โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยกระบวนการ SAINOI Buddy Share & Learn Model

โรงเรียน : ไทรน้อย สพม.นนทบุรี

ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ

กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ : 30 พ.ย. 542 โดย : วรรณศร ขอสกุลไพศาล จำนวนผู้เข้าชม 542 คน



การนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
โดยกระบวนการ SAINOI Buddy Share & Learn Model

________________________________________________________________________________

1. แนวคิดและความเป็นมา
แนวคิดและความเป็นมา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกัน คุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวง ศึกษาธิการ, 2554) กระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 กำหนดให้สถานศึกษาต้องพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ด้วยการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ดำเนินการ 8 องค์ประกอบ (สำนักทดสอบทางการศึกษา ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2554 : 1)
โรงเรียนไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3  เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในปีการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อจัดอันดับเรียงตามค่าเฉลี่ยของจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีโรงเรียนมัธยมทั้งหมด 18 โรงเรียน โรงเรียนไทรน้อยได้คะแนนเฉลี่ยเป็นอันดับที่ 17 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับคุณภาพ และในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อจัดอันดับเรียงตามค่าเฉลี่ยของจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีโรงเรียนมัธยมทั้งหมด 18 โรงเรียน โรงเรียนไทรน้อยได้คะแนนเฉลี่ยเป็นอันดับที่ 14 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าระดับคุณภาพเช่นเดียวกัน แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพ (ระบบประกาศและรายงานผลสอบโอเน็ต : 2559) ควรที่จะต้องมีการพัฒนาในเรื่องผลสัมฤทธิ์อย่างเร่งด่วนโดยการพัฒนาในครั้งนี้มุ่งความสำคัญในเรื่องของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนที่จะต้องนำวิธีการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเข้าไปใช้และเพื่อให้กระบวนการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายจึงได้มีการพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยกระบวนการ SAINOI Buddy Share & Learn Model ซึ่งเป็น Model ที่นำเสนอขั้นตอนและกระบวนการรวมถึงการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องเพื่อให้การนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยกระบวนการ SAINOI Buddy Share & Learn Model
2. เพื่อนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยกระบวนการ SAINOI Buddy Share & Learn Model กับบุคลากรครูโรงเรียนไทรน้อยร้อยละ 100
3. เพื่อให้โรงเรียนไทรน้อยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น









3. กรอบแนวคิดการพัฒนา
การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยกระบวนการ SAINOI Buddy Share & Learn Model มีกรอบแนวคิดการพัฒนา แสดงดังแผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยกระบวนการ SAINOI Buddy Share & Learn Model
 
           
 
ความสำคัญของปัญหา
 
กระบวนการนิเทศ
 
ผลการนิเทศ

           
Buddy = Buddy Supervision
การนิเทศแบบคู่สัญญา 
Share & Learn
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
           
   
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น
- ครูนำผลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของการนิเทศไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
 
  • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนต่ำ
 
S = SWOT
วิเคราะห์องค์กร
A = Activity
กำหนดกิจกรรมนิเทศ
I= Instruction
รู้จักการชี้แนะ
N = Need Participation
ร่วมมือจากทุกผ่าย
O = Opportunity
แสดงความสามารถอย่างเต็มที่
I =  Innovation
พัฒนานวัตกรรมที่ทันสมัย
 
 
 
   





















4. การดำเนินการ SAINOI Buddy Share & Learn Model
            การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการนิเทศภายในครั้งนี้ ผู้รายงานได้ประยุกต์ขั้นตอนการนิเทศตามกระบวนการ SAINOI Buddy Share & Learn Model และได้นำหลักการบริหารงาน PDCA ของ ดร. เดมมิ่ง มาใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนา ดังนี้
  • ขั้นตอนการวางแผน (Plan)
                 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน งานนิเทศวิชาการและการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหาร  หัวน้างานนิเทศวิชาการและการเรียนการสอน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ และบุคลากรครูทุกคน
S = SWOT วิเคราะห์องค์กร
  • ขั้นตอนการดำเนินงาน (Do)
A = Activity กำหนดกิจกรรมนิเทศ
I= Instruction รู้จักการชี้แนะ
N = Need Participation ร่วมมือจากทุกผ่าย
O = Opportunity แสดงความสามารถอย่างเต็มที่
I =  Innovation พัฒนานวัตกรรมที่ทันสมัย
Buddy = Buddy Supervision การนิเทศแบบคู่สัญญา 
 
