โรงเรียน : ประจันตราษฏร์บำรุง สพม.ปราจีนบุรี นครนายก
ระดับ : ระดับเขตพื้นที่ฯ
กลุ่มสาระฯ : อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ : 4 ม.ค. 2567 โดย : พิไลพรรณ เทพศรี จำนวนผู้เข้าชม 258 คน
การพัฒนางานสภานักเรียนโรงเรียนประจันตราษฎร์บำรุง ตามกระบวนการ SAPAR มีขั้นตอนในการดำเนินงานคือ
๑) S : Survey การวิเคราะห์บริบทและสภาพปัญหาการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน (ค้นหาและ
วิเคราะห์สภาพปัญหา : Search & Analyze Problem)
๒) A : Assign การกำหนดเป้าหมายสู่ความเป็นเลิศ (การวางแผนออกแบบเพื่อกำหนดรูปแบบและสร้าง
นวัตกรรม : Design/ Create Innovation , กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ของสภานักเรียนที่สอดคล้อง
กับโรงเรียน (Vision/Mission/Goal) และ กำหนดธรรมนูญสภานักเรียน คู่มือการปฏิบัติงาน โครงสร้าง และโครงการของสภานักเรียน)
๓) P : Performance การปฏิบัติงานตามนวัตกรรมภายใต้ชื่อ PIKUL MODEL (องค์ประกอบที่ ๑ P - Procedure (กระบวนการทำงาน), องค์ประกอบที่ ๒ I - Improvement (การปรับปรุง) , องค์ประกอบที่ ๓ K - know-how (การมีความรู้ ความเข้าใจ ความชำนาญในงานที่ทำ) , องค์ประกอบที่ ๔ U - unity (ความสามัคคี) และ องค์ประกอบที่ ๕ L - learning center (แหล่งรวมการเรียนรู้))
๔) A : Accumulate สรุปและประเมิน
๕) R : Relation สร้างเครือข่าย
ผลการพัฒนางานพบว่า
๑. สภานักเรียนมีระบบการทำงานที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การประเมินโรงเรียนต้นแบบ สภานักเรียน มีการออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ตามกระบวนการ SAPAR โดยใช้ PIKUL MODEL พร้อมทั้งนำไปใช้ดำเนินกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน มีการสร้างเครือข่ายในการทำงาน สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของเครือข่าย และการไปศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์งานต่าง ๆ ของสภานักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นแบบอย่างได้
๒. จากแนวทางในการพัฒนามี ๑) นักเรียนสนใจเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสภานักเรียนมากขึ้น ๒) ผลการประเมินกิจกรรมต่าง ๆ ที่สภานักเรียนได้ดำเนินการ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเยี่ยม มีค่า = ๔.๗๓ ๓) สภานักเรียนสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีโรงเรียนมาศึกษาดูงานและสภานักเรียนไปศึกษาดูงาน อย่างน้อยปีละ ๑ โรงเรียน ๔) สื่อสังคมออนไลน์ที่ประชาสัมพันธ์ผลงานสภานักเรียน ได้แก่ Page Facebook instargram ticktok และwebsite มีผู้เข้าชมเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ ๑๐ ต่อปี