โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การพัฒนาทักษะและความสามารถของผู้เรียนทางด้านดนตรีไทย ปีการศึกษา ๒๕๕๙

โรงเรียน : พระบาทนาสิงห์พิทยาคม สพม.หนองคาย

ระดับ : ระดับสหวิทยาเขต

กลุ่มสาระฯ : ศิลปะ

เผยแพร่เมื่อ : 16 พ.ค. 2560 โดย : นายพลวัฒน์ สาจันทร์ จำนวนผู้เข้าชม 3835 คน


๑. ชื่อนวัตกรรม

การพัฒนาทักษะและความสามารถของผู้เรียนทางด้านดนตรีไทย ปีการศึกษา ๒๕๕๙

๒. เจ้าของผลงาน

โรงเรียนพระบาทนาสิงห์พิทยาคม อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย

๓. ความเป็นมาของวิธีปฏิบัติที่ดี

โรงเรียนพระบาทนาสิงห์พิทยาคม เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาประจำตำบล เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ มีจำนวนนักเรียน (ข้อมูล ณ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙) แบ่งเป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ๒๒๕ คน มัธยมศึกษาตอนปลาย ๗๔ คน รวมทั้งหมด ๒๙๙ คน จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม ๒๕ คน   โดยโรงเรียนได้จัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีการดำเนินงานที่หลากหลาย อนึ่ง ทางโรงเรียนมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์และการแสดงออกทางทางด้านศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถของผู้เรียนทางด้านดนตรีไทย และให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนด

ด้วยเหตุนี้ ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนพระบาทนาสิงห์พิทยาคม จึงได้จัดทำแผนเร่งรัดพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่การพัฒนาทักษะและความสามารถของผู้เรียนทางด้านดนตรีไทย เพื่อให้ผู้เรียนมีสุนทรียภาพด้านอารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข มีโอกาสประสบความสำเร็จบนเวทีแข่งขันต่อไป โดยใช้กระบวนการและขั้นตอน ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ ประกอบด้วย ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติ ขั้นสังเกตการณ์และขั้นสะท้อนผล

๔. วัตถุประสงค์

    ๔.๑ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีความรู้และประสบการณ์จริงมากยิ่งขึ้น    

    ๔.๒ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์และมีโอกาสประสบความสำเร็จในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเกิดความชื่นชมยินดีต่อความสำเร็จนั้นๆ

    ๔.๓ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในการร่วมกิจกรรมต่างๆ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง

 

 

 

 

๕. กรอบแนวคิดที่นำมาใช้ในการพัฒนาวิธีปฏิบัติที่ดี

ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่การพัฒนาทักษะและความสามารถของผู้เรียนทางด้านดนตรีไทย โรงเรียนได้ใช้กระบวนการและขั้นตอน ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ ประกอบด้วย ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติ ขั้นสังเกตการณ์ และขั้นสะท้อนผล

paor

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กระบวนการและขั้นตอนตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (PAOR)

 

          ขั้นที่ ๑ ขั้นวางแผน (Plan)  ระหว่างวันที่ ๑๐ –๑๖ พฤษภาคม ๕๙

                  ๑) ประชุมและวางแผนการดำเนินงาน

                  ๒) จัดทำแผนพัฒนาทักษะและความสามารถของผู้เรียนทางด้านดนตรีไทย

          ขั้นที่ ๒ ขั้นปฏิบัติ (Action)  ระหว่างวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๕๙ – ๓๐ มิถุนายน ๕๙

                  ๑) สำรวจผู้เรียนที่สนใจพัฒนาทักษะทางด้านดนตรีไทย

                  ๒) ทดสอบความสามารถของผู้เรียนทางด้านดนตรีไทย

                  ๓) ทำการฝึกซ้อมตามตารางที่กำหนดไว้เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านดนตรีไทย

                  ๔) เชิญวิทยากรภายนอกเข้ามาส่วนช่วยในการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านดนตรีไทย

          ขั้นที่ ๓ ขั้นสังเกตการณ์ (Observation) ระหว่างวันที่ ๑ กรกฎาคม – ๒๐ กรกฏาคม ๕๙

๑) ส่งเสริมผู้เรียนได้แสดงออกในความสามารถและความมีสุนทรียภาพทางด้านดนตรีไทยในช่วงพักเที่ยง

๒) จัดการนิเทศการแสดงของผู้เรียนภายในโรงเรียน

๓) นำผลที่ได้จากการนิเทศไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงการจัดกิจกรรม

          ขั้นที่ ๔ ขั้นสะท้อนผล (Reflection) ระหว่างวันที่ ๑ สิงหาคม ๕๙ – ๓๑ มีนาคม ๖๐

๑)     รายงานผลการพัฒนาตามแผนที่ได้ออกแบบไว้

                  ๒) จัดกิจกรรมส่งเสริมผู้เรียนได้แสดงออกในความสามารถและความมีสุนทรียภาพทางด้านดนตรีไทยในวันสำคัญต่างๆ