  • ขั้นการตรวจสอบผลการดำเนินงาน (Check)
Share & Learn การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
หลังจากสิ้นสุดการนิเทศการเรียนการสอนของครูทุกคน ขั้นตอนต่อไปคือการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละระดับชั้นเพื่อให้คู่นิเทศได้มีโอกาสชี้แนะแนวทาง หรือนำเสนอข้อคิดเห็นร่วมกัน จากการจัดกิจกรรมได้ข้อสรุปจากแบบบันทึกของผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งจากระดับสายชั้นเรียน จากกลุ่มสาระการเรียนรู้และจากคณะศึกษานิเทศก์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 โดยแยกเป็นขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
 
ประเด็น แนวปฏิบัติที่เป็นแบบอย่าง ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนา แนวทางแก้ไข

ขั้นตอน
การเตรียม
ตัวสอน
/ขั้นนำ
 
1. การใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรม                ในการนำเข้าสู่บทเรียน
2. ครูผู้สอนมีการเตรียมสื่อ-วัสดุอุปกรณ์อย่างหลากหลาย
3. ใช้วิธีการลำดับขั้นตอนการนำเสนอสามารถจูงใจผู้เรียนได้
4. มีการทบทวนเนื้อหาเดิม
6. มีเทคนิควิธีการที่นำเข้าสู่บทเรียนหลากหลายมากยิ่งขึ้น
7. ดูแลรักษาความสะอาดในห้องเรียนได้ดี
1. การใช้น้ำเสียงของครูผู้สอน ไม่ดังไป เบาไป
2. ควรใช้วิธีการเช็คชื่อผู้เรียนอย่างหลากหลาย
3. สอบถามถึงผู้เรียนที่ไม่มาเรียนหรือขาดเรียนระหว่างคาบ
1. สร้างนวัตกรรมที่มีความหลากลายมาใช้เพื่อนำเข้าสู่การเรียนการสอน
ขั้นตอน การเตรียมตัวสอน/ขั้นนำ    ภาพรวมทั้งโรงเรียนมีระดับคุณภาพ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 88%



ขั้นตอน
การดำเนิน
การสอน
1. จัดกิจกรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี นักเรียนกล้าแสดงออกในการตอบคำถาม
2. ให้ผู้เรียนสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยมีครูคอยแนะนำ
3. ครูเขียนแผนการสอนได้ชัดเจนเป็นขั้นตอนได้ดีขึ้น
4. แบ่งกลุ่มนักเรียนในการระดมสมอง
5. ครูดูแลและใส่ใจนักเรียนอย่างทั่วถึง มีกิจกรรมให้นักเรียนมีส่วนร่วม
6. จับคู่เพื่อนที่เรียนอ่อนคู่กับคนที่เรียนเก่งเพื่อช่วยแนะนำ
7. ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีในการสอนอย่างหลากหลาย ทำให้ควบคุมชั้นเรียนได้ดี



 
1. ควรสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เหตุการณ์ปัจจุบันระหว่างสอน
2. ควรบริหารเวลาในการสอนให้ตรงตามกำหนด
3. ควรเตรียมใบความรู้ให้กับนักเรียนตามความเหมาะสม
4. ควรสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้เรียนเพื่อเสริมแรง
5. ควรตรวจเช็คอุปกรณ์ก่อนการสอน
6. ใบความรู้ แบบฝึกหัด ควรสัมพันธ์กับในแผนการสอน
7. ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสรุปองค์รวมของเนื้อหา
1. ควรอธิบายขั้นตอนของการการจัดการเรียนการสอนในแผนการสอนเพื่อเป็นการทบทวนของครูผู้สอน
2. เมื่อมีการนำเสนอหน้าชั้นเรียนควรมีการกำหนดเวลานำเสนอที่แน่นอน
 
