โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

SAINOI 3 ป 2 ส Model

โรงเรียน : ไทรน้อย สพม.นนทบุรี

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 4 ก.พ. 2562 โดย : วรรณศร ขอสกุลไพศาล จำนวนผู้เข้าชม 534 คน


วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practice : BP )
โดย กระบวนการ
SAINOI   3 2Model


 









โรงเรียนไทรน้อย
อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3


บริบทของโรงเรียนไทรน้อย
           โรงเรียนไทรน้อย ตั้งอยู่เลขที่ 127 หมู่ 5 ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นล้อมรอบไปด้วยชุมชนที่ประกอบอาชีพในด้านการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ นักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนไทรน้อยเป็นคนมีภูมิลำเนาอำเภอไทรน้อย แต่ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องสภาพแวดล้อมที่เป็นภาคการเกษตรถูกครอบคลุมด้วยความเจริญเป็นสังคมเมือง หมู่บ้านจัดสรร โรงงานและสถานประกอบการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องผู้คนที่อาศัยอยู่ในอำเภอไทรน้อยเพิ่มขึ้นและมีความหลากหลาย ทำให้นักเรียนของโรงเรียนไทรน้อยในปัจจุบันเป็นนักเรียนที่มีถิ่นฐานอยู่ต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก
          ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ด้านครอบครัว สังคม ของแต่ละคนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต ปัญหาของนักเรียนส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกิดจากครอบครัวที่ขาดความพร้อม  ส่งผลให้นักเรียนเกิดปัญหาต่างๆมากมาย โรงเรียนไทรน้อยให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียนทำให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเร่งพัฒนาระบบงานต่างๆที่สามารถนำมาใช้กับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด จึงได้พัฒนานวัตกรรมโมเดลเพื่อนำมาใช้ตามกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจนมีมาตรฐานคุณภาพและมีหลักฐานที่ตรวจสอบได้ โดยมีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการดังกล่าว และมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในภายนอก ได้แก่ โรงพยาบาล สถานีตำรวจ นักสังคมสงเคราะห์ ผู้ปกครอง ชุมชน  หรือบุคลากรภายนอก  รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมสนับสนุนจากโรงเรียนในการป้องกันและช่วยแก้ไขปัญหา โดยมีวิธีการและเครื่องมือสำหรับครูที่ปรึกษา และบุคลากร ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนานักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ให้เป็นคนดี คนเก่งปลอดภัยจากสารเสพติดและมีความสุขในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพและมีหลักฐานที่ตรวจสอบได้
  2. เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียน ครูที่ปรึกษา บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือชุมชนที่มีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการทำงานร่วมกันโดยผ่านกระบวนการทำงานที่มีระบบ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานการปฏิบัติงานสามารถตรวจสอบได้
  3. เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาเต็มศักยภาพ เป็นคนดี คนเก่งปลอดภัยจากสารเสพติดและมีความสุขในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม

วิธีปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ
          การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดย SAINOI 3 ป  2 ส Model  ดังนี้
          ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไทรน้อยได้ดำเนินการโดยการพัฒนานวัตกรรมตามกระบวนการ  SAINOI 3ป 2ส Model ได้ยึดระบบการทำงานวงจร PDCA ของเดมมิ่ง โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้  
โรงเรียนไทรน้อยเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
3 ป คือ
          ป 1  ปรารถนาดี >> ครูที่ปรึกษาพบนักเรียนในความดูแลในชั่วโมงโฮมรูมทุกวันในคาบแรกเพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนให้เกิดความใกล้ชิดไว้วางใจกัน ให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่อง คัดกรองนักเรียนตั้งแต่เข้าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการเรียน การอ่านที่อ่านไม่คล่องจะแยกกลุ่ม
          ป 2  ปกป้อง >> กิจกรรมสานสัมพันธ์บ้านและโรงเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยครูที่ปรึกษากับผู้ปกครองนักเรียนได้พบกันได้พูดคุยถึงปัญหาต่างๆ เพื่อหาทางปกป้องไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น ประชุมผู้ปกครอง และ ผู้ปกครองเครือข่าย ชี้แจงกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกันเพื่อช่วยเหลือนักเรียน ตรวจสารเสพติด 100%
          ป 3 .  ปรับเปลี่ยน >>  กิจกรรมค่ายอบรมคุณธรรม จริยธรรม ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเจตคติในการดำรงชีวิต กิจกรรมสภานักเรียน อบรมคุณธรรมจริยธรรมประจำสัปดาห์ สมุดบันทึกความดี การออมทรัพย์กับธนาคารโรงเรียน และกิจกรรมอบรมวินัยจราจร       
2 ส คือ
          ส1 สนับสนุน >> หารายได้ระหว่างเรียน   นักเรียนเล่นดนตรีไทยตลาดน้ำไทรน้อย
นาฏศิลป์แสดงที่ตลาดน้ำไทรน้อย รับงานรำแก้บน งานศพ งานมงคลต่างๆ สนับสนุนทุนการศึกษานักเรียนด้านต่าง ๆ ในโครงการ “เพื่อนช่วยเพื่อนคนละ 2 บาท 3 บาท ร่วมด้วยช่วยกัน” 
          ส 2  ส่งเสริม  >> ดำเนินการส่งเสริม ทุกๆ ด้าน วิชาการ ศิลปะ กีฬา จนได้รับรางวัลระดับชาติ

