โรงเรียน : ประจันตราษฏร์บำรุง สพม.ปราจีนบุรี นครนายก
ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ
กลุ่มสาระฯ : วิทยาศาสตร์
เผยแพร่เมื่อ : 3 ก.ย. 2566 โดย : พิไลพรรณ เทพศรี จำนวนผู้เข้าชม 255 คน
ผลงานของนางสาวขวัญหทัย อาดนารี
รายละเอียดของผลงานการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) เป็นรูปแบบ One Group Pretest – Posttest Design โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างตัวแทนความคิดและการแก้ปัญหา โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับการสืบเสาะความรู้ เรื่อง ไฟฟ้าเคมี รายวิชาเคมี 4 รหัสวิชา ว30224 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เรื่อง ไฟฟ้าเคมีโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับการสืบเสาะความรู้ และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับการสืบเสาะความรู้อยู่ในระดับมากขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนประจันตราษฎร์บำรุง ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน 29 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับการสืบเสาะความรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ แบบวัดความสามารถในการสร้างตัวแทนความคิด แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับการสืบเสาะความรู้ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Dependent t-test ผลวิจัยปรากฎดังนี้ 1) นักเรียนร้อยละ 100 มีความสามารถในการสร้างตัวแทนความคิดหลังเรียนเรื่องไฟฟ้าเคมีอยู่ในระดับ 3-5 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนที่นักเรียนมีร้อยละ 93.10 มีความสามารถในการสร้างตัวแทนความคิดอยู่ในระดับ 1 และระดับ 2 สำหรับความสามารถในการแก้ปัญหาสามารถวิเคราะห์ได้จากการประเมินตามหัวข้อในการประเมินความสามารถในการสร้างตัวแทนความคิด พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาร่วมกับการสืบเสาะความรู้สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 86.21 สามารถอธิบายได้ว่านักเรียนมีการอธิบายมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าเคมีโดยที่นักเรียนสามารถเขียนและวาดรูปร่างโมเลกุลจากปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องเมื่อครูผู้สอนออกแบบกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลายหรือการให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และ 3) ความพึงพอใจทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมากขึ้นไปมีคิดเป็นร้อยละ 93.13