ขั้นตอน การดำเนินการสอน    ภาพรวมทั้งโรงเรียนมีระดับคุณภาพ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 91%

ขั้นตอน
การวัดผลประเมินผล
1. ครูมีเทคนิคการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลายเหมาะกับความแตกต่างของผู้เรียน
2. ครูกำหนดเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลในแผนการสอนได้ดีมีความเหมาะสม
 
1. ควรมีแบบสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนเพื่อวัดผลด้านพฤติกรรมของผู้เรียน
2. การกำหนดเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลควรมีความเหมาะสมกับเนื้อหา เนื่องจากอาจไม่ทันเวลา
3. เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลควรมีความชัดเจนและหลากหลายรูปแบบ
1. ควรทำเฉลยชัดเจน
2. กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน
ขั้นตอน การวัดผลประเมินผล ภาพรวมทั้งโรงเรียนมีระดับคุณภาพ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 85%
 
  • ขั้นการสะท้อนผล (Act)
4.1  วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง เป็นการวิเคราะห์ถึงจุดอ่อน จุดแข็งในดำเนินงานเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาในวงรอบต่อไป
4.2  สรุปปัญหาอุปสรรค หลักจากการดำเนินงานแล้วเสร็จ ทางโรงเรียนได้จัดให้มีการสรุปสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานเพื่อวางแผนแก้ไขพัฒนาต่อไป
4.3  กำหนดแนวทางการแก้ปัญหา เป็นขั้นตอนในการวิเคราะห์แนวทาง  การพัฒนาต่อเนื่อง และเป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงานในปีการศึกษาต่อไป

4. ปัจจัยความสำเร็จ
            1.  ครูนิเทศ เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอทางด้านวิชาการ และที่สำคัญเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากบุคลากรส่วนใหญ่ของโรงเรียน
            2.  การนิเทศภายในยึดหลักการนิเทศแบบกัลยาณมิตร หรือเพื่อนช่วยเพื่อน จึงทำให้ครูในโรงเรียนเกิดความสบายใจในการเข้าร่วมโครงการ
            3.  ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญในกระบวนการนิเทศภายใน และเข้ามามีบทบาทในการนิเทศอย่างจริงจัง ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และชี้นำแนวทางในการนำไปปรับใช้ ชื่นชมและให้กำลังใจทำให้ครูในโรงเรียนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ
            4. การได้รับความร่วมมือร่วมใจจากบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงทำให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างแท้จริง
            5. ได้รับงบประมาณในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ สื่อการเรียนการสอน ให้มีความพร้อมทุกห้องเรียน

5. บทเรียนที่ได้รับ
การนิเทศภายในด้วยบุคลากรภายในโรงเรียนเอง เป็นกระบวนการพัฒนาและแก้ปัญหาตรงประเด็นมากที่สุด ทั้งนี้ เพราะบุคลกรภายในจะมีความเข้าใจในบริบทของโรงเรียน และข้อจำกัดของเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างดี ดังนั้นกระบวนการพัฒนาจึงสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โรงเรียนมีความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ ซึ่งเป็นการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูป การศึกษา ที่เน้นโรงเรียนเป็นฐานและสอดคล้องกับภารกิจการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง

ภาคผนวก

            ในการนิเทศปีการศึกษา 2560 ห้องเรียนยังใช้กระดานไวท์บอร์ดในการจัดกิจกรรมการการเรียนการสอน ขาดการใช้สื่อการสอนและเทคโนโลยี ซึ่งหลังจากทำการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมาตลอดระยะเวลาในรูปแบบการนิเทศผู้สอนครบ 100% ทำให้ได้รับการพิจารณางบประมาณเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้มีคุณภาพ เช่น ติดตั้งสมาร์ททีวี 55 นิ้ว ทุกห้องเรียน ติดตั้งกระดานอัจฉริยะ (interactive board) ในห้องปฏิบัติการ ห้องเรียนโครงการพิเศษ  ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครบทุกห้องเรียน

 







































 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0