  • ขั้นการวางแผน  (P)         

          1.  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 
          2.  กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จ เครื่องมือ และวิธีการ
          3.  กำหนดแผนงาน/ปฏิทินดำเนินงาน
          ในขั้นตอนนี้คณะกรรมการดำเนินงานได้ดำเนินการตามกระบวนการ SAINOI 3 ป  2ส Model ดังนี้
          S :: Swot  วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง
          ผลการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อหาแนวทางการแก้ไข การพัฒนา และการส่งเสริม โดยมีการจัดกิจกรรมดังนี้

  1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลทุกๆ ด้าน แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน 3 ฉบับ
  2.  ( ตนเอง,ครู, ผู้ปกครอง ) แปรผลโดยใช้โปรแกรม Scan tool 3
  • ขั้นดำเนินงานตามแผน  (D)

          ในขั้นตอนนี้คณะกรรมการดำเนินงานได้ดำเนินการตามกระบวนการ  SAINOI 3ป  2ส Model ดังนี้
           A :: Access การเข้าถึง > โดยการกำหนดกิจกรรมที่เป็นแนวทางแก้ไข การพัฒนา และการส่งเสริมโดย การคัดกรองนักเรียนโดยใช้โปรแกรม( Scan tool 3 )แยกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา
           I :: Incentive สร้างแรงจูงใจ > สร้างสิ่งจูงใจหรือแรงบันดาลใจเพื่อปรับเปลี่ยนความคิด โดยการจัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ กิจกรรมพี่พบน้อง กิจกรรมเสริมแรงบันดาลใจในคาบคุณธรรม นำนักเรียนไปชมสถาบันการศึกษาต่างๆ
          N :: NeedS ความต้องการ > ความต้องการที่แท้จริง โดยวิธีการออกเยี่ยมบ้านนักเรียน 100 เปอร์เซ็นต์ โดยครูที่ปรึกษาชั้นห้องละ 2 คน คนที่ 1 ดูแลเลขที่คี่ คนที่ 2 ดูแลเลขคู่

  • ขั้นประเมินผล  (C)   

O :: Project evaluation การประเมินโครงการ มีการประเมินโครงการในทุกๆโครงการเพื่อเป็นรับทราบข้อมูลจากนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ฯลฯ
          โรงเรียนไทรน้อยมีวิธีการประเมินผลกิจกรรมทุกกิจกรรมของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดังนี้