                  ๓) ยกย่องชมเชยครู/นักเรียน

                  ๔) เผยแพร่ผลงานครู/นักเรียน

๗. ผลของวิธีปฏิบัติที่ดี ความสำเร็จของผลงานที่เกิดตามวัตถุประสงค์

จากการที่โรงเรียนพระบาทนาสิงห์พิทยาคม ได้จัดทำแผนพัฒนาทักษะและความสามารถของผู้เรียนทางด้านดนตรีไทย ปีการศึกษา ๒๕๕๙ เพื่อให้ผู้เรียนมีสุนทรียภาพด้านอารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข ประสบความสำเร็จบนเวทีแข่งขันต่อไป และพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดกับนักเรียน ด้วยความตั้งใจจริงผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน และนักเรียนร่วมมือร่วมใจกัน นำไปสู่ความสำเร็จ ส่งผลให้ได้รับรางวัลและสร้างชื่อเสียงให้กับทางโรงเรียนมากมาย

๘. การต่อยอดพัฒนาวิธีปฏิบัติที่ดี

ใช้กระบวนการและขั้นตอนตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (PAOR) ในการจัดการเรียนการสอนของครูและพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน

๙. การเผยแพร่

ครูและนักเรียนเผยแพร่ผลงานระดับโรงเรียน ระดับสหวิทยาเขต และระดับประเทศ

 

๑๐. คุณค่าของวิธีการที่ปฏิบัติที่ดี

ผลที่ปรากฏแก่นักเรียน

๑. ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีความรู้จากประสบการณ์จริงมากยิ่งขึ้น        

๒. ผู้เรียนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในการร่วมกิจกรรมต่างๆ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง

๓. ผู้เรียนมีสุนทรียภาพด้านดนตรี ส่งผลให้ผู้เรียนมีอารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข ห่างไกลจากยาเสพติด

๔. ผู้เรียนได้รู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์และมีโอกาสประสบความสำเร็จในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และเกิดความชื่นชมยินดีต่อความสำเร็จนั้นๆ

ผลที่ปรากฏแก่ครู

๑. ครูได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

๒. ครูได้รับการพัฒนาความรู้ สร้างความตระหนัก ในการนำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ มาใช้ในการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น

ผลต่อการบริหารวิชาการ

๑. กิจกรรมและโครงการต่างๆ ภายในโรงเรียนถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน

๒. มีการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมแก่ผู้เรียนมากขึ้น และสอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน

ความสำเร็จที่ภาคภูมิใจ

ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน และนักเรียนร่วมมือร่วมใจกันจนประสบความสำเร็จ

๑๑. ปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ทำให้สำเร็จ

ความพยายาม ความอดทน ความตั้งใจ ของคุณครู ศึกษานิเทศก์ ผู้รับผิดชอบ โรงเรียนและผู้บริหาร หากขาดคุณสมบัติจะไม่ประสบผลสำเร็จได้ ใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (PAOR) ในการปฏิบัติงาน

๑๒. ผลการยอมรับ

จากการที่โรงเรียนพระบาทนาสิงห์พิทยาคม ได้จัดทำแผนพัฒนาทักษะและความสามารถของผู้เรียนทางด้านดนตรีไทย ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ด้วยความตั้งใจจริงผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน และนักเรียนร่วมมือร่วมใจกัน นำไปสู่ความสำเร็จ ส่งผลให้ได้รับรางวัลและสร้างชื่อเสียงให้กับทางโรงเรียนมากมาย

ผลงานดีเด่นระดับชาติ

          1. รางวัลเหรียญทอง (ระดับชาติ) การแข่งขันขับร้องเพลงไทยประเภทหญิง ม.4- ม.6 การแข่งขันศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 66      

ผลงานดีเด่นระดับภาค

          1. รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 การแข่งขันขับร้อง เพลงไทย ม.4- ม.6 การแข่งขันศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 66                    

          2. รางวัลเหรียญทองการแข่งขันเดี่ยวฆ้องวงเล็ก ม.1- ม.3 การแข่งขันศิลปหัตถกรรม ครั้ง ที่ 66                              

          3. รางวัลเหรียญทองการแข่งขันปี่พาทย์ไม้นวมผสมเครื่องสายเดี่ยว ม.1-ม.6 การแข่งขันศิลปหัตถกรรม ครั้ง ที่ 66            

          4. รางวัลเหรียญเงินการแข่งขันวงอังกะลุง ม.1- ม.6 การแข่งขันศิลปหัตถกรรม ครั้ง ที่ 66                                            

          5. รางวัลเหรียญเงินการแข่งขันระนาดทุ้ม ม.4- ม.6 การแข่งขันศิลปหัตถกรรม ครั้ง ที่ 66


ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0