โรงเรียน : ประจันตราษฏร์บำรุง สพม.ปราจีนบุรี นครนายก
ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ
กลุ่มสาระฯ : คณิตศาสตร์
เผยแพร่เมื่อ : 4 ม.ค. 2567 โดย : พิไลพรรณ เทพศรี จำนวนผู้เข้าชม 253 คน
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณเลขยกกำลัง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เน้นกระบวนการสอนให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยครูเป็นผู้กระตุ้นความคิดให้กับนักเรียน นักเรียนเป็นผู้ตั้งคําถาม และตอบคําถามด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่สูงขึ้น โดยกระบวนการ GPAS 5 Steps ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การรวบรวมและการเลือกข้อมูล (Gathering) ขั้นที่ 2 การจัดระบบข้อมูล (Processing) ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและสรุปความรู้ (Applying and Constructing the Knowledge) ขั้นที่ 4 การสื่อสารและนำเสนอ (Applying and Communication Skill) และขั้นที่ 5 การประเมินเพิ่มคุณค่า (Self-regulating) ซึ่งจะทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนยิ่งขึ้น นักเรียนมีความสนุกสนาน เรียนรู้อย่างมีความสุข มีเจตคติที่ดีต่อวิชา คณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น และพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนได้เต็มศักยภาพ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณเลขยกกำลัง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประจันตราษฎร์บำรุง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การคูณเลขยกกำลัง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประจันตราษฎร์บำรุง และเพื่อพัฒนากระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากผลการศึกษาพบว่า 1) การวัดและประเมินผลในด้านความรู้พิจารณาจากการทำใบงาน เรื่อง การคูณเลขยกกำลัง เป็นรายบุคคล จากการทำใบงานพบว่า นักเรียนสามารถอธิบายการคูณเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มได้ โดยมีนักเรียนที่ได้คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไปจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 2) การวัดและประเมินผลในด้านทักษะและกระบวนการ พิจารณาจากการทำใบงาน เรื่อง การคูณเลขยกกำลัง เป็นรายบุคคล จากการทำใบงานพบว่า นักเรียนสามารถแสดงการคูณและหาผลลัพธ์ของการคูณของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มได้ โดยมีนักเรียนที่ได้คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไปจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และ 3) การวัดและประเมินผลในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พิจารณาจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนระหว่างทำกิจกรรมในห้องเรียน พบว่า นักเรียนนักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้ มีวินัย และมุ่งมั่นในการทำงาน โดยมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ดี ขึ้นไปจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100