริหาร ครูผู้สอนกับนักเรียน ครูผู้สอนแต่ละภาษาที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน  นอกจากนี้สถานศึกษายังได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง และชุมชนเป็นอย่างดียิ่ง และที่สำคัญโรงเรียนได้ทรัพยากรบุคคลที่ได้มาจากสถาบัน องค์กร ที่หลากหลาย ได้รับการยอมรับ และน่าเชื่อถือ อาทิ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษามัธยมตันดิ่ง ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สถาบันขงจื่อ  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  สถาบัน เจแปนฟาวเดชั่น  (JAPAN FOUNDATION)  มหาวิทยาลัย เซมยอง (SEMYUNG  UNIVERSITY) ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี  สถาบันเกอเธ่ (GOETHE INSTITUT)  ด้านงบประมาณ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานบางส่วน  จากชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม จากเงินระดมทรัพยากร 

การเผยแพร่ 
สถานศึกษามีกิจกรรมที่เผยแพร่ผลงานของกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมศักยภาพภาษาต่างประเทศที่สองหลายประการ อาทิ การนำเสนอข้อมูลให้คณะที่มาศึกษาดูงาน มีสถานศึกษา 
กลุ่มสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขตต่าง ๆ ในประเทศไทยรับทราบ ตลอดปีการศึกษา  
มีผู้จัดรายการโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 3 (รายการเกษตรโลก เกษตรเรา) 

การได้รับการยอมรับ
    สถานศึกษารับการยอมรับจากผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดหนองคาย และหน่วยงานในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย
 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0