  1. การจัดเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำเอกสารประกอบการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ประกอบประกอบด้วย
    1. ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล     
    2. ข้อมูลการเยี่ยมบ้านนักเรียน
    3.   แบบประเมินนักเรียน ( SDQ ) 3 ฉบับ
    4.   แบบสรุปข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล
    5.  การคัดกรองนักเรียนและแนวทางการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  2. การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง  ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้การดำเนินการในระบบมีประสิทธิภาพ ได้ดำเนินการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน ดังนี้
    1. ประชุมผู้ปกครองนักเรียน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างครูกับผู้ปกครองและระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน
    2.  การประชุมเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน ได้มาจากการสรรหาตัวแทนของผู้ปกครองนักเรียน ระดับชั้นเรียน ระดับโรงเรียน เครือข่ายผู้ปกครองได้ช่วยดูแลในเรื่องพฤติกรรมนักเรียนแล้ว ยังสนับสนุนในเรื่องต่างๆ  ที่โรงเรียนขอความช่วยเหลือ
    3. การสร้างความมีส่วนร่วมของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่  โดยสภานักเรียนมีคณะกรรมการนักเรียนมีส่วนรวมในการบริหารโรงเรียน มีประธานคณะสี มีนักเรียนกลุ่มจิตอาสา มีนักเรียนแกนนำในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • ขั้นการปรับปรุงพัฒนา  (A)

I :: Improve  การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการ ประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควร ปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และสังเคราะห์รูปแบบ การดำเนินการใหม่ที่เหมาะสม
ผลการดำเนินงาน ความสำเร็จระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนไทรน้อย มาจากปัจจัยที่สำคัญดังนี้

  1. การสนับสนุนของผู้บริหาร ผู้บริหารโรงเรียนไทรน้อย ให้การสนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ทุก ๆ ด้าน ทำให้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์
  2. การทำงานเป็นทีม  คณะครูและบุคลากรในโรงเรียนทำงานประสานกันทำให้ระบบข้อมูลของนักเรียนรวบรวมและคัดกรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ครูทุกคนและผู้เกี่ยวข้อง มีความตระหนักในความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและมีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียน มีความสุขที่จะพัฒนานักเรียนทุกๆด้าน
  4. คณะกรรมการและคณะทำงานทุกคณะ ต้องมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด และมีการประชุมในแต่ละคณะอย่างสม่ำเสมอ
  5. ครูที่ปรึกษา เป็นบุคลากรหลักสำคัญในการดำเนินงาน โดยต้องได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนในโรงเรียน รวมทั้งการสนับสนุนเรื่องต่างๆ จากโรงเรียน
  6. การสร้างความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องระหว่างบ้านกับโรงเรียน  ครูเยี่ยมบ้านนักเรียน 100 เปอร์เซนต์เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครองเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพผลโดยการตั้งกลุ่มไลน์เครือข่ายผู้ปกครองแต่ห้อง กระตุ้นให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไทรน้อย คือ

  1. ผู้บริหารสนับสนุนส่งเสริมและติดตามประเมินผลของคณะทำงานทุกขั้นตอนสนับสนุนค่าพาหนะในการเยี่ยมบ้านนักเรียนหลังละ 50 บาท
  2. ความตระหนักของครู คณะครูโรงเรียนไทรน้อยเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนอย่างเป็นระบบและตามความเป็นจริง สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้นักเรียนค้นพบความสามารถและส่งเสริมศักยภาพของนักเรียน
  3. ความศรัทธาของชุมชนที่มีต่อโรงเรียน เป็นที่ยอมรับของชุมชนและผู้ปกครองส่งลูกหลานเข้ามาศึกษาต่อในโรงเรียนจนทำให้โรงเรียนไทรน้อยเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่

บทสรุปของความสำเร็จ
ผลที่เกิดกับนักเรียน

  1. นักเรียนนักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาเต็มศักยภาพ เป็นคนดี คนเก่งปลอดภัยจากสารเสพติดและมีความสุขในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม
  2. ผลที่เกิดกับครู ครูมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับนักเรียนสามารถวางแผนในการป้องกัน สนับสนุนและส่งเสริมให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เต็มตามศักยภาพของนักเรียน
  3. ผลที่เกิดกับโรงเรียนเป็นที่ยอมรับจากสังคม โดยส่งบุตรหลานเข้าศึกต่อเพิ่มขึ้นทุกปี
  4. ผลที่เกิดกับชุมชน ชุมชนมีความภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

แนวทางพัฒนาในอนาคต
          สร้างความยั่งยืน ผลสำเร็จของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้เรียน “ดี เก่ง มีสุข”
ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นคนดีของสังคม ของจำนวนนักเรียนที่ติด 0 ร ม.ส. ลดลง จำนวนนักเรียนเรียนต่อสูงขึ้น นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความสุข



















 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0