โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

การพัฒนาความรู้และทักษะการแปลความเส้นชั้นความสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดย ใช้กลวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

โรงเรียน : เมืองลีประชาสามัคคี สพม.น่าน

ระดับ : ระดับจังหวัด

กลุ่มสาระฯ : สังคมศึกษา

เผยแพร่เมื่อ : 10 ก.ย. 2559 โดย : นายอรรถพล ศิริมูล จำนวนผู้เข้าชม 1087 คน


การพัฒนาความรู้และทักษะการแปลความเส้นชั้นความสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดย
ใช้กลวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ มีวัตถุประสงค์คือ  1) เพื่อพัฒนาทักษะการแปลความเส้นชั้นความสูง สาระภูมิศาสตร์ โดยใช้กลวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   และ2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกลวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้  ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เนื่องจากโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศมีการแบ่งนักเรียนแบบคละความสามารถในแต่ละห้องเรียน  เครื่องที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ สาระภูมิศาสตร์ เรื่อง แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ โดยใช้กลวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และแบบวัดความรู้เรื่องแผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัย เลือกตอบ 4 ตัวเลือก  ผลการวิจัยพบว่า
 
            ผลสัมฤทธิ์ของงานที่เกิดกับผู้เรียน
          นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 มีทักษะการแปลความเส้นชั้นความสูงอยู่ในระดับ ดีมาก จำนวน 24 คน ระดับดีจำนวน 4  คน และระดับพอใช้ จำนวน 2 คน และความรู้เรื่องแผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน 15.78 ,17.88 ตามลำดับ เมื่อทำการทดสอบโดยใช้ค่า t ปรากฏว่าได้ค่า t เท่ากับ 4.29  มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   จึงสรุปได้ว่าหลังเรียนนักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
            ประโยชน์อื่นๆ
          สามารถเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กลวิธีการสืบเสาะหาความรู้กับสาระอื่นๆ ในวิชาสังคมศึกษา และในวิชาอื่น อีกทั้งยังนำมาออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน
 
 